โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

51: ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นและพืชพื้นล่างของแปลงปลูกพรรณไม้โครงสร้างและป่าธรรมชาติดงเซ้ง อําเภอแม่ริม จังหวดเชียงใหม่

Publication date2009
Author(s)Parinyarat, J.
PublisherThe Graduate School, Chaing Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง และ ANR ของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการให้โครงสร้างและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่กลับมาใกล้เคียงกลับสภาพป่าดั้งเดิม...

52: ชุมชนนกและการจัดหากล้าไม้ในการฟื้นฟูป่าแห้งตามฤดูกาลด้วยวิธีการขยายพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2009
Author(s)Wydhayagarn, C., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong
PublisherNew Forests 38:81-97
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้ทำการตรวจสอบผลของพรรณไม้โครงสร้างที่ปลูกในปี พ.ศ. 2541...

53: ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ต่ำของจังหวัดกระบี่

Publication date2008
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การวิจัยและอนุรักษ์นกแต้วแร้วทองดำในประเทศไทยและประเทศพม่า” ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรอนุรักษ์นกแห่งสหราชอาณาจักร (RSPB) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Darwin...

54: งานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน คู่มือดำเนินการ

Publication date2008
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & S. Chairuangsri
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

          คู่มือทางเทคนิคนี้มุ่งเป้าไปที่นักวิจัยและหัวหน้างาน คู่มือทางเทคนิคนี้อธิบายถึงวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าอธิบายวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าไม้(FORRU)...

55: การตั้งตัวตามธรรมชาติของต้นกล้าไม้ยืนต้นในพื้นที่ทดสอบการฟื้นฟูป่าที่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Publication date2008
Author(s)Sinhaseni, K
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: หน่วยวิจัยและฟื้นนฟูป่า (FORRU) ประสบความสําเร็จในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูป่าโดยกระตุ้นการกลับคืนมาของป่าตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ป่าที่ถูกทําลายในภาคเหนือของประเทศไทย...

56: สถานะอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า ของพรรณไม้พื้นเมืองที่ใช้ในการฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่แห้งแล้งตามฤดูกาลในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2008
Author(s)Nandakwang, P., S. Elliott, S. Youpensuk, B. Dell, N. Teaumroon & S. Lumyong
PublisherRsch. J. Microbiol., 3 (2): 51-61.
Format
Journal Paper

ได้มีการสำรวจสถานะ อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า(AM) ของพืชพื้นเมืองในป่าเขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทย มีการตรวจสอบพรรณไม้โครงสร้าง 24 ชนิดที่ใช้ในการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่วิจัยของ...

57: พืชพรรณที่พบได้ในพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date29 Apr 2007
Author(s)Maxwell, J. F.
PublisherMaejo International Journal of Science and Technology
Format
Journal Paper

สภาพอากาศของดอยตุง จังหวัดเชียงราย เป็นแบบมรสุม ประกอบด้วยสามฤดู ได้แก่ เย็น-แห้ง ร้อน-แห้ง และฤดูฝน โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 350-1525...

58: การใช้ความหลากชนิดและองค์ประกอบของชุมชีพของนกเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการฟื้นฟูป่า

Publication dateJan 2007
Author(s)Toktang, T., S. Elliott & G. Gale
PublisherKing Mongkut University of Technology Thonburi
Format
Abstract

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการฟื้นฟูป่าต่อความหลากชนิดและองค์ประกอบทางด้านชุมชีพของนกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย...

59: ผลของไม้ปลูกและชุมชีพนกต่อการตั้งตัวของกล้าไม้ธรรมชาติในพื้นที่ฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Publication date2007
Author(s)Wydhayagarn, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อตรวจสอบผลของไม้ปลูกและชุมชีพนกต่อการตั้งตัวของกล้าไม้ธรรมชาติในพื้นที่ฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ภาควิชาชีววิทยา...

60: ผลของการฟื้นฟูป่าต่อความหลากหลายของชนิดและองค์ประกอบของสังคมนกในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 

Publication date2007
Author(s)Toktang, T
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ : ในขณะที่การทำลายป่ายังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้จึงถูกยกให้เป็นประเด็นสำคัญในระดับต้น ๆ ของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติ...