คำแนะนำ

ความเสื่อมโทรมของป่า

ความเสื่อมโทรมของพื้นที่มี 5 ระดับกว้างๆ ซึ่งแต่ละระดับต้องใช้กลยุทธ์การฟื้นฟูที่แตกต่างกัน สามารถจัดจำแนกระดับความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้โดยพิจารณา 'เกณฑ์' ที่สำคัญ 6 ประการของความเสื่อมโทรม โดยสามปัจจัยเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในระดับพื้นที่และสามปัจจัยต้องพิจารณาจากภูมิทัศน์โดยรอบ

ปัจจัยจำกัดที่ต้องพิจารณาในระดับพื้นที่:

  • ความหนาแน่นของต้นไม้ลดลงจนทำให้วัชพืชกลายเป็นพืชเด่น จนทำให้กล้าไม้ธรรมชาติไม่สามารถขึ้นได้
  • ปริมาณของแหล่งของพรรณไม้ธรรมชาติในการฟื้นตัวของป่า เช่น ปริมาณเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ ตอไม้ที่ยังมีชีวิตหรือแม่ไม้ที่ให้เมล็ดได้ลดลงเกินกว่าจะสามารถรักษาประชากรของชนิดพันธุ์ที่มีอยู่เดิมได้
  • หน้าดินถูกกัดเซาะจนถึงระดับที่กลายเป็นตัวจำกัดการงอกของเมล็ด

ปัจจัยจำกัดที่ต้องพิจารณาในระดับภูมิทัศน์:

  • ป่าสมบูรณ์ที่เหลืออยู่ในภูมิทัศน์โดยรวมต่ำกว่าจุดที่สามารถรักษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ที่เป็นตัวแทนของป่าปฐมภูมิในระยะที่เมล็ดสามารถกระจายเข้าสู่พื้นที่ฟื้นฟูได้
  • ประชากรของสัตว์ที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ลดลงจนไม่สามารถที่จะนำเมล็ดไม้เข้ามาในพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟูได้เพียงพอ
  • ความเสี่ยงในการเกิดไฟสูง จนทำใหกล้าไม้ธรรมชาติไม่สามารถรอดชีวิตได้  

                                                                             ปัจจัยภายในแปลง                              ปัจจัยจากภูมิประเทศ   

การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 1

stage1

พืช : ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมพืชชั้นล่าง
แหล่งของการฟื้นตัว : เมล็ดในดินจำนวนมากและหนาแน่น เมล็ดตกในพื้นที่มาก และยังมีตอไม้ที่มีชีวิต
ดิน : ถูกรบกวนเล็กน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่คงความอุดมสมบูรณ์
ป่า :ยังมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งของเมล็ดพันธุ์  
ตัวกระจายเมล็ด : พบได้ทั่วไปทั้งสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก
ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : ต่ำถึงปานกลาง
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
  • ป้องกันการถูกรบกวนในอนาคตนำพืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่กลับเข้ามาใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่เป็นตัวการสำคัญในการผสมเกสรและกระจายเมล็ดพันธุ์
  • การนำชนิดพันธุ์ท้องถิ่นที่สูญพันธุ์กลับมาสู่พื้นที่อีกครั้ง
                                                                             ปัจจัยภายในแปลง                              ปัจจัยจากภูมิประเทศ   
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 2

stage2

พืชต้นไม้ขึ้นปนกับพืชขนาดเล็ก
แหล่งของการฟื้นตัว: เมล็ดและกล้าไม้ลดลง แต่พบตอไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่มาก
ดินส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์ ถูกกัดเซาะน้อย
ป่า : มีพอที่จะเป็นแหล่งให้เมล็ดพันธุ์
ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ใหญ่ค่อนข้างหายากแต่สัตว์เล็กพบอยู่ทั่วไป
ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : ปานกลางถึงสูง
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
  • ANR- ปกป้องป่าที่ยังคงเหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์ที่ช่วยกระจายเมล็ด
  • ปลูกต้นไม้บางชนิดของป่าปฐมภูมิเพื่อทดแทนหากต้นไม้ชนิดนั้นหายไป
                                                                             ปัจจัยภายในแปลง                              ปัจจัยจากภูมิประเทศ   
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 3

stage3

พืชพืชล้มลุกเป็นพืชเด่น
แหล่งของการฟื้นตัว: ส่วนใหญ่มาจากเมล็ดที่ถูกนำเข้ามาในพื้นที่อาจมีลูกไม้และตอไม้ที่มีชีวิตอยู่บ้าง
ดิน: ส่วนใหญ่คงความสมบูรณ์ถูกกัดเซาะน้อย
ป่ามีเหลืออยู่เป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์
ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ขนาดเล็กที่นำพาเมล็ดขนาดเล็ก
ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูง
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
  • ปกป้องป่าที่เหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์กระจายเมล็ดพันธุ์ + ANR + วิธีการปลูกพรรณไม้โครงสร้าง 20-30 ชนิด
                                                                           ปัจจัยภายในแปลง                              ปัจจัยจากภูมิประเทศ   
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 4

stage4

พืชวัชพืชเป็นพืชเด่น
แหล่งของการฟื้นตัว:: น้อย
ดิน:  ความเสี่ยงต่อการกัดเซาะเพิ่มมากขึ้น
ป่าขาดแหล่งให้เมล็ดพันธุ์ในระยะที่เมล็ดจะถูกนำเข้ามาได้
ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ใหญ่เกือบหมดไปจากพื้นที่
ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูง
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
  • ปกป้องป่าที่เหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์กระจายเมล็ดพันธุ์ + ANR + วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง + การปลูกเสริมด้วยพรรณไม้เสถียร
  • การปลูกต้นไม้โดยให้มีความหลากหลายสูงสุด เช่น วิธีการของ Miyawaki
                                                                             ปัจจัยภายในแปลง                              ปัจจัยจากภูมิประเทศ   
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 5

stage5

พืชไม่มีต้นไม้ปกคลุม สภาพดินที่แย่จำกัดการขึ้นของวัชพืชต่างๆ
แหล่งของการฟื้นตัว:: น้อยมาก
ดิน:  หน้าดินถูกกัดเซาะจนเสียสภาพ
ป่าขาดแหล่งเมล็ดพันธุ์บริเวณใกล้เคียง
ตัวกระจายเมล็ด: กือบหมดไปจากพื้นที่
ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูงมาก
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
  • ปรับปรุงสภาพดินโดยการปลูกพืชคลุมดิน และการเติมปุ๋ยหมัก ใสปุ๋ยหรือจุลินทรีย์สำหรับดิน
  • ตามด้วยการปลูกต้นไม้พี่เลี้ยง เช่น พืชเบิกนำตระกูลถั่ว
  • จากนั้นจึงทำการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นชนิดอื่นเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
Duration:  - 
โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย 3 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่ 1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว 2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน 3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู

1: ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

Publication dateOct 2023
Author(s)พนิตนาถ แชนนอน
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป...

2: การใช้ภาพถ่าย RGB จากอากาศยานไร้คนขับเพื่อหาตัวแปรบ่งชี้เชิงปริมาณของความเสื่อมโทรมและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน  

Publication date16 Mar 2023
Author(s)Lee, K.; Elliott, S.; Tiansawat, P.
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การจำแนกระดับของความเสื่อมโทรมของป่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน...

3:  Multi-Scenario Simulations of Future Forest Cover Changes Influenced by Socio-Economic Development: A Case Study in the Chiang Mai-Lamphun Basin

Publication date16 Aug 2022
Author(s)Rachata Arunsurat, Prasit Wangpakapattanawong, Alice Sharp, Watit Khokthong
PublisherEnvironmentAsia
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค Markov-cellular automata และ Multi-layer...

4: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการวางแผนและติดตามการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า: ในส่วนดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า

Publication dateNov 2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherCGIAR Research Program on Forests, Trees and Agroforestry and Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: โครงการริเริ่มระดับโลก เช่น Bonn Challenge และ New York Declaration on Forests ก่อให้เกิดโครงการฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ...

5: ชุมชีพและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของแบคทีเรียในดินและสำหรับการฟื้นฟูป่าในเหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date08 Apr 2021
Author(s)Sansupa, C., W. Purahong, T. Wubet, P. Tiansawat, W. Pathom-Aree, N. Teaumroong, P. Chantawannakul, F. Buscot, S. Elliott & T. Disayathanoowat
PublisherPLoS ONE
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การเปิดหน้าดินเพื่อการทำเหมืองเป็นการกำจัดหน้าดินชั้นบนพร้อมทั้งชุมชีพของแบคทีเรียที่อยู่ในดินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบนิเวศดิน...

6: การเปรียบเทียบชุมชีพของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดและแปลงฟื้นฟูภายในเหมือง

Publication date2021
Author(s)Chakriya Sansupa
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

พื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมขั้นรุนแรงที่ต้องการกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศแบบเข้มข้น...

7: การพัฒนาดัชนีความเสื่อมโทรมของป่าเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้โดยใช้ภาพถ่ายอาร์จีบีจากอากาศยานไร้คนขับ

Publication date2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่ามีความสำคัญต่อการวางแผนการฟื้นฟู การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่สร้างดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า (forest-degradation index: FDI) โดยอาศัยข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับ...

8: วิธีการคัดเลือกพันธุ์จากลักษณะสำหรับการเพาะเมล็ดทางอากาศ

Publication date2020
Author(s)Beckman, N.G. & P. Tiansawat
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: พวกเรารวบรวม และสรุปงานวิจัยด้านระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเชิงทำงาน (functional traits) ที่สามารถช่วยในการคัดเลือกชนิดต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูด้วยการเพาะเมล็ดทางอากาศ...

9: ความหลากหลายพรรณไม้พื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟูเหมืองหินปูน บริษัทปูนซีเมนต์ (ลำปาง) จำกัด

Publication date2019
Author(s)Pornpawee Laohasom
PublisherChiang Mai University
Format
BSc Project

     ศึกษาสังคมพรรณไม้พื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟูหลังทำเหมืองหินปูนด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างในพื้นที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด...

10: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...