คำแนะนำ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การจำแนกประเภทของป่าเขตร้อนมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก ซึ่งได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ดิน องค์ประกอบของชนิดพันธุ์ โครงสร้าง หน้าที่ และระยะของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ประกอบด้วยป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี (รวมถึงป่าฝน) ป่าเขตร้อนตามฤดูกาล ป่าเขตร้อนที่แห้งแล้ง และป่าเขตร้อนบนภูเขา

forest view

การฟื้นตัวของป่า

การฟื้นตัวของป่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ดังนั้นความสำเร็จของกระบวนการนี้จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการส่งเสริมกลไกทางธรรมชาติของกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่นี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแทนที่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบภายในระบบนิเวศเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีลำดับและรูปแบบที่สามารถทำนายได้ กระบวนการดังกล่าวจะหยุดลงเมื่อระบบนิเวศเข้าสู่สภาวะเสถียร เมื่อป่ามีมวลชีวภาพสูงสุด โครงสร้างของป่ามีความซับซ้อน และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ลักษณะของระบบนิเวศขั้นสุดท้ายในแต่ละพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดินและภูมิอากาศเป็นหลัก

ป่าเสถียรเขตร้อนเป็นระบบที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นระบบที่มีสมดุลที่ไม่หยุดนิ่งซึ่งมีการรบกวนและการกลับคืนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่องว่างของป่าเกิดขึ้นเมื่อต้นไม้ใหญ่ล้มหรือตายลง แต่ช่องว่างนั้นจะถูกเติมเต็มอย่างรวดเร็วด้วยกล้าไม้และต้นกล้าเล็กๆที่จะเติบโตเมื่อได้รับแสง

Climax vegetation
การทำความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของป่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบวิธีการฟื้นฟูป่าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปกติ การฟื้นฟูป่าพยายามที่จะขจัดปัจจัยต่างๆ ที่ขัดขวางกระบวนการการเปลี่ยนแปลงแทนที่ตามธรรมชาติของป่า

การฟื้นตัวของป่าในพื้นที่เสื่อมโทรม

การตั้งตัวของต้นไม้ป่ามักขึ้นอยู่กับความพร้อมของแหล่งเมล็ดที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ และการกระจายของเมล็ดเข้ามาในพื้นที่เสื่อมโทรม เมล็ดจะต้องตกลงสู่จุดที่มีสภาวะเหมาะสมสำหรับการงอก รวมไปถึงสามารถหลบเลี่ยงความสนใจของสัตว์ที่เป็นตัวกินเมล็ด ซึ่งเรียกสัตว์เหล่านั้นว่า ผู้ล่าเมล็ดหากเมล็ดสามารถงอกได้ ต้นกล้าเล็กๆเหล่านั้น จะต้องชนะการแข่งขันที่รุนแรงกับวัชพืชเพื่อให้ได้แสง ความชื้น และสารอาหาร นอกจากนี้ ต้นกล้าเหล่านั้นต้องรอดจากการถูกเผาโดยไฟป่าหรือถูกกินโดยปศุสัตว์ (เช่น วัว หรือควาย) ที่อาจเจอได้ในพื้นที่อีกด้วย

 

Forest succession
ในพื้นที่ป่าธรรมชาติเมื่อมีช่องว่างเกิดขึ้นจากต้นไม้ล้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่อย่างรวดเร็ว ต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง (A) จะเป็นแหล่งผลิตเมล็ดที่สำคัญ (B) สัตว์ที่ทำหน้าที่กระจายเมล็ดยังมีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ารอบ ๆ (C) ต้นไม้ที่กิ่งฉีก (D) หรือหักโค่น (E) แตกยอดขึ้นมาใหม่ (F) และลูกไม้ (G) ซึ่งเคยอยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่เจริญได้เร็วขึ้นเนื่องจากได้รับแสงเต็มที่ (H) เมล็ดที่ฝังตัวอยู่ในดินมีโอกาสที่จะงอกขึ้นมาได้ ต่างจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลายเป็นบริเวณกว้างด้วยน้ำมือมนุษย์ ซึ่งกลไกการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่ามักถูกทำลายไป

 

 

Duration:  - 
โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย 3 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่ 1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว 2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน 3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู

1: รีวิวหนังสือ: Trees and Forests of Tropical Asia: Exploring Tapovan by Peter Ashton and David Lee. University of Chicago Press. ISBN-13 978-0-226-53569-2.  

Publication dateDec 2023
Author(s)Stephen Elliott
PublisherNatural History Bulletin of the Siam Society 65(2): 100–102, 2023
Format
Review

"...หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้ที่ที่ผู้สนใจเกี่ยวกับป่าเขตร้อนควรต้องซื้อ หนังสือเล่มนี้ยังเป็นงานอ้างอิงที่สำคัญมาก...

2: ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

Publication dateOct 2023
Author(s)พนิตนาถ แชนนอน
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป...

3: ชีพลักษณ์ของไม้ยืนต้นห้าชนิดสำหรับการฟื้นฟูป่าไม่ผลัดใบบนดอยสุเทพ

Publication date21 Mar 2023
Author(s)Phattarapol Soyson
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: จากการศึกษาชีพลักษณ์ของไม้ยืนต้นบางชนิดในป่าไม่ผลัดใบ ณ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือน มีนาคม 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีจำนวนพรรณไม้ที่ศึกษา 5 ชนิด ได้แก่ มะไฟ...

4: ลักษณะชีพลักษณ์ของพรรณไม้โครงสร้างห้าชนิดบนดอยสุเทพ

Publication date21 Mar 2023
Author(s)Parichatr Saenain
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และ ความชื้นสัมพัทธ์...

5: ฟังใจในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิด: พวกเขาเป็นใครและทำอะไรได้บ้าง

Publication date20 Sep 2022
Author(s)Sansupa, C.; Purahong, W.; Nawaz, A.; Wubet, T.; Suwannarach, N.; Chantawannakul, P.; Chairuangsri, S.; Disayathanoowat, T.
PublisherFungi
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เหมืองหินปูนแบบเปิดถูกจัดอยู่ในประเภทพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมสูง เนื่องจากไม่มีพืชปกคลุม มีอุณหภูมิอากาศสูงและถูกแสงแดดส่องเป็นเวลานาน  นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุ...

6: แบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะสำหรับการทำแผนที่ศักยภาพในการกระจายตัวของพรรณไม้โครงสร้างสี่ชนิด: เพื่อการวางแผนการฟื้นฟูป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในเอเชีย

Publication date24 Jun 2022
Author(s)Tiansawat, P.; Elliott, S.D.; Wangpakapattanawong, P.
Publisher Forests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การคัดเลือกพันธุ์ไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่ามีความสำคัญแต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ การทราบถึงภูมิอากาศที่เฉพาะสำหรับพรรณไม้สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้...

7: การศึกษาเปรียบเทียบการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์และผู้ล่าเมล็ดพันธุ์ใน พื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date16 Mar 2022
Author(s)Titaree Yamsri
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกระจายเมล็ดและการล่าเมล็ดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติในป่าซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าได้...

8: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและความหลากหลายของต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดพันธ์ตามธรรมชาติ ในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟูในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date25 Feb 2022
Author(s)Atcharawan Saeaiew
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: ในปี พ.ศ.2510 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าสูงถึง 53.22 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในประเทศ แต่ในปี พ.ศ.2564 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 31.68 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้ 63.99 เปอร์เซ็นต์...

9: การศึกษาเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date24 Feb 2022
Author(s)Palita Kunchorn
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเสื่อมโทรมและส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ในการนี้จึงมีความ...

10: การกระจายของต้นกล้าก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) ใต้ต้นแม่ในแปลงฟื้นฟูป่า

Publication date2022
Author(s)Kaewsomboon, S. & Chairuangsri, S.
PublisherEnvironment Asia
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ก่อ (Fagaceae) ที่ปลูกในปี 2541 ในแปลงป่าฟื้นฟูใกล้กับหมู่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่...