โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

111: ความสำคัญของ Vesicular-Arbuscular Mycorrhizae (VAM) ในป่าผลัดใบเขตร้อน

Publication date1994
Author(s)Manan, A
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University 
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความชุกของ Vesicular-Arbuscular Mycorrhizae ในพืชตะกูลถั่วในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุยและศึกษาผลของ VAM ต่อการงอกและอัตราการเติบโตของ Albizia...

112: การวัดและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเขตร้อนและเขตอบอุ่น - ทบทวนเอกสารการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

Publication date1994
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 42(2):146-149
Format
Review

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง "การวัดและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเขตร้อนและเขตอบอุ่น" จัดโดยสหภาพองค์กรวิจัยป่าไม้นานาชาติและกรมป่าไม้ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ....

113: ชีพลักษณ์ของการออกดอกและการผลิตเมล็ดของต้นไม้ป่าดิบแล้งในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date1994
Author(s)Elliott, S., S. Promkutkaew & J. F. Maxwell
PublisherASEAN-Canada Forest Tree Seed Project
Format
Conference Paper

การฟื้นฟูป่าท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และปกป้องบริเวณลุ่มน้ำ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบนิเวศ รวมถึงความรู้ด้านชีพลักษณ์ของดอก และผล ข้อมูลเหล่านี้...

114: ป่าชุมชนช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้หรือไม่?

Publication date1994
Author(s)Elliott, S.
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 42(2): 150-152
Format
Review

สรุป: รัฐบาลทั่วโลกกำลังส่งมอบการควบคุมป่าไม้ของรัฐให้กับชุมชนท้องถิ่นโดยหวังว่าชุมชนท้องถิ่นจะสามารถจัดการได้ดีกว่าหน่วยงานของรัฐ...

115: ความหลากหลายของต้นไม้ และต้นกล้าในป่าที่เกิดไฟป่าและไม่เกิดไฟป่า

Publication date1993
Author(s)Pokaew, C
PublisherUnpublished
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้แสดงถึงการเปรียบเทียบระหว่างป่าหลังจากการป้องกันไฟ่ป่าเป็นเวลา 20 ปี กับบริเวณป่าที่เกิดไฟป่าทุกปี สัดส่วนของต้นกล้าต่อต้นไม้ในพื้นที่เกิดการไหม้ (4.95)...

116: กลไกการกระจายเมล็ดของไม้ไม่ผลัดใบและไม้ผลัดใบบนดอยสุเทพ

Publication date1992
Author(s)Wong, J.
PublisherFORRU-CMU
Format
BSc Project

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอถึงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลไกการกระจายเมล็ดของต้นไม้ที่เป็นลักษณะเฉพาะของป่าประเภทต่างๆ ที่พบกระจายบนดอยสุเทพ แม้ว่าจะสแกนรูปเล่มได้ไม่ดีนัก...

117: ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม้จากป่าเขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date1992
Author(s)Hardwick, K. & S. Elliott
PublisherBiology Department, Chiang Mai University
Format
Internal Report

Kate Hardwick ได้ทำการวิจัยเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าครั้งแรกในกลุ่มของเราเมื่อปี 2535 ในเรือนเพาะชำภาควิชาชีววิทยาของมช. ในขณะที่ kate เป็นอาสาสมัครของมูลนิธิธรรมนาถ kate...

118: การสำรวจ transect ของป่ามรสุมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

Publication date1989
Author(s)Elliott, S., J. F. Maxwell & O. P. Beaver
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43: 137-171
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การสำรวจ transect (พื้นที่ 0.828 เฮกตาร์) ของป่ามรสุมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภาคเหนือของประเทศไทย พบความหลากชนิดของต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นที่ระดับอกตั้งแต่ 10...

119: ชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย  

Publication date1988
Author(s)Ua-Apisitwong, S
PublisherChiang Mai University
Format
BSc Project

  นักศึกษาปริญญาตรี สมยศ เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ ได้นำเสนอภาพรวมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั่วไปที่อาศัยอยู่ในป่าดิบและผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย...