โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

11: การศึกษาเปรียบเทียบการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์และผู้ล่าเมล็ดพันธุ์ใน พื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date16 Mar 2022
Author(s)Titaree Yamsri
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกระจายเมล็ดและการล่าเมล็ดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติในป่าซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าได้...

12: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและความหลากหลายของต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดพันธ์ตามธรรมชาติ ในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟูในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date25 Feb 2022
Author(s)Atcharawan Saeaiew
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: ในปี พ.ศ.2510 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าสูงถึง 53.22 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในประเทศ แต่ในปี พ.ศ.2564 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 31.68 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้ 63.99 เปอร์เซ็นต์...

13: การศึกษาเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date24 Feb 2022
Author(s)Palita Kunchorn
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเสื่อมโทรมและส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ในการนี้จึงมีความ...

14: การกระจายของต้นกล้าก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) ใต้ต้นแม่ในแปลงฟื้นฟูป่า

Publication date2022
Author(s)Kaewsomboon, S. & Chairuangsri, S.
PublisherEnvironment Asia
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ก่อ (Fagaceae) ที่ปลูกในปี 2541 ในแปลงป่าฟื้นฟูใกล้กับหมู่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่...

15: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการวางแผนและติดตามการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า: ในส่วนดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า

Publication dateNov 2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherCGIAR Research Program on Forests, Trees and Agroforestry and Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: โครงการริเริ่มระดับโลก เช่น Bonn Challenge และ New York Declaration on Forests ก่อให้เกิดโครงการฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ...

16: ชุมชีพและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของแบคทีเรียในดินและสำหรับการฟื้นฟูป่าในเหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date08 Apr 2021
Author(s)Sansupa, C., W. Purahong, T. Wubet, P. Tiansawat, W. Pathom-Aree, N. Teaumroong, P. Chantawannakul, F. Buscot, S. Elliott & T. Disayathanoowat
PublisherPLoS ONE
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การเปิดหน้าดินเพื่อการทำเหมืองเป็นการกำจัดหน้าดินชั้นบนพร้อมทั้งชุมชีพของแบคทีเรียที่อยู่ในดินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบนิเวศดิน...

17: Comparison of the reproductive phenology of some plants

Publication date24 Mar 2021
Author(s)Pongsiri Moungku
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: จากการศึกษาชีพลักษณ์ต้นไม้ในป่าไม่ผลัดใบ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือน มีนาคม 2563 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2564 มีพรรณไม้ที่ศึกษาจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ มะไฟ กะอวม...

18: การเปรียบเทียบชุมชีพของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดและแปลงฟื้นฟูภายในเหมือง

Publication date2021
Author(s)Chakriya Sansupa
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

พื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมขั้นรุนแรงที่ต้องการกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศแบบเข้มข้น...

19: การพัฒนาดัชนีความเสื่อมโทรมของป่าเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้โดยใช้ภาพถ่ายอาร์จีบีจากอากาศยานไร้คนขับ

Publication date2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่ามีความสำคัญต่อการวางแผนการฟื้นฟู การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่สร้างดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า (forest-degradation index: FDI) โดยอาศัยข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับ...