โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

61: การฟื้นตัวของความหลากหลายของไลเคนระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2006
Author(s)Phongchiewboon, A
Publisherthe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ การศึกษานี้วิจัยเรื่องการฟื้นตัวของความหลากหลายของไลเคนระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยของกลุ่มไลเคนบนต้นไม้ที่ช่วงอายุต่างๆ ของการฟื้นฟูป่า ทำการรวบรวมความหลากหลาย, ความชุก...

62: ใบไม้ร่วงในช่วงฤดูแล้ง: ความผิดปกติของป่ามรสุมในเอเชีย

Publication date2006
Author(s)Elliott, S., P. J. Baker & R. Borchert
PublisherGlobal Ecology and Biogeography 15:248–257.
Format
Journal Paper

เป้าหมาย ชนิดพรรณไม้ในป่าผลัดใบส่วนใหญ่ในป่ามรสุมของประเทศไทยและอินเดียผลิใบใหม่ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนมรสุมครั้งแรกมาถึง ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด...

63: ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2005
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือเล่มนี้เมื่อปีพ.ศ. 2548  ในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการทั่วไปทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในการฟื้นฟูป่า  ซึ่งสามารถใช้ทั่วไปในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน ...

64: การเเพร่กระจายเมล็ดของ 3 พรรณไม้โครงสร้างเเละการล่าเมล็ดของ Manglietia garrettii Craib

Publication date2005
Author(s)Tiansawat, P
PublisherBiology Department, Chiang Mai University
Format
BSc Project

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาร้ายแรงในภาคเหนือของประเทศไทย พรรณไม้โครงสร้างเป็นไม้ป่าพื้นเมือง ที่ช่วยเร่งการฟื้นฟูป่าตามธรรมชาติ...

65: ความต้องการงานวิจัยสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า: การเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติ

Publication date05 May 2004
Author(s)Hardwick, K., J. R. Healey, S. Elliott & D. Blakesley.
PublisherNew Forests 27 (3): 285-302.
Format
Journal Paper

การเร่งกระบวนการการฟื้นตัวตามธรรมชาติ (ANR) เป็นวิธีการฟื้นฟูป่าที่ค่อนข้างถูก ซึ่งเป็นการส่งเสริมการตั้งตัวตามธรรมชาติของกล้าไม้และไม้พุ่มท้องถิ่น วิธีการนี้ต้องการต้นทุนด้านแรงงานที่ต่ำ...

66:   ต้นไม้แห่งความรู้

Publication date2004
Author(s)Blakesley, D. and S. Elliott
PublisherEden Project Friends, 14:14-16
Format
Magazine Article

ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2545 Eden ได้เริ่มให้การสนับสนุนหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ซึ่งเป็นทีมวิจัยขนาดเล็กที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)...

67: อีเดนช่วยฟื้นฟูป่าเขตร้อนของประเทศไทย

Publication date2003
Author(s)Elliott, S. and D. Blakesley
PublisherEden Project Friends 10: 33-35.
Format
Magazine Article

โครงการความร่วมมือในต่างประเทศแห่งใหม่ของ Eden ทำงานร่วมกับชุมชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อตระหนักถึงความคิดที่ว่าการทำลายป่าเขตร้อนของโลกจะกลับคืนมาได้...

68: ผลของไม้ยืนต้นเต็มวัยต่อการตั้งตัวของกล้าไม้ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย

Publication date2003
Author(s)Navakitbumrung, P
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

วิธีเร่งกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายของประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากขาดความรู้ในกระบวนการธรรมชาติของการฟื้นฟูป่า...

69: ความหลากหลายของชุมชีพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในพื้นที่ฟื้นฟูป่าของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า

Publication date2003
Author(s)Thaiying, J
PublisherChiang Mai University
Format
BSc Project

เจนภพ ไทยยิ่ง นักศึกษาปริญญาตรีของเราได้นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในระยะเริ่มต้นของการฟื้นฟูป่า ในการศึกษาก่อนหน้าของ FORRU นักศึกษาปริญญาตรีอีกคนหนึ่ง สมยศ...

70: ผลกระทบของการฟื้นฟูป่าที่มีต่อความหลากหลายของพันธุ์ไม้ตามธรรมชาติและพืชพื้นล่าง

Publication date2003
Author(s)Khopai, O. & S. Elliott, 2003.
PublisherBringing Back the Forests: Policies and Practices for Degraded Lands and Forests.
Format
Book Chapter

การฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างมีเป้าหมายเพื่อสร้างโครงสร้างและหน้าที่ของระบบนิเวศป่าขึ้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว...