โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

41: คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKKU Res. J. 20(3): 294-304.
Format
Journal Paper

บทนำ: การฟื้นฟูป่าเขตร้อนมีบทบาทในการลดผลกระทยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การเก็บข้อมูลคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้คัดเลือกจากแปลงฟื้นฟูภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3...

42: ความหลากหลายของนกบนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Publication date2014
Author(s)Meesena, J., N. Sritasuwan & S. Elliott
Publisher J. Yala Rajabhat University, Humanities and Social Science, 9(1):9-2
Format
Journal Paper

ดอยแม่สลองตั้งอยู่ในเทือกเขาแดนลาวและมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนพม่า มีความสูงเฉลี่ย 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และข้อมูลความหลากหลายของนกยังมีอยู่อย่างจำกัด...

43: การใช้พรรณไม้โครงสร้างในการฟื้นฟูป่า : การใช้คุณลักษณะการทำงานของพืชเพื่อทำนายประสิทธิภาพของชนิดพรรณ

Publication dateJul 2013
Author(s)Hannah Betts
PublisherUniversity of Liverpool
Format
PhD Thesis

บทนำ: เนื่องด้วยความเสื่อมโทรมและการสูญเสียป่าไม้ การใช้เทคนิคการฟื้นฟูระบบนิเวศเป็นที่สนใจเป็นพิเศษในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา...

44: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

45: นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ไม้ยืนต้นในสกุล มะเดื่อ ไทร (Ficus spp.) เพื่อเป็นพรรณไม้ โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication dateFeb 2012
Author(s)Kuaraksa, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

     ไม้ในกลุ่มมะเดื่อ ไทร ได้รับการส่งเสริมเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในเขตร้อน เนื่องด้วยมีความสำคัญในระบบนิเวศโดยเฉพาะในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ป่า...

46: การวิจัยเพื่อปรับโครงสร้างป่าไม้

Publication date2012
Author(s)Elliott, S.
PublisherEnvironmental Leadership and Training Initiative, Yale University. 
Format
Journal Paper

FORRU ได้ทำการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อปรับปรุง FSM( Framework Species Method )ให้ดียิ่งขึ้นเจ้าหน้าที่ FORRU เข้าพื้นที่ป่าเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการติดผลและการออกดอกของต้นไม้ชนิดต่างๆ...

47: ชีพลักษณ์ของพันธุ์ไม้ที่ต้นแยกเพศชนิด Ficus spp. และความสำคัญในโครงการฟื้นฟูป่า

Publication date2012
Author(s) Kuaraksa, C. S. Elliott and M. Hossaert-Mckey
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 265:82–93.
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: Ficus spp. หรือสกุลโพ-ไทร-มะเดื่อ จัดเป็นต้นไม้ชนิดหลัก (Keystone specie) ในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ให้อยู่ในโครงการฟื้นฟูป่าด้วย...

48: วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง: การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเขตร้อนในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

Publication date2011
Author(s)Elliot, S., D. Blakesley, K. Hardwick, K. Sinhaseni, G. Pakkad, & S. Chairuangsri
PublisherUniversiti Putra Malaysia
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: เป้าหมายสูงสุดของการฟื้นฟูป่า คือ การสร้างป่าเสถียรซึ่งประกอบด้วยมวลชีวภาพสูงสุด...

49: ที่รกร้างสู่การเป็นป่า: การนำความรู้ของชนพื้นเมืองและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2010
Author(s)Wangpakapattanawong, P., N. Kavinchan, C. Vaidhayakarn, D. Schmidt-Vogt and S. Elliott
Editors(s)
PublisherForest Ecology and Management 260:1399–1406.
Format
Journal Paper

ระบบการเพาะปลูกแบบหมุนเวียน ซึ่งมีการทิ้งพื้นที่ด้วยระยะเวลาที่นานเพียงพอสำหรับการฟื้นตัวของป่าทุติยภูมิ...

50: พืชที่มีท่อลำเลียงบริเวณสระมรกต จังหวัดกระบี่ ภาคใต้ของประเทศไทย   

Publication date13 Jan 2009
Author(s)Maxwell, J.F.
PublisherMaejo International Journal of Science and Technology
Format
Journal Paper

สระมรกตตั้งอยู่ในเขตที่ราบต่ำ (25-75 เมตร) มีลักษณะเป็นป่าเขตร้อน ประกอบด้วยชนิดป่าที่หลากหลายทั้งป่าพรุน้ำจืด ป่าธรรมชาติรุ่นแรกของป่าดิบชื้น มักมีมีพืชพวกไผ่...