โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

31: ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับคืนของชนิดไม้ยืนต้นในพื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Ratanapongsai, Y.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

บทนนำ: FORRU-CMU ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง (FWS) เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537...

32: องค์ประกอบของพรรณไม้และความสูง - เส้นผ่านศูนย์กลาง อัลโลเมทรีของป่าสามประเภทในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Khamyong, N., P. Wangpakapattanawong, S. Chairuangsri, A. Inta & P. Tiansawat
PublisherCMU J. Nat. Sci. 17(4):289-306
Format
Journal Paper

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของพันธุ์ไม้ในป่าเขตร้อนให้ข้อมูลสำหรับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้  ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของต้นไม้ในป่า 3...

33: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...

34: เมื่อวิทยาศาสตร์กับชุมชนพบกัน: การพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย  

Publication date2018
Author(s)Elliott S., S. Chairuengsri, D. Shannon, P. Nippanon & A. Ratthaphon
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 63(1):11-26.
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการศึกษาด้านการฟื้นฟูป่าจากสองโครงการในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยซึ่งเป็นการร่วมงานระหว่างนักวิจัยและชุมชน   ความร่วมมือของชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่...

35: การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateNov 2017
Author(s)Jantawong, K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว...

36:  หลักการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนและโอกาสในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ใกล้สูญพันธุ์และถูกคุกคาม

Publication date2017
Author(s) Elliott, S., K. Hardwick, D. Blakesley & S. Chairuangsri
Publisher Pp 1-5 in Ho, W.M., V. Jeyanny, H. S. Sik & C. T. Lee (Eds), Reclamation, Rehabilitation and Restoration of Disturbed Sites: planting of national and IUCN red list species. FRIM, Kuala Lumpur, Malaysia, 115 pp
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนเกี่ยวข้องกับการจัดการกับการฟื้นฟูตามธรรมชาติเพื่อให้ได้มวลชีวภาพสูงที่สุด...

37: ผู้ล่าเมล็ดที่พบได้ในพื้นที่เกษตรร้างในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date17 Jun 2016
Author(s)Naruangsri, K. & P. Tiansawat
PublisherProceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand, 124–133.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรง (Direct seeding) มักประสบกับปัญหาการล่าเมล็ดโดยสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะ กลุ่มของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เมล็ดที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปอาจถูกทำลาย...

38: การเจริญเติบโตครั้งที่สอง: การฟื้นตัวตามธรรมชาติในป่าฝนเขตร้อนที่ถูกทำลาย (ทบทวนวรรณกรรม)

Publication date2016
Author(s) Hardwick, K. and S Elliott
Publisher Book review in Restoration Ecology Vol. 24, No. 1, pp. 137 13
Format
Review

Robin Chazdon  การเจริญเติบโตครั้งที่สอง โรบิน เชสดอน...

39: การฟื้นฟูป่าระดับภูมิทัศน์ในประเทศไทย

Publication date2016
Author(s)Wangpakapattanawong P., P. Tiansawat & A. Sharp
Editors(s)Appanah, S.
PublisherFood and Agriculture Organization of the United Nations and RECOFTC – The Center for People and Forest
Format
Book Chapter

ประเทศไทยตั้งอยู่ในใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนมีพื้นที่ทั้งหมด 513,115 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและลักษณะทางสรีรวิทยาป่าไม้ประเภทต่าง ๆ...

40: ข้อจำกัดของเมล็ดพันธุ์มีความสำคัญเมื่อใดในการขยายการปลูกป่าจากแพตช์

Publication date2016
Author(s)Caughlin, T., S. Elliott & J. W. Lichstein
PublisherEcological Applications 26(8): 2437-2448. DOI: 10.1002/eap.1410 
Format
Journal Paper

มีแอพพลิเคชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มาพร้อมกับเอกสารนี้...