บทเรียนจากประสบการณ์จริงเป็นแนวคิดหลักของการสอน ที่ถูกนำมาปรับใช้โดยโรงเรียน สถานศึกษา และการประชาสัมพันธ์ต่างๆ หลายแห่ง FORRU เป็นหน่วยงานวิจัยหนึ่งในสถานศึกษาที่มุ่งหวังที่จะขยายความรู้และประสบการณ์ให้กับบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานต่างๆ ของเรือนเพาะชำกล้าไม้ อาทิเช่น การทำความสะอาดเมล็ด การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ การเพาะเมล็ด การย้ายกล้าและการดูแลกล้าไม้ เป็นต้น นอกเหนือจากกิจกรรมในเรือนเพาะชำแล้ว ทางหน่วยวิจัยฯ ยังมีกิจกรรมนอกเรือนเพาะชำ ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมในป่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติหรือในแปลงฟื้นฟู อาทิเช่น การเก็บเมล็ดและการเก็บกล้าธรรมชาติมาปลูก กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้ลงมือทำด้วยตนเอง อาจเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
เรือนเพาะชำกล้าไม้ของเราเป็นพื้นที่อันมีค่าสำหรับการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับกิจกรรมการฟื้นฟูป่าและยังใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมอาสาสมัครอีกด้วย ซึ่ง FORRU มักจะจัดกิจกรรมเปิดรับกลุ่มอาสาสมัครเล็กๆ จำนวน 10 คน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้ใช้เวลาหนึ่งวันในเรือนเพาะชำกล้าไม้หรือภาคสนาม ในการเป็นอาสาสมัครกับหน่วยวิจัยฯ
มาร่วมกิจกรรมกับเราจะได้ทั้งเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่และช่วยชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สถานที่จัดกิจกรรม :
- เรือนเพาะชำกล้าไม้ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย : ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เดินทางจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปยังเรือนเพาะชำ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลานสน อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พื้นที่โดยรอบเรือนเพาะชำเป็นป่าดิบ ต้นไม้เขียวขจีและอากาศเย็นเกือบทั้งปี
- เรือนเพาะชำกล้าไม้ บ้านแม่สาใหม่ : ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม ไปยังเรือนเพาะชำบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ถือว่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
- แปลงฟื้นฟูป่า : บ้านแม่สาใหม่ ม่อนแจ่ม ม่อนล่อง บ้านแม่ขิ บ้านปงไคร้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
หมายเหตุ :
- รับอาสาสมัครเฉลี่ย 10 คนต่อครั้ง
- เจ้าหน้าที่จากหน่วยวิจัยฯ FORRU มีการจัดเตรียมรถสำหรับเดินทางไปพื้นที่ทำกิจกรรม
- มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยวิจัยฯ FORRU, เครื่องดื่ม ขนมและอาหาร วัสดุอุปกร์และข้อมูลตีพิมพ์แจกฟรีสำหรับอาสามสมัครทุกคน
- กิจกรรมภาคสนามจะเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก แต่กิจกรรมในเรือนเพาะชำเป็นงานสบายที่เหมาะกับทุกเพศและทุกช่วงวัย
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจะจัดเตรียมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมอาสาสมัครที่กำลังจะเกิดขึ้นบนหน้าเฟซบุ๊ค ของหน่วยวิจัยฯ ตามช่วงเวลาที่หน่วยงานกำหนด ดังนั้นหากคุณสนใจโปรดติดตามกิจกรรมอาสาที่จะจัดขึ้นได้บนหน้าเฟซบุ๊ค หรือหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถส่งคำถามมาได้ที่หน้าเว็บไซต์ ของหน่วยวิจัยฯ
โปรดทราบ - เนื่องจากหน่วยวิจัยฯ FORRU เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่องานวิจัยการฟื้นฟูป่าและให้ความรู้โดยไม่แสวงหาผลกำไร ดังนั้นเราจึงไม่มีมาตรการในการรับกิจกรรม "อาสาสมัคร" ตามความต้องการที่มีการกำหนดวันขึ้นเองสำหรับบริษัททัวร์หรือกลุ่มธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร
นี่คือตัวอย่างกิจกรรมอาสาสมัคร ทั้งทำงานในเรือนเพาะชำ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และการทำงานในป่า
Venues include:
- Doi Suthep Research Tree Nursery : about 30-minute drive from Chiang Mai, opposite Wat Prathat Doi Suthep.
- Ban Mae Sa Community Tree Nursery : about 60-minute drive from Chiang Mai on the Mae Rim road
- Field Plots : most are in the Upper Mae Sa Valley - Ban Mae Sa, Mon Cham, Mon Long, Ban Mae Khi and Ban Pong Khrai.
Group size is usually about 10 people. FORRU-CMU provides transportation (by sorngtaew) supervisory staff, drinks and snacks, equipment, materials and sometimes printed information. Field work can be physically demanding, but nursery work can be enjoyed by those of all ages and fitness levels.
Volunteer group days are run sporadically, when FORRU-CMU staff need helping hands. Upcoming events are advertised on FORRU-CMU’s Facebook page , 1-2 weeks in advance, on a first come first served basis. So, if you are interested, please keep an eye on the FB page (click on the link below). Or send an enquiry through the "Contact Us" page.
Thanks to Ally Taylor for this VDO of typical volunteer day with FORRU-CMU.