โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

81: วาระการวิจัยเชียงใหม่เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S.
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

ย้อนกลับไปในปี 2000 การวิจัยฟื้นฟูป่ายังห่างไกลจากทางหลัก...

82: ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ป่าและการฟื้นฟูป่า

Publication date2000
Author(s)Elliott, S.
PublisherForest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University.
Format
Book Chapter

โดยนัยในชื่อของการสัมนาเชิงปฏิบัตินี้การคือสมมติฐานที่ว่าการฟื้นฟูป่าเขตร้อนเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่า อย่างไรก็ตามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ได้รับการทดสอบในป่าที่ได้รับการฟื้นฟู...

83: นิยามการฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า

Publication date2000
Author(s)Elliott, S.
PublisherForest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University.
Format
Book Chapter

เป็นที่ทราบกันว่าการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนเป็นหนึ่งในภัยคุกคามร้ายแรงต่อสัตว์ป่าบนโลกทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20...

84: ผลของคอนเทียมสำหรับนกและพืชพรรณท้องถิ่นต่อการสะสมของเมล็ดที่ถูกกระจายโดยนกสู่พื้นที่ที่กำลังฟื้นตัว

Publication date2000
Author(s)Scott, R., P. Pattanakaew, J. F. Maxwell, S. Elliott and G. Gale
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของนกในการฟื้นตัวตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้เพื่อเร่งกระบวนการและลดต้นทุนในการฟื้นฟูป่า วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพิจารณาว่า: (1) ไม่ว่าจะเป็นคอนนกเทียม...

85: การฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ในภาคเหนือของประเทศไทยและการเฝ้าระวังนกกินพืช

Publication date2000
Author(s)Blakesley, D. & S. Elliott
PublisherOriental Bird Club
Format
Journal Paper

ในระหว่างการฟื้นฟูป่าเขตร้อนนกมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์จากป่าที่ใกล้เคียงไปยังพื้นที่ฟื้นฟู วิธีการฟื้นฟูป่าไม้ถูกออกแบบมาเพื่อดึงดูดพวกมัน Oriental Bird Club...

86: การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า (2543)

Publication date2000
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

เอกสารการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ จัดโดย ITTO และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารการประชุม การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ซึ่งจัดในช่วงเดือน มกราคม -...

87: การตั้งรกรากของต้นไม้ในพื้นที่แผ้วถางทางการเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในป่าดิบเขตร้อนตามฤดูกาลในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateOct 1999
Author(s)Hardwick, K.
PublisherPhD Thesis University of Wales, Bangor. Please note, downloads of all chapters are scanned (non-searchable) PDF's.
Format
PhD Thesis

บทนำ: ในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลไทยได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ แนวทางหนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการเร่งกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ (ANR)...

88: การเจริญเติบโตและรอดชีวิตของพรรรณไม้ท้องถิ่นบนพื้นที่เสื่อมโทรมเนินเขาในฮ่องกง

Publication date1999
Author(s)Hau, C.H.
PublisherThe University of Hong Kong
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การทำลายของป่าไม้และความเสื่อมโทรมทางพื้นที่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน สูญเสียความความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอย่างมหาศาล...

89: ฐานข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลและเมล็ดของไม้ยืนต้นในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

Publication date1999
Author(s)Pakkad, G., S. Elliott, J.F. Maxwell & V. Anusarnsunthorn
PublisherThe Biodiversity Research and Training Program (BRT)
Format
Conference Paper

บทนำ: อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในอดีตที่ผ่านมาเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของพรรณไม้และสัตว์จำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนี้จำนวนชนิดและปริมาณของพืชและสัตว์ได้ลดจำนวนลงไปจำนวนมาก...

90: อิทธิพลของกิจกรรมฟื้นฟูป่าต่อชุมชนของนกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ราบสูงเสื่อมโทรม

Publication date1999
Author(s)Chantong, W.
PublisherBiology Department, Chiang Mai Univerity
Format
BSc Project

บทคัดย่อ การสำรวจหา species richness ของนกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ราบสูงเสื่อมโทรม ณ บ้านแม่สาใหม่   อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ...