คำแนะนำ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นฟูระดับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เป็นไปตามแบบฉบับระบบนิเวศป่าอ้างอิง เป็นหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า ทั้งนี้ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่ขนาดเล็กอย่างแบคทีเรียไปจนถึงขนาดใหญ่อย่างช้าง ดังนั้นการประเมินว่าการฟื้นฟูป่าสามารถฟื้นตัวได้เร็วเพียงใดจึงเป็นงานที่น่ากังวล

ที่ไหนและเมื่อไรที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบ

สิ่งที่ควรจะมีการติดตามตรวจสอบ ได้แก่ i) พื้นที่ฟื้นฟู (วิธีการที่ปฏิบัติต่อพื้นที่) ii) พื้นที่ควบคุม (ซึ่งไม่มีการฟื้นฟูใดๆ) (จุดเริ่มต้น) และ iii) ป่าอ้างอิงหรือป่าธรรมชาติเดิมที่เหลืออยู่ (เป้าหมาย) ทั้งก่อนและหลังการเริ่มต้นการฟื้นฟู ( เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐาน) และทุกปีหลังจากนั้น

การเปรียบเทียบข้อ i) กับ ii) เพื่อประเมินประสิทธิผลของวิธีการฟื้นฟู การเปรียบเทียบ ii) และ iii) เพื่อติดตามความคืบหน้าของการฟื้นฟูไปสู่สภาวะสิ้นสุดในอุดมคติ

สิ่งที่ต้องสำรวจ? 

กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สามารถสำรวจเพื่อติดตามการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่:

  • พืช - โดยการสำรวจกลุ่มพืชตัวอย่าง ใช้แปลงวงกลมที่สร้างขึ้นในช่วงที่มีการประเมินพื้นที่ก่อนการปลูก
  • นก โดยใช้ McKinnon's list method (เนื่องจากนกตัวหลักที่ทำหน้าที่เป็นเป็นผู้กระจายเมล็ดเข้าสู่พื้นที่ฟื้นฟู)
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - โดยใช้กล้องดักถ่ายสัตว์ 

วิธีการแบบเต็มรูปแบบสำหรับการสำรวจแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ผ่านแผงดาวน์โหลด

Birds
นกเป็นตัวหลักในการกระจายเมล็ดเข้าสู่แปลงฟื้นฟู ดังนั้นติดตามสำรวจพวกมันจึงเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ในการฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ
 
Seedlings
กล้าไม้ที่งอกจากเมล็ดที่นกนำเข้ามา เป็นสัญญาณบ่งชี้ครั้งแรกว่า ระบบนิเวศป่าไม้ที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองได้ถูกฟื้นฟูกลับคืนมาแล้ว
 
Civet
ชะมดแผงหางปล้อง (Large Indian Civet) ที่ถูกถ่ายโดยกล้องดักถ่ายสัตว 10 ปีหลังจากเริ่มการฟื้นฟู
Duration:  - 
โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย 3 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่ 1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว 2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน 3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู

1: เกาะต้นไม้ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบในภูมิทัศน์ปาล์มน้ำมัน

Publication date24 May 2023
Author(s)Zemp, D.C., N. Guerrero-Ramirez, F. Brambach, K. Darras, I. Grass, A. Potapov, A. Röll, I. Arimond, J. Ballauff, H. Behling, D. Berkelmann, S. Biagioni, D. Buchori, D. Craven, R. Daniel, O. Gailing, F. Ellsäßer, R. Fardiansah, N. Hennings et al.
PublisherNature
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:...

2: ผลของอายุป่าฟื้นฟูต่อความหลากชนิดของสังคมพืชไบรโอไฟต์อิงอาศัย

Publication date03 Apr 2023
Author(s)Chawengkul, P., Nangngam, P., and Elliott, S.
PublisherNatural and Life Sciences Communications
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของไบรโอไฟต์ในช่วงที่มีการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่กำหนดความสำเร็จของการฟื้นฟูป่า...

3: ฟังใจในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิด: พวกเขาเป็นใครและทำอะไรได้บ้าง

Publication date20 Sep 2022
Author(s)Sansupa, C.; Purahong, W.; Nawaz, A.; Wubet, T.; Suwannarach, N.; Chantawannakul, P.; Chairuangsri, S.; Disayathanoowat, T.
PublisherFungi
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เหมืองหินปูนแบบเปิดถูกจัดอยู่ในประเภทพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมสูง เนื่องจากไม่มีพืชปกคลุม มีอุณหภูมิอากาศสูงและถูกแสงแดดส่องเป็นเวลานาน  นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุ...

4: การศึกษาเปรียบเทียบการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์และผู้ล่าเมล็ดพันธุ์ใน พื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date16 Mar 2022
Author(s)Titaree Yamsri
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกระจายเมล็ดและการล่าเมล็ดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติในป่าซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าได้...

5: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและความหลากหลายของต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดพันธ์ตามธรรมชาติ ในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟูในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date25 Feb 2022
Author(s)Atcharawan Saeaiew
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: ในปี พ.ศ.2510 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าสูงถึง 53.22 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในประเทศ แต่ในปี พ.ศ.2564 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 31.68 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้ 63.99 เปอร์เซ็นต์...

6: การศึกษาเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าฟื้นฟู อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication date24 Feb 2022
Author(s)Palita Kunchorn
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเสื่อมโทรมและส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ในการนี้จึงมีความ...

7: ชุมชีพและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของแบคทีเรียในดินและสำหรับการฟื้นฟูป่าในเหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date08 Apr 2021
Author(s)Sansupa, C., W. Purahong, T. Wubet, P. Tiansawat, W. Pathom-Aree, N. Teaumroong, P. Chantawannakul, F. Buscot, S. Elliott & T. Disayathanoowat
PublisherPLoS ONE
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การเปิดหน้าดินเพื่อการทำเหมืองเป็นการกำจัดหน้าดินชั้นบนพร้อมทั้งชุมชีพของแบคทีเรียที่อยู่ในดินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบนิเวศดิน...

8: การเปรียบเทียบชุมชีพของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดและแปลงฟื้นฟูภายในเหมือง

Publication date2021
Author(s)Chakriya Sansupa
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

พื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมขั้นรุนแรงที่ต้องการกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศแบบเข้มข้น...

10: พื้นฐานการระบุพืชแบบอัตโนมัติ  

Publication date2020
Author(s)Bonnet, P. & D. Frame
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทนำ: ในอดีตการระบุพันธุ์พืชแบบแบ่งขั้วแบบอิงตามภาพก่อนแบบข้อความเกือบหนึ่งร้อยปี หลังจากห่างหายไปนานกว่า 300 ปี...