FORRU

คำแนะนำ

มาปลูกป่าให้เป็นป่ากันมั้ย?

การฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลายให้กลับมาเป็นป่าที่มีระดับของมวลชีวภาพ ความซับซ้อนของชั้นเรือนยอด ความหลากหลายทางชีวภาพ และมีการทำงานของระบบนิเวศที่เป็นไปตามชนิดของป่านั้นๆ จำเป็นต้องมีกระบวนการที่ซับซ้อนและมีทักษะที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูป่าอย่างถูกต้องและเหมาะสม (ท่านสามารถคลิกที่ลิงค์ต่างๆในกล่องด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

หากท่านต้องการการอบรมเชิงปฎิบัติการ ทางหน่วยวิจัยฯมีบริการด้านการศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า ซึ่งสามารถระบุหัวข้อที่ต้องการจัดอบรมได้ หากท่านอาศัยอยู่ในพื้นที่หรืออยู่ใกล้จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้ท่านได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆในด้านการออกภาคสนามและเทคนิคที่ใช้ในเรือนเพาะชำ นอกจากนั้นทางหน่วยวิจัยฯได้จัดทำเอกสารประกอบการอบรม (สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี) มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการฟื้นฟูป่าและขั้นตอนในการฟื้นฟูป่าในป่าเขตร้อน รวมถึงข้อมูลของชนิดพันธุ์ไม้และถิ่นที่อยู่ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เทคนิควิธีการวิจัยสำหรับนักวิจัย

หากท่านมีข้อสงสัยสามารถฝากข้อความใน"ติดต่อเรา"

Need Extra Help?

Do you need a professional consultancy service? The Next Forest is a company, established by former FORRU students and staff. It provides professional consultancy services to assist organizations with planning and implementing restoration. The company's services include assistance with site surveys by drone, tree planting, maintenance, monitoring tree performance, biodiversity recovery and carbon accumulation. Please contact the company through their FaceBook page.

The Next Forest is a company banner

เรื่อง

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า การเปลี่ยนแปลงแทนที่ และชีพลักษณ์ของต้นไม้

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า (with extra text here)

พันธุศาสตร์

หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์แบบเครือญาติเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetics in forest restoration).

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า (additional text here)

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

ไฟป่า

ในช่วงฤดูแล้ง ไฟป่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโครงการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างมาก เรียนรู้วิธีการป้องกันและการจัดการเมื่อไฟป่าลุกลามเข้าแปลงฟื้นฟู

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้ เรียนรู้วิธีการติดตามและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ

มุมมองด้านสังคมและเศรษฐกิจในการฟื้นฟูป่า

การฟื้นฟูป่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการสนับสนุนจากชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรียนรู้มุมมองทางด้านสังคมกับการฟื้นฟูป่า

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

การฟื้นฟูป่าอัตโนมัติ

อากาศยานไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูป่าให้ง่ายขึ้น เช่น การสำรวจพื้นที่ การติดตามผล และการโปรยเมล็ด