โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

71: ความต้องการของการวิจัยเพื่อฟื้นฟูป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า: การคัดเลือกพันธุ์และการขยายพันธุ์เมล็ดพันธุ์

Publication dateNov 2002
Author(s)David Blakesley, Kate Hardwick & Stephen Elliott
PublisherNew Forests 24 (3): 165-174
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: รัฐบาลบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นไทยและเวียดนามมีนโยบายชัดเจนที่จะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมขนาดใหญ่ให้เป็นป่าพื้นเมือง...

72: รางวัลจากการฟื้นฟูป่า

Publication date2002
Author(s)Elliott, S. & D. Blakesley
PublisherGuidelines Magazine
Format
Magazine Article

การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วทำให้ป่าเขตร้อนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การสูญเสียทางหลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...

73: ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่าและวิธีการเลี้ยงดูในเรือนเพาะชำ

Publication date2002
Author(s)Kuarak, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

การฟื้นฟูสภาพป่าโดยการเพาะชำกล้าไม้มีราคาค่อนข้างแพง มีปัญหาทางเทคนิคมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเพาะต้นกล้าจากเมล็ด การย้ายกล้าไม้จากป่าไปยังเรือนเพาะชำอาจลดปัญหาเหล่านี้ได้...

74: การเพิ่มขึ้นของช่วงแสงกระตุ้นให้เกิดการผลิใบของต้นไม้ป่าเขตร้อนในที่ไม่มีฝน

Publication date2002
Author(s)Rivera, G., S. Elliott, L. S. Caldras, G. Nicolossi, V.T.R. Coradin & R. Borchert.
PublisherTrees 16:445-456.
Format
Journal Paper

ในต้นไม้จำนวนมากจากมากกว่า 50 ชนิด จะแตกยอดโดยพร้อมเพรียงกันโดยมีการแปรผันระหว่างปีต่ำ ในช่วงปลายฤดูแล้งรอบฤดูใบไม้ผลิที่กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน พบในป่ากึ่งผลัดใบของอาร์เจนตินา คอสตาริกา...

75: พืชพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำสี่พันดอน

Publication date2001
Author(s)J.F. Maxwell
Editors(s)Daconto, G.
PublisherEnvironmental Protection and Community Development in Siphandone Wetlands Project (Funded by the European Commission)
Format
Project Report

พื้นที่ชุ่มน้ำสี่พันดอนมีลักษณะเป็นช่องทางที่ซับซ้อนของแก่งและน้ำตกที่มีสันทรายและเกาะจำนวนมากซึ่งหลายแห่งจมอยู่ใต้น้ำในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม - ตุลาคม) (ในที่นี้ Daconto) จุดสูงสุดคือภู (ภูเขา)...

76: การแสดงชนิดของนกที่ศูนย์พัฒนาและขยายพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด จ. แม่ฮ่องสอน

Publication date2001
Author(s)Sanitjan, S
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

ABSTRACT: การศึกษาองค์ประกอบของนกในชุมชนได้ดำเนินการที่ศูนย์พัฒนาและขยายพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด จ. แม่ฮ่องสอนตั้งแต่เดือนกันยายน 2542 ถึงเดือนสิงหาคม 2543 ประเภทของป่าในพื้นที่หินปูนนี้ ได้แก่...

77: ผลของชนิดภาชนะปลูก ปุ๋ย และการกำจัดรากโดยใช้อากาศต่อการผลิตต้นกล้า

Publication date2001
Author(s)Jitlam, N
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

ป่าไม้ในประเทศไทยได้หายไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุใหญ่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งถ้าปล่อยไว้ให้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ จะต้องใช้เวลานานมาก จึงควรหาวิธีที่จะช่วยเร่งระยะเวลาในการฟื้นฟูป่าให้เร็วขึ้น...

78: พืชพันธุ์และท่อลำเลียงของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุยภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2001
Author(s)Maxwell, J. F. & S. Elliott
PublisherBiodiversity Research and Training Program (BRT)
Format
Book

การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับดอยสุเทพของแมกซ์ส่งผลให้อาจได้คำอธิบายพรรณไม้และพืชพรรณที่สมบูรณ์ที่สุดของพื้นที่คุ้มครองใด ๆ ในประเทศไทย...

79: ผลของกิจกรรมต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพป่าต่อความหลากหลายของไม้พื้นล่างและกล้าไม้

Publication date2000
Author(s)Khopai, O.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นและการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยใน การฟื้นฟูสภาพป่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของไม้พื้นล่างและกล้าไม้หรือไม...

80: ผลของกิจกรรมการฟื้นฟูป่าต่อความหลากหลายของพืชพื้นล่างและกล้าไม้

Publication date2000
Author(s)Khopai, O
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Journal Paper

การศึกษานี้ดำเนินการเพื่อพิจารณาว่าการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำจัดวัชพืชและการให้ปุ๋ยในการฟื้นฟูป่า ช่วยเพิ่มความหลากหลายของพืชพื้นล่างและต้นกล้า...