โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน

nan project
Jan 01
2017
-
Dec 31
2024
ประเทศไทย,น่าน

 

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

1)โครงการวิจัยจากเขาหัวโล้นสู่ป่าฟื้นตัว: การเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกระดับภูมิทัศน์สำหรับการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน (From a bare mountain to a regenerated forest: comparing landscape planting design for forest restoration in Nan province) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในปี 2560 ถึง 2563

2)โครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้กับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน (Forest landscape restoration and community well-being) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในปี 2563 ถึง 2564

3)โครงการการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการบริการเชิงระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูจังหวัดน่าน (Evaluating changes and ecosystem services of Nan restored forests) ได้รับทุนสนับสนุนจากสวทช.ในปี 2564 ถึง 2565

โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 3 อำเภอ ได้แก่ ปัว ภูเพียง และเวียงสา อำเภอละ 3 แปลงรวมทั้งหมด 9 แปลง ในการฟื้นฟูจะเน้นการใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของจังหวัดน่านตามหลักการฟื้นฟูโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ในช่วงต้นของการเริ่มโครงการ จึงได้มีการสำรวจผืนป่าธรรมชาติซึ้งใช้เป็นป่าอ้างอิงสำหรับพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้ง 3อำเภอ ได้แก่ ป่าต้นน้ำน้ำแก่น-น้ำสา (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอภูเพียง) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้และมีผืนป่าชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ป่าชุมชนม่อนหินแก้ว (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอปัว) และป่าชุมชนบ้านม่วงเนิ้ง (ป่าอ้างอิงพื้นที่อำเภอเวียงสา)

โดยได้มีการสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นรวมถึงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าแต่ละแห่ง สำรวจความหลากชนิดของนกเก็บข้อมูลชีพลักษณ์ของพรรณไม้ท้องถิ่นในป่าทั้ง 3 แห่ง ต่อเนื่องถึง 3 ปี อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างให้กับคนในชุมชน ภายหลังจากการฟื้นฟูโดยใช้ชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและได้รับการคัดเลือกชนิดพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่แต่ละอำเภอแล้ว ได้มีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยให้กับกล้าไม้และทำแนวกันไฟ รวมถึงมีการติดตามผลความสำเร็จหลังการฟื้นฟูวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจากอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตหลังปลูก มีการวัดความหลากหลายของชุมชีพจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ คือมีการประเมินบริการจากระบบนิเวศของป่าฟื้นฟูหลากหลายด้าน อาทิการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตจากป่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการประเมินคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ฟื้นฟู ปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกโครงการยังคงช่วยกันดูแลผืนป่าฟื้นฟูให้เติบโตเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ต่อไป 

ร่วมมือกับ : 

next forest logo

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...

21: ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้สำหรับการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2020
Author(s)Pattraporn Damminset
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: สภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อปัจจัยแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ปัจจัยทางกายภาพบางประการมีอิทธิพลต่อระบบนิเวศป่าเขตร้อน...

22: ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือประเทศไทย

Publication date09 Apr 2020
Author(s)Nutchanok Kumsut
PublisherChiangmai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพ อาทิเช่นอุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน และความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งส่งผลให้ต้นไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการเจริญ...

23: การกลับเข้ามาของกล้าไม้ท้องถิ่นในป่าที่ถูกฟื้นฟู

Publication dateApr 2020
Author(s)Yingluck Ratanapongsai
PublisherUniversitas Hasanuddin, Indonesia
Format
Journal Paper

บทนำ: ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการตัดไม้ทำลายป่าเป็นที่น่ากังวลมากขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะในพื้นที่เทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตกรรมเกือบทั้งสิ้น...

24: ผลของการใช้อากาศกำจัดรากต่อการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างสำหรับฟื้นฟูป่าในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย

Publication date2020
Author(s)Chaiklang, P.
PublisherEnvironmental Science, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การฟื้นฟูป่าด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้างถือเครื่องมือสำคัญในการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ วิธีการนี้ต้องอาศัยกล้าไม้ที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด  ซึ่งถือเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักในการฟื้นฟูป่า...

25: วิธีการคัดเลือกพันธุ์จากลักษณะสำหรับการเพาะเมล็ดทางอากาศ

Publication date2020
Author(s)Beckman, N.G. & P. Tiansawat
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: พวกเรารวบรวม และสรุปงานวิจัยด้านระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเชิงทำงาน (functional traits) ที่สามารถช่วยในการคัดเลือกชนิดต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูด้วยการเพาะเมล็ดทางอากาศ...

26: พื้นฐานการระบุพืชแบบอัตโนมัติ  

Publication date2020
Author(s)Bonnet, P. & D. Frame
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทนำ: ในอดีตการระบุพันธุ์พืชแบบแบ่งขั้วแบบอิงตามภาพก่อนแบบข้อความเกือบหนึ่งร้อยปี หลังจากห่างหายไปนานกว่า 300 ปี...

27: การติดตามตรวจสอบแบบอัตโนมัติในการฟื้นฟูสัตว์ป่า

Publication date2020
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทนำ: การติดตามสัตว์ป่าระหว่างกระบวนการฟื้นฟูป่าได้ตอบคำถามอย่างเช่น สัตว์ป่าสายพันธุ์ใดที่จะย้ายหรือหายไปจากพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟู และมีจำนวนเท่าไหร่?...

28: ความหลากหลายพรรณไม้พื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟูเหมืองหินปูน บริษัทปูนซีเมนต์ (ลำปาง) จำกัด

Publication date2019
Author(s)Pornpawee Laohasom
PublisherChiang Mai University
Format
BSc Project

     ศึกษาสังคมพรรณไม้พื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟูหลังทำเหมืองหินปูนด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างในพื้นที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด...

29: ผลของอายุป่าฟื้นฟูต่อความหลากชนิดของสังคมพืช ไบรโอไฟต์อิงอาศัย

Publication date2019
Author(s)Chawengkul, P.
PublisherNaresuan University
Format
BSc Project

บทนำ: ปัจจุบันมีการฟื้นฟูป่าเพื่อทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดป่าฟื้นฟูที่มี ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากป่าธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายของไบรโอไฟต์ อิงอาศัยด้วยเช่นกัน...

30: อิทธิพลของวัชพืชต่อการรอดชีวิตและการเติบโตของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นในระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date24 Aug 2018
Author(s)Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: วัชพืชมักเป็นอุปสรรคต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยลดการตั้งตัวของต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่...