ความเสื่อมโทรมของป่า
ความเสื่อมโทรมของพื้นที่มี 5 ระดับกว้างๆ ซึ่งแต่ละระดับต้องใช้กลยุทธ์การฟื้นฟูที่แตกต่างกัน สามารถจัดจำแนกระดับความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้โดยพิจารณา 'เกณฑ์' ที่สำคัญ 6 ประการของความเสื่อมโทรม โดยสามปัจจัยเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในระดับพื้นที่และสามปัจจัยต้องพิจารณาจากภูมิทัศน์โดยรอบ
ปัจจัยจำกัดที่ต้องพิจารณาในระดับพื้นที่:
- ความหนาแน่นของต้นไม้ลดลงจนทำให้วัชพืชกลายเป็นพืชเด่น จนทำให้กล้าไม้ธรรมชาติไม่สามารถขึ้นได้
- ปริมาณของแหล่งของพรรณไม้ธรรมชาติในการฟื้นตัวของป่า เช่น ปริมาณเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ ตอไม้ที่ยังมีชีวิตหรือแม่ไม้ที่ให้เมล็ดได้ลดลงเกินกว่าจะสามารถรักษาประชากรของชนิดพันธุ์ที่มีอยู่เดิมได้
- หน้าดินถูกกัดเซาะจนถึงระดับที่กลายเป็นตัวจำกัดการงอกของเมล็ด
ปัจจัยจำกัดที่ต้องพิจารณาในระดับภูมิทัศน์:
- ป่าสมบูรณ์ที่เหลืออยู่ในภูมิทัศน์โดยรวมต่ำกว่าจุดที่สามารถรักษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ที่เป็นตัวแทนของป่าปฐมภูมิในระยะที่เมล็ดสามารถกระจายเข้าสู่พื้นที่ฟื้นฟูได้
- ประชากรของสัตว์ที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ลดลงจนไม่สามารถที่จะนำเมล็ดไม้เข้ามาในพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟูได้เพียงพอ
- ความเสี่ยงในการเกิดไฟสูง จนทำใหกล้าไม้ธรรมชาติไม่สามารถรอดชีวิตได้
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 1
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 1 | ปัจจัยภายในแปลง | ปัจจัยจากภูมิประเทศ |
---|---|---|
| พืช : ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมพืชชั้นล่าง แหล่งของการฟื้นตัว : เมล็ดในดินจำนวนมากและหนาแน่น เมล็ดตกในพื้นที่มาก และยังมีตอไม้ที่มีชีวิต ดิน : ถูกรบกวนเล็กน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่คงความอุดมสมบูรณ์ | ป่า :ยังมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งของเมล็ดพันธุ์ ตัวกระจายเมล็ด : พบได้ทั่วไปทั้งสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : ต่ำถึงปานกลาง |
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
ป้องกันการถูกรบกวนในอนาคตนำพืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่กลับเข้ามาใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่เป็นตัวการสำคัญในการผสมเกสรและกระจายเมล็ดพันธุ์
การนำชนิดพันธุ์ท้องถิ่นที่สูญพันธุ์กลับมาสู่พื้นที่อีกครั้ง
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 2
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 2 | ปัจจัยภายในแปลง | ปัจจัยจากภูมิประเทศ |
---|---|---|
| พืช: ต้นไม้ขึ้นปนกับพืชขนาดเล็ก แหล่งของการฟื้นตัว: เมล็ดและกล้าไม้ลดลง แต่พบตอไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่มาก ดิน: ส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์ ถูกกัดเซาะน้อย | ป่า : มีพอที่จะเป็นแหล่งให้เมล็ดพันธุ์ ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ใหญ่ค่อนข้างหายากแต่สัตว์เล็กพบอยู่ทั่วไป ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : ปานกลางถึงสูง |
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
ANR- ปกป้องป่าที่ยังคงเหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์ที่ช่วยกระจายเมล็ด
ปลูกต้นไม้บางชนิดของป่าปฐมภูมิเพื่อทดแทนหากต้นไม้ชนิดนั้นหายไป
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 3
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 3 | ปัจจัยภายในแปลง | ปัจจัยจากภูมิประเทศ |
---|---|---|
| พืช: พืชล้มลุกเป็นพืชเด่น แหล่งของการฟื้นตัว: ส่วนใหญ่มาจากเมล็ดที่ถูกนำเข้ามาในพื้นที่อาจมีลูกไม้และตอไม้ที่มีชีวิตอยู่บ้าง ดิน: ส่วนใหญ่คงความสมบูรณ์ถูกกัดเซาะน้อย | ป่า: มีเหลืออยู่เป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ขนาดเล็กที่นำพาเมล็ดขนาดเล็ก ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูง |
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
ปกป้องป่าที่เหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์กระจายเมล็ดพันธุ์ + ANR + วิธีการปลูกพรรณไม้โครงสร้าง 20-30 ชนิด
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 4
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 4 | ปัจจัยภายในแปลง | ปัจจัยจากภูมิประเทศ |
---|---|---|
| พืช: วัชพืชเป็นพืชเด่น แหล่งของการฟื้นตัว:: น้อย ดิน: ความเสี่ยงต่อการกัดเซาะเพิ่มมากขึ้น | ป่า: ขาดแหล่งให้เมล็ดพันธุ์ในระยะที่เมล็ดจะถูกนำเข้ามาได้ ตัวกระจายเมล็ด: สัตว์ใหญ่เกือบหมดไปจากพื้นที่ ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูง |
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
ปกป้องป่าที่เหลืออยู่และป้องกันไม่ให้เกิดการล่าสัตว์กระจายเมล็ดพันธุ์ + ANR + วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง + การปลูกเสริมด้วยพรรณไม้เสถียร
การปลูกต้นไม้โดยให้มีความหลากหลายสูงสุด เช่น วิธีการของ Miyawaki
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 5
การเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 5 | ปัจจัยภายในแปลง | ปัจจัยจากภูมิประเทศ |
---|---|---|
| พืช: ไม่มีต้นไม้ปกคลุม สภาพดินที่แย่จำกัดการขึ้นของวัชพืชต่างๆ แหล่งของการฟื้นตัว:: น้อยมาก ดิน: หน้าดินถูกกัดเซาะจนเสียสภาพ | ป่า: ขาดแหล่งเมล็ดพันธุ์บริเวณใกล้เคียง ตัวกระจายเมล็ด: กือบหมดไปจากพื้นที่ ความเสี่ยงในการเกิดไฟ : สูงมาก |
วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ:
ปรับปรุงสภาพดินโดยการปลูกพืชคลุมดิน และการเติมปุ๋ยหมัก ใสปุ๋ยหรือจุลินทรีย์สำหรับดิน
ตามด้วยการปลูกต้นไม้พี่เลี้ยง เช่น พืชเบิกนำตระกูลถั่ว
จากนั้นจึงทำการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นชนิดอื่นเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ