นิเวศวิทยาป่าไม้

นิเวศวิทยาป่าไม้

Language:

นิเวศวิทยาป่าไม้

การจำแนกประเภทของป่าเขตร้อนมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก ซึ่งได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ดิน องค์ประกอบของชนิดพันธุ์ โครงสร้าง หน้าที่ และระยะของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ประกอบด้วยป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี (รวมถึงป่าฝน) ป่าเขตร้อนตามฤดูกาล ป่าเขตร้อนที่แห้งแล้ง และป่าเขตร้อนบนภูเขา

Tropical forest in Thailand

การฟื้นตัวของป่า

การฟื้นตัวของป่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ดังนั้นความสำเร็จของกระบวนการนี้จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการส่งเสริมกลไกทางธรรมชาติของกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่นี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแทนที่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบภายในระบบนิเวศเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีลำดับและรูปแบบที่สามารถทำนายได้ กระบวนการดังกล่าวจะหยุดลงเมื่อระบบนิเวศเข้าสู่สภาวะเสถียร เมื่อป่ามีมวลชีวภาพสูงสุด โครงสร้างของป่ามีความซับซ้อน และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ลักษณะของระบบนิเวศขั้นสุดท้ายในแต่ละพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดินและภูมิอากาศเป็นหลัก

ป่าเสถียรเขตร้อนเป็นระบบที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นระบบที่มีสมดุลที่ไม่หยุดนิ่งซึ่งมีการรบกวนและการกลับคืนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่องว่างของป่าเกิดขึ้นเมื่อต้นไม้ใหญ่ล้มหรือตายลง แต่ช่องว่างนั้นจะถูกเติมเต็มอย่างรวดเร็วด้วยกล้าไม้และต้นกล้าเล็กๆที่จะเติบโตเมื่อได้รับแสง

Diagram showing climax vegetation progressionการทำความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของป่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบวิธีการฟื้นฟูป่าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปกติ การฟื้นฟูป่าพยายามที่จะขจัดปัจจัยต่างๆ ที่ขัดขวางกระบวนการการเปลี่ยนแปลงแทนที่ตามธรรมชาติของป่า

การฟื้นตัวของป่าในพื้นที่เสื่อมโทรม

การตั้งตัวของต้นไม้ป่ามักขึ้นอยู่กับความพร้อมของแหล่งเมล็ดที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ และการกระจายของเมล็ดเข้ามาในพื้นที่เสื่อมโทรม เมล็ดจะต้องตกลงสู่จุดที่มีสภาวะเหมาะสมสำหรับการงอก รวมไปถึงสามารถหลบเลี่ยงความสนใจของสัตว์ที่เป็นตัวกินเมล็ด ซึ่งเรียกสัตว์เหล่านั้นว่า “ผู้ล่าเมล็ด” หากเมล็ดสามารถงอกได้ ต้นกล้าเล็กๆเหล่านั้น จะต้องชนะการแข่งขันที่รุนแรงกับวัชพืชเพื่อให้ได้แสง ความชื้น และสารอาหาร นอกจากนี้ ต้นกล้าเหล่านั้นต้องรอดจากการถูกเผาโดยไฟป่าหรือถูกกินโดยปศุสัตว์ (เช่น วัว หรือควาย) ที่อาจเจอได้ในพื้นที่อีกด้วย

Illustration showing how succession proceeds rapidly in tree-fall gaps within intact forest. ในพื้นที่ป่าธรรมชาติเมื่อมีช่องว่างเกิดขึ้นจากต้นไม้ล้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่อย่างรวดเร็ว ต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง (A) จะเป็นแหล่งผลิตเมล็ดที่สำคัญ (B) สัตว์ที่ทำหน้าที่กระจายเมล็ดยังมีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ารอบ ๆ (C) ต้นไม้ที่กิ่งฉีก (D) หรือหักโค่น (E) แตกยอดขึ้นมาใหม่ (F) และลูกไม้ (G) ซึ่งเคยอยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่เจริญได้เร็วขึ้นเนื่องจากได้รับแสงเต็มที่ (H) เมล็ดที่ฝังตัวอยู่ในดินมีโอกาสที่จะงอกขึ้นมาได้ ต่างจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลายเป็นบริเวณกว้างด้วยน้ำมือมนุษย์ ซึ่งกลไกการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่ามักถูกทำลายไป