ป่าเขตร้อนสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าที่ปล่อยออกมาจากการหายใจ งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ระบุปริมาณ 'แหล่งกักเก็บคาร์บอน' ที่ประมาณ 1.3 กิกะตันคาร์บอน (GtC) ต่อปี เทียบเท่ากับ 16.6% ของการปล่อยคาร์บอนจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมกัน คิดเป็น 60% ของแหล่งกักเก็บที่พืชพรรณบนบกทั้งหมดสามารถรองรับได้ แม้ว่าการฟื้นฟูป่าไม่ได้ช่วยให้ภาวะโลกร้อนลดลง แต่ก็อาจช่วยชะลอความเร็วได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ควรมีการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนมาเป็นมาเป็นแบบที่มีการปล่อยเป็นศูนย์มากขึ้น
ประมาณ 47% ของมวลชีวภาพของต้นไม้มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากการกักเก็บคาร์บอนในป่าเป็นบริการทางระบบนิเวศที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ในแง่ของการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จึงคุ้มค่ากับเงินจำนวนมากที่จ่ายในรูปแบบของ "คาร์บอนเครดิต" ตัวอย่างเช่นการศึกษาของ กัลยารัตน์ จันทวงศ์ ที่แสดงให้เห็นว่ากำไรจากคาร์บอนเครดิต ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง อาจมีค่ามากกว่าผลกำไรจากการเพาะปลูกข้าวโพดถึง 16 เท่า ... หากเกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง ดังนั้น คาร์บอนเครดิตจึงไม่เพียงแต่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงจูงใจในส่วนของค่าตอบแทนแก่คนในท้องถิ่น ให้เปลี่ยนจากรูปแบบการทำการเกษตรกรรมที่สร้างความเสียหายเป็นการทำป่าไม้ที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปกป้องพื้นที่ต้นน้ำและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจ่ายคาร์บอนเครดิตขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ถูกเก็บสะสมไว้ ดังนั้น การวัดปริมาณกักเก็บคาร์บอนในช่วงที่มีการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
เป็นที่ทราบกันดีถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของต้นไม้กับปริมาณคาร์บอนที่พวกมันเก็บไว้ ซึ่งถูกแสดงออกมาในรูปแบบของ "allometric equations " ดังนั้น การหาปริมาณคาร์บอนในต้นไม้ จึงต้องมีการวัดเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้ แล้วป้อนข้อมูลเข้าไปในสมการ allometric equations การเพิ่มข้อมูลความหนาแน่นของเนื้อไม้ จะเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณเป็นอย่างมาก สำหรับภาคเหนือของประเทศไทย ฐิตินันท์ โพธิ์ทอง ได้พัฒนาสมการ allometric ใหม่ เฉพาะสำหรับชนิดต้นไม้และสภาพภูมิอากาศของภาคเหนือ แต่สำหรับพื้นที่อื่นๆ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนะนำให้ใช้สมการทั่วไป ได้เช่นกัน
คาร์บอนยังถูกสะสมอยู่ในดิน เมื่อต้นไม้เติบโต ทิ้งใบ และตายไป ณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก ได้พัฒนาวิธีการที่แม่นยำในการวัดสิ่งเหล่านี้ รวมถึงสมการในการทำนายคาร์บอนลงไป 2 เมตรจากผิวดิน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างดินใกล้พื้นผิว
รายละเอียดทั้งหมดของวิธีการวัดการสะสมคาร์บอนในช่วงที่มีการฟื้นฟูป่าอย่างละเอียด ที่นี่ .