หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ความรู้และการบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในงานฟื้นฟูป่าในการทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจรวมถึงคอร์สอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการเยี่ยมสถานที่เวลานาน โดยใช้ตำรา และแหล่งความรู้อื่นๆ ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปของผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม (เช่น ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชนท้องถิ่น ครู เด็กนักเรียน และอื่นๆ)
ทีมการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
เมื่อผู้เข้าอบรมมีความคุ้นเคยกับองค์ความรู้ของหน่วยงานแล้ว จึงเริ่มออกแบบหลักสูตรการสอนที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปของผู้เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูป่าแต่ละกลุ่ม หลักสูตรอาจมีกิจกรรมดังนี้
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอแนวคิดหลักในการฟื้นฟูป่า พร้อมกับเทคนิค และผลลัพธ์;
- การอบรมลึกซึ้งคั้นต่อไปเรื่องแนวปฏิบัติแบบอย่างในการฟื้นฟูป่าสำหรับผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรือนเพาะชำและโครงการปลูกพืช;
- การเยี่ยมอยู่ระยะยาวที่ไซท์งานโครงการฟื้นฟูป่า ด้วยจุดประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่ผู้ดำเนินโครงการโดยตรง;
- เป็นเจ้าภาพให้แก่ผู้สนใจเข้าชมหน่วยงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์ ผู้บริจาค นักข่าว เป็นต้น;
- ช่วยดูแลโครงการวิทยานิพนธ์;
- นำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม
อุปกรณ์การศึกษา
สำหรับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว การตีพิมพ์ข้อมูลและผลงาน เป็นวิธีการเผยแพร่ความรู้ที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการ เขียนและตีพิมพ์ก็ประกอบไปด้วยการรับฟังคำปรึกษาและข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำเช่นนี้เพิ่มประสิทธิภาพผลงานของหน่วยงาน และทำให้ความรู้ที่เผยแพร่ไปนั้นมีประโยชน์ต่อชาวบ้านสูงสุด นอกจากนี้ยังเป็นการคำนึงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านอีกด้วย ตัวอย่างงานตีพิมพ์ ได้แก่
- แผ่นพับและเอกสารประกอบคำบรรยาย:
- เป็นประโยชน์ต่อพนักงานของหน่วยงาน และผู้เข้ารับชม โดยเฉพาะผู้ให้ทุนปัจจุบัน และผู้ที่มีความสนใจให้ทุน
- ควรให้ข้อมูลกระชับความ และช่วยประชาสัมพันธ์หน่วยงาน
- เมื่อโครงการวิจัยพัฒนาขึ้น ควรมีการผลิตเอกสารทางเทคนิคเพิ่มเติม เช่น เอกสารข้อมูลชนิดพันธุ์และตารางการผลิต
- คู่มือปฏิบัติ:
- คู่มือนี้ทำหน้าที่เป็นตำราสำหรับการฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูป่า พนักงาน และ ผู้เยี่ยมชม
- ควรเขียนถึง ก) หลักการและเทคนิคพื้นฐานในการฟื้นฟูป่า ข) คำอธิบายของประเภทป่าที่ประสงค์ และ ค) ลักษณะและวิธีการขยายพันธุ์ของต้นไม้ที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับโครงการฟื้นฟู
- เอกสารงานวิจัยและผู้อ่านจากต่างประเทศ:
- เผลแพร่ผลการวิจัยสู่ผู้อื่นในวงการ พร้อมกับส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร การอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิด และ การเข้ารับชม
- ช่วยนักวิจัยคนอื่น ๆ ในการพัฒนาโครงการวิจัยของตนเอง