เกี่ยวกับองค์กร

เกี่ยวกับองค์กร

การกำหนดการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้

Language:

เกี่ยวกับองค์กร

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการรวมกลุ่มนักนิเวศวิทยาและนักศึกษาของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ โดยมีพันธกิจในการศึกษาวิจัยเทคนิค วิธีการในการฟื้นฟูป่่าและระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมรวมถึง การศึกษาความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนของป่าฟื้นฟู หน่วยวิจัยฯมีการเผยแพร่การศึกษา เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และมีการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ โดยมีพื้นฐานข้อมูลความรู้จากงานวิจัยของหน่วยวิจัยฯให้กับผู้สนใจและองค์กรต่างๆที่สนใจงานด้านการฟื้นฟูป่า 

ปรัชญาองค์กรคือป่าเขตร้อนสามารถฟื้นฟูได้  แต่สิ่งสำคัญต้องเน้นการวิจัยด้านนิเวศวิทยา เพื่อเป็นฐานความรู้เมื่อระบบนิเวศนั้นได้รับผลกระทบจากการทำลายป่า หน่วยวิจัยฯมีส่วนร่วมกับชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าหรือใกล้กับเขตป่า เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เราเชื่อว่าหากคนในพื้นที่ได้รับความรู้และการสนับสนุนด้านเทคนิค รวมถึงการมีส่วนร่วมโดยตรงในทุกด้านของการฟื้นฟูป่า ตั้งแต่การวางแผนการเพาะกล้าไม้ การปลูกป่า ไปจนถึงการติดตามดูแลป่า พวกเขาจะมีความรู้สึกที่หวงแหนและอยากดูแลโครงการฟื้นฟูป่า และจะทำให้ลดการตัดไม้ทำลายป่าในอนาคต

พื้นที่หลักในการทำงานคือประเทศไทย นอกจากจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้จัดตั้งหน่วยวิจัยฯในจังหวัดอื่นๆ เช่นจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดกระบี่ ตามแบบแผนของหน่วยวิจัย อีกทั้งยังเผยแพร่ความรู้และหลักการวิจัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศกัมพูชา เพื่อร่วมพัฒนาด้านเทคนิคการและวิธีการฟื้นฟูป่า รวมถึงการวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ 

เราได้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่มีความสนใจด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศ ตั้งแต่ชุมชน โรงเรียน องค์กรต่างๆในประเทศไทยและองค์กรการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ เช่น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และ องค์กรนานาชาติด้านการอนุรักษ์ (WWF) เป็นต้น

Before and after forest restoration illustrationระบบนิเวศป่าเขตร้อนสามารถฟื้นฟูได้ด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ จากภาพแปลงฟื้นฟูนี้อยู่ในพื้นที่บ้านแม่สา ภาคเหนือของประเทศไทย ที่ทำการปลูกพรรณไม้โครงสร้าง 30 ชนิด ในปีพ.ศ.2543 และสามารถฟื้นฟูเป็นป่าดิบเขาภายใน 10 ปี

หน่วยวิจัยฯเป็นห้องปฏิบัติการวิจัย ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในแต่ละปี คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้การสนับสนุนทุนการวิจัย รวมถึงพื้นที่สำนักงานและการดำเนินการต่างๆ นอกจากนั้นหน่วยวิจัยฯ ยังได้รับทุนวิจัยจากโครงการต่างๆ ภาครัฐฯ ภาคเอกชน รวมถึงการบริจาค (ท่านสามารถคลิกที่โลโก้พันธมิตร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สนับสนุนปัจจุบันของเรา)