FORRU
ห้องสมุด

ฟังใจในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิด: พวกเขาเป็นใครและทำอะไรได้บ้าง

Language:
ฟังใจในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิด: พวกเขาเป็นใครและทำอะไรได้บ้าง
Date:
2022-09-20
Author(s):
Sansupa, C.; Purahong, W.; Nawaz, A.; Wubet, T.; Suwannarach, N.; Chantawannakul, P.; Chairuangsri, S.; Disayathanoowat, T.
Publisher:
Fungi
Serial Number:
261
Suggested Citation:

Sansupa, C.; Purahong, W.; Nawaz, A.; Wubet, T.; Suwannarach, N.; Chantawannakul, P.; Chairuangsri, S.; Disayathanoowat, T. Living Fungi in an Opencast Limestone Mine: Who Are They and What Can They Do? J. Fungi 20228, 987. https://doi.org/10.3390/jof8100987

บทคัดย่อ: เหมืองหินปูนแบบเปิดถูกจัดอยู่ในประเภทพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมสูง เนื่องจากไม่มีพืชปกคลุม มีอุณหภูมิอากาศสูงและถูกแสงแดดส่องเป็นเวลานาน  นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุ ความชื้น และธาตุอาหารในดินต่ำ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าสภาพพื้นที่ของเหมืองหินปูนมีความท้าทายต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามฟังใจบางชนิดสามมารถดำรงชีวิต และอาจจะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวได้ การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจชนิดและหน้าที่ของฟังใจดินในพื้นที่เหมืองหินปูน จ. ลำปาง โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเชื้อแบบดั่งเดิมร่วมกับการทำ amplicon sequencing ของเชื้อที่ขึ้นบนอาหารเลี้ยงเชื้อ  เพื่อเปรียบเทียบชนิดของฟังใจดินในพื้นที่เหมืองหินปูน แปลงฟื้นฟูภายในเหมือง (แปลงอายุ 9 เดือน) และป่าอ้างอิง จากการศึกษาพบว่าดัชนีความมากชนิด (species richness) ของฟังใจภายในพื้นที่เหมืองมีค่าน้อยกว่าป่าอ้างอิงอย่างมีนัยสำคัญ ในทางเดียวกันองค์ประกอบชุมชีพ (community composition) ของฟังใจภายในเหมือง และป่าฟื้นฟูก็มีความแตกต่างไปจากองประกอบชุมชีพของฟังใจในป่าอ้างอิง ฟังใจที่พบในเหมืองโดยส่วนมากจัดอยู่ในไฟลัม Ascomycota (อันดับ: Eurotiomycetes and Sordariomycetes) เมื่อเปรียบเทียบกับป่าอ้างอิงความชุกชุม (abundance) ของฟังใจในไฟลัม Basidiomycota and Mucoromycota ลดลงอย่างเห็นได้ชัดและฟังใจบางชนิดในไฟลัมดังกล่าว อาจจะหายไปจากพื้นที่ ในแปลงฟื้นฟูอายุ 9 เดือนพบการเข้ามาของฟังใจบางชนิด เช่น Hypoxylon spp. and Phellinus noxius อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชุมชีพของฟังใจในพื้นที่เหมืองและแปลงฟื้นฟูดังกล่าว เมื่อศึกษาหน้าที่ของฟังใจด้วยเครื่องมือทาง Bioinformatic พบว่าฟังใจในพื้นที่เหมืองและแปลงฟื้นฟูส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่แบบ saprotroph โดยสามารถผลิตเอนไซม์ต่างๆ ที่มีความสำคัญในดิน การศึกษาโดยใช้ Network analysis พบว่าฟังใจในเหมืองมีการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบเป็น modular โดยแต่ละ modular มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติในดินแตกต่างกัน ทั้งนี้การศึกษานี้เสนอชนิดของฟังใจที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เหมืองได้ในอนาคต