เกาะต้นไม้ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบในภูมิทัศน์ปาล์มน้ำมัน
Zemp, D. C., N. R. Guerrero-Ramírez, F. Brambach, K. Darras, I. Grass, I. Potapov, A. Röll, I. Arimond, J. Ballauff, H. Behling, D. Berkelmann, S. Biagioni, D. Buchori, R. Craven, R. Daniel, O. Gailing, F. Ellsäßer, R. Fardiansah, N. Hennings, B. Irawan, W. Khokthong, V. Krashevska, A. Krause, J. Kückes, K. Li, H. Lorenz, M. Maraun, M. Merk, C. C. Melo Moura, Y. Mulyani, G. Paterno, H. Pebrianti, A. Polle, D. A. Prameswari, L. Sachsenmaier, S. Scheu, D. Schneider, S. Fitta, C. Setyaningsih, L. Sundawati, T. Tscharntke, M. Wollni, D. Hölscher & H. Kreft. 2023. Tree islands enhance biodiversity and ecosystem functioning in oil palm landscapes. Nature. https://doi.org/10.1038/s41586-023-06086-5
บทคัดย่อ: ในทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติองค์ความรู้ด้านวิธีเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบนิเวศในภูมิภาคเขตร้อนของพืชเศรษฐกิจยังคงไม่ได้รับการพัฒนา งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการทดลองฟื้นฟูระบบนิเวศในสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นระบบวนเกษตรในภูมิทัศน์ของปาล์มน้ำมันที่เรียกว่าเกาะต้นไม้ (Tree island) จำนวน 52 เกาะ และทำการศึกษาตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพ 10 ด้าน และตัวบ่งชี้การทำงานของระบบนิเวศ 19 ด้าน โดยรวมแล้วในเกาะต้นไม้แสดงให้เห็นถึงตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพ การทำงานของระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายของระบบนิเวศที่มีค่าสูงกว่าพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันที่มีวิธีการจัดการแบบปกติ พื้นที่ของเกาะต้นไม้ที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพืชพรรณ นอกจากนี้ การเพิ่มของความสมบูรณ์ของชนิดพันธุ์ไม้ในบริเวณเกาะต้นไม้ไม่ได้ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง จึงเป็นที่แน่ชัดว่า กลยุทธ์หนึ่งของการฟื้นฟูระบบนิเวศในสวนปาล์มน้ำมัน คือ การมีเกาะต้นไม้ แต่ไม่ควรเลือกใช้วิธีการนี้ทดแทนการปกป้องพื้นที่ป่าไม้