ความหลากหลายของชุมชีพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในพื้นที่ฟื้นฟูป่าของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า
Thaiying, J., 2003. The Diversity of Small Mammal Communities in FORRU's Reforested Sites. BSc Special Project. Chiang Mai University.
เจนภพ ไทยยิ่ง นักศึกษาปริญญาตรีของเราได้นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในระยะเริ่มต้นของการฟื้นฟูป่า ในการศึกษาก่อนหน้าของ FORRU นักศึกษาปริญญาตรีอีกคนหนึ่ง สมยศ เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ ได้เสนอถึงภาพรวมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศทั้งป่าดิบและผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย - ชนิดที่เป็นดัชนีชี้วัดการฟื้นตัวของชุมชีพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เมื่อมีการฟื้นฟูป่า
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของการฟื้นฟูป่าในระยะแรกต่อชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก การสำรวจได้ดำเนินการในป่าที่ได้รับการฟื้นฟูโดยวิธีการพรรณไม้โรงสร้าง อายุ 2 ปี และ 4 ปี และในแปลงที่ไม่ได้ปลูก ซึ่งตั้งอยู่เหนือหมู่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ระดับความสูง 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล) มีการปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด ในวงศ์มะเดื่อ (Moraceae; Ficus spp.) วงศ์ถั่ว (Leguminosae) และ วงศ์ก่อ (Fagaceae) มีการสำรวจ 3 รูปแบบ ได้แก่: 1) วางกับดักสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2) การสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องถิ่นและ 3) การสำรวจร่องรอยสัตว์ โดยได้ทำการวางกับดัก 3 ช่วงเวลา จำนวน 6 คืน ในเดือนเมษายน พฤษภาคม และตุลาคม โดยใช้วิธีทำเครื่องหมายและจับซ้ำ (mark-recapture method) ผลการศึกษา พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก 7 ชนิด ได้แก่ หนูขนเสี้ยนดอย (Rattus bukit) หนูท้องขาว (Rattus rattus) หนูท้องขาวหางยาว (Rattus koratensis) หนูฟาน (Rattus surifer) หนูจี๊ด (Rattus exulans) หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (Mus pahari) และ หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (Mus shortridgei) การสัมภาษณ์ระบุว่ามีสมาชิกจาก 6 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ลิ่น (Manidae) วงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) วงศ์กระต่าย (Leporidae) วงศ์สัตว์กีบคู่ (Suidae) วงศ์กระรอก (Sciuridae) และวงศ์กระแต (Tupaiidae) ในการสำรวจร่องรอยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้พบอุจจาระของสัตว์ที่อยู่ในวงศ์กระต่าย และวงศ์ชะมดและอีเห็น นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกระรอก (Tupaiidae) และกะโหลกของหนูผีหางหมู (Hylomys suillus)ในแปลง จากการใช้ข้อมูลกับดัก แปลงควบคุมมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำนวนมากที่สุด พบสัตว์จำนวนน้อยกว่าในแปลงปี 1998 และ 2000 ซึ่งอาจเกิดจากการรบกวนจากกิจกรรมการฟื้นฟู เช่น การกำจัดวัชพืช เนื่องจากแปลงฟื้นฟูอยู่ห่างออกมาจากป่าธรรมชาติอาจทำให้อัตราการจับและความมากชนิดต่ำกว่าที่เคยรายงานในป่าธรรมชาติที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง