ผลของแสงในพื้นที่ย่อยต่อการรอดและการเติบโตของพืชพรรณธรรมชาติชั้นใต้เรือนยอดในระหว่างการฟื้นฟูของป่าเขตร้อนตามฤดูกาลในพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย
Sangsupan, H., D.E. Hibbs, B.A.Withrow-Robinson & S. Elliott, 2021. Effect of microsite light on survival and growth of understory natural regeneration during restoration of seasonally dry tropical forest in upland northern Thailand. For. Ecol. Manag. 489 119061
บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (FSM) เป็นการปลูกผสมผสานกันของต้นไม้ป่าที่เป็นชนิดท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นหรือส่งเสริมการฟื้นตัวตามธรรมชาติและเร่งการกลับคืนของความหลากหลายของพรรณไม้ภายใต้เรือนยอดในบริเวณป่าเขตร้อน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับกล้าไม้ที่งอกใหม่ตามธรรมชาตินั้นมีน้อย และยังขาดความเข้าใจว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการคงอยู่และการเจริญเติบโตของต้นกล้าอย่างไร ดังนั้น เราจึงทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแสงของพื้นที่ย่อย (Microsite light availability) กับการอยู่รอดและการเจริญเติบโตในช่วงระยะเวลาสองปีของกล้าไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติในแปลงทดลอง FSM อายุ 11 ถึง 14 ปี ซึ่งได้สร้างขึ้นเพื่อฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่แห้งแล้งตามฤดูกาล (SDTF) ในพื้นที่สูงทางตอนเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้เรายังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของต้นกล้า การเจริญเติบโต กลุ่มของต้นไม้ตามการเปลี่ยนแปลงแทนที่ (Successional guild) และวิสัยของใบ (Leaf habit) เราได้สุ่มตัวอย่างกล้าไม้จาก 13 ชนิด ซึ่งเป็นตัวแทนของ Successional guild (ชนิดที่โตไว (Pioneer) อยู่กลางๆ (Intermediate) และชนิดที่โตและครอบครองพื้นที่ได้ช้า (Late successional)) และวิสัยของ (ไม่ผลัดใบและผลัดใบ) ทั้งต้นกล้าของ "ชนิดที่อยู่เหนือชั้นเรือนยอด (Overstory species)" เป็นชนิดที่ถูกปลูกเพื่อการฟื้นฟูและ “ชนิดพันธุ์ใหม่ (Re-colonizing species)" ที่ถูกนำเข้ามาจากภายนอกโดยการกระจายเมล็ด
สำหรับ 72% ของต้นกล้าที่ถูกสุ่มตัวอย่างอย่างสามารถรอดชีวิตได้ภายในช่วงเวลาสองปี ต้นกล้า 10 ชนิดมีอัตราการรอดชีวิตในช่วงสองปีสูง (≥69%); ในขณะที่ 3 ชนิดเป็นต้นไม้ที่โตไวและผลัดใบมี (Deciduous pioneer species) การรอดชีวิตต่ำ (<50%) ต้นที่โตไวและผลัดใบมีโอกาสรอดน้อยกว่าต้นไม้ในกลุ่มอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) Microsite light availability เฉลี่ย คือ 11% ของแสงแดดปกติ ทั้งนี้การอยู่รอดไม่เกี่ยวข้องกับ microsite light availability ซึ่งชี้ให้เห็นว่าต้นกล้าส่วนใหญ่สามารถทนต่อช่วงของระดับแสงใต้ชั้นเรือนยอดได้ ทั้งอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ของความสูง (RGRH) และเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น (RGRD) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามระดับแสงในพื้นที่ย่อย (p < 0.001) สิ่งนี้บ่งชี้ว่าต้นกล้ามีความไวต่อการเพิ่มขึ้นของแสงใต้ชั้นเรือนยอด และแสงนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการสร้างใหม่และการรวมตัวของชุมชีพ SDTF ระหว่างการฟื้นฟู ยังไม่มีแบบจำลองใดที่อธิบายความแปรปรวนของ RGRH (R2 m= 0.230) หรือ RGRD (R2 m= 0.138) อย่างครบถ้วน ซึ่งบ่งชี้ว่ามีปัจจัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่สำคัญต่อการเติบโตที่ยังไม่ได้นำมาพิจารณา
การอยู่รอดที่สูงของต้นกล้าในช่วง 2 ปี แสดงให้เห็นว่าภายใน 14 ปีของการใช้ FSM สภาพแวดล้อมภายใต้ชั้นเรือนยอดเพียงพอสำหรับการฟื้นตัวของพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด การเกิดใหม่ของชนิดต่างๆ เป็นการยืนยันรายงานก่อนหน้านี้ว่า วิธีการฟื้นฟูแบบ FSM ส่งเสริมการเกิดใหม่ของความหลากหลายของชนิดต้นไม้ในชุมชีพนั้นๆ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการสร้างช่องว่างระหว่างต้นหรือเรือนยอดไม้ เพื่อเพิ่มระดับแสงอาจเร่งการเจริญเติบโตของกล้าไม้ แต่ไม่มีความจำเป็นสำหรับการงอกใหม่ของชนิดที่ศึกษา นอกจากนี้การปลูกเสริมหรือการหยอดเมล็ดสำหรับชนิดที่เป็น intermediate และ late-successional จะช่วยเร่งกระบวนการกลับคืนความหลากหลายในระบบนิเวศได้อีกด้วย ทั้งนี้ควรทำก่อนที่เรือนยอดจะปิดและก่อนที่ต้นไม้ที่ปลูกไว้จะมีการผลิตผลหรือเมล็ด ซึ่งจำทำให้ชนิดที่เพิ่มเข้าไปได้เปรียบในการแข่งขันเหนือต้นกล้าของชนิดที่เป็นชั้นเรือนยอด