FORRU
ห้องสมุด

แบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะสำหรับการทำแผนที่ศักยภาพในการกระจายตัวของพรรณไม้โครงสร้างสี่ชนิด: เพื่อการวางแผนการฟื้นฟูป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในเอเชีย

Language:
แบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะสำหรับการทำแผนที่ศักยภาพในการกระจายตัวของพรรณไม้โครงสร้างสี่ชนิด: เพื่อการวางแผนการฟื้นฟูป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในเอเชีย
Date:
2022-06-24
Author(s):
Tiansawat, P.; Elliott, S.D.; Wangpakapattanawong, P.
Publisher:
Forests
Serial Number:
254
Suggested Citation:

Tiansawat, P.; Elliott, S.D.; Wangpakapattanawong, P. Climate niche modelling for mapping potential distributions of four framework tree species: Implications for planning forest restoration in Tropical and Subtropical Asia. Forests 2022, 13, 993. https://doi.org/10.3390/f13070993

บทคัดย่อ: การคัดเลือกพันธุ์ไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่ามีความสำคัญแต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ การทราบถึงภูมิอากาศที่เฉพาะสำหรับพรรณไม้สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวยังคงมีอย่างจำกัดสำหรับพรรณไม้ในเขตร้อน ดังนั้น งานวิจัยที่นำเสนอนี้จึงได้ทำการศึกษาการใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศและตำแหน่งของชนิดพันธุ์ที่เคยถูกบันทึกไว้ เพื่อทำแผนที่ศักยภาพในการกระจายของต้นไม้ทั้ง 4 ชนิด ทั่วเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในทวีปเอเชีย โดยพิจารณาจากแบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะ (climatic niches model) ทุกชนิดที่ทำการศึกษาเป็นพรรณไม้โครงสร้างที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูป่า ได้แก่ มะกัก (Choerospondias axillaris (Roxb.) B.L. Burtt and A.W. Hill) มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida L.f.) หมอนหิน (Hovenia dulcis Thunb.) และนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides Buch.-Ham. ex D. Don) ศักยภาพในการการกระจายของชนิดเหล่านี้ได้แสดงออกมาในรูปแผนที่ของสภาพภูมิอากาศที่รู้จักโดยใช้ maximum entropy algorithm ในซอฟต์แวร์ Maxent เพื่อคาดการณ์ว่าสภาพอากาศเอื้อต่อการนำพรรณไม้แต่ละชนิดไปปลูกเพื่อการทดลองฟื้นฟูป่าเพียงใด จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองทำนายตำแหน่งของมะเดื่อปล้องและหมอนหินได้ดีที่สุด และค่อนข้างดีสำหรับนางพญาเสือโคร่งและมะกัก พื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับมะกัก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่มะเดื่อปล้อง หมอนหินและนางพญาเสือโคร่ง กระจายออกไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ความสำคัญของตัวแปรเฉพาะทางภูมิอากาศแตกต่างกันไปตามชนิด ซึ่งพบว่า ปริมาณน้ำฝนในเดือนที่อากาศแห้งที่สุดมีความสำคัญต่อมะเดื่อปล้อง เช่นเดียวกับอุณหภูมิหน้าแล้งเฉลี่ยที่มีผลต่อมะกักและนางพญาเสือโคร่ง และปริมาณน้ำฝนในฤดูหนาวมีผลต่อหมอนหิน นอกเหนือจากการช่วยคัดเลือกชนิดพันธุ์เพื่อการฟื้นฟูป่าแล้ว แผนที่ศักยภาพในการกระจายตามแบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะสามารถระบุได้ว่าชนิดพันธุ์สำหรับการปลูกป่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จเพียงใดและที่ใดที่ชนิดพันธุ์เหล่านั้นอาจกลายเป็นชนิดที่รุกรานได้ ทั้งนี้ การนำเทคนิคดังกล่าวไปปรับใช้กับชนิดพันธุ์ที่หลากหลายมากขึ้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการพัฒนาแบบจำลองการคัดเลือกชนิดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น