คำแนะนำ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะปลูกป่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการฟื้นฟูพื้นที่เสิ่อมโทรม ระดับที่ 3 ถึง 5 (ดูการเสื่อมโทรมของป่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการตัดสินใจว่าชนิดพันธุ์ใดตรงตามเกณฑ์ของ "พรรณไม้โครงสร้าง" และ/หรือชนิดพันธุ์พี่เลี้ยง เราขอแนะนำวิธีการกึ่งเชิงปริมาณอย่างง่ายสองวิธีเพื่อความสะดวกในกระบวนการคัดเลือกชนิด: วิธีการ ‘การใช้มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum standards)' และ 'ดัชนีความเหมาะสม (suitability index)' ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของระบบการจัดอันดับการให้คะแนนแบบสัมพัทธ์ อาจใช้ได้อย่างอิสระหรือควบคู่กัน เช่น การใช้มาตรฐานขั้นต่ำเพื่อสร้างรายการสั้นๆ ของชนิดพันธุ์ แล้วจัดอันดับในภายหลังโดยใช้ดัชนีความเหมาะสมที่สัมพัทธ์ ทั้งสองวิธีนี้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกันยังคงความยืดหยุ่นซึ่งจำเป็นเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของโครงการต่างๆ

Gmelina arborea Roxb.
ซ้อ (Gmelina arborea Roxb.)

การใช้มาตรฐานขั้นต่ำที่ยอมรับได้ของการทดสอบประสิทธิภาพในภาคสนาม

เกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพในภาคสนามที่สำคัญที่สุด คือ อัตราการรอดตายของต้นกล้าหลังปลูก ไม่ว่าต้นกล้าชนิดนั้นจะมีเกณฑ์ด้านอื่นๆดีเพียงใด ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะปลูกต่อไปหากอัตราการรอดตายหลังจาก 2 ปีลดลงต่ำกว่า 50% ทั้งนี้อาจพิจารณาร่วมกับมาตรฐานขั้นต่ำอื่นๆ ที่พอยอมรับได้ คือ อัตราการเติบโต ความกว้างของทรงพุ่มหรือเรือนยอดซึ่งช่วยจำกัดการปกคลุมของวัชพืช อย่างไรก็ตามคุณสมบัติทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ความสามารถในการรอดของต้นกล้าทั้งสิ้น

ข้อมูลสำหรับการพิจารณาคัดเลือกชนิด ได้จากการบันทึกข้อมูลในภาคสนาม 18-24 เดือน หลังจากการปลูก (ปลายฤดูฝนที่สองสำหรับป่าตามฤดูกาล)

ตัวอย่าง: การใช้มาตรฐานขั้นต่ำสามมาตรฐานกับข้อมูลประสิทธิภาพในภาคสนามที่ถูกเก็บรวบรวมเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนที่สองหลังการปลูก

  • การรอดของต้นกล้า >50%
  • ความสูง >1 เมตร (เนื่องจากควรปลูกต้นกล้าเมื่อสูง 30-50 ซม. ซึ่งหมายถึงความสูงที่มากกว่าสองเท่า)
  • ความกว้างของเรือนยอด >90 ซม. (นั้นหมายความว่าเรือนยอดมีความกว้างมากกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างที่ต้องการเพื่อให้เรือนยอดของต้นไม้ปิดกันพอดีที่ระยะห่างระหว่างต้นไม้ 1.8 ม. (เทียบเท่า 3,100 ต้นต่อเฮกตาร์))

ในตารางด้านล่าง สีตัวเลขแดงแสดงถึงข้อมูลที่ไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำ

Species data - minimum standard

ทำอย่างไรหากว่ามีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำที่ยอมรับได้?

  • ปรับปรุงคุณภาพต้นกล้าโดยรวม — ทบทวนข้อมูลเรือนเพาะชำเพื่อดูว่ามีอะไรที่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มขนาด สุขภาพ และความแข็งแรงของต้นกล้าที่จะนำไปปลูก
  • เพิ่มการทดลองการดูแลต้นกล้าหลังการปลูกให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เช่น กำจัดวัชพืชหรือใส่ปุ๋ยให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่คิดว่าสภาพพื้นที่อาจจะเป็นข้อจำกัด
  • ทดลองปลูกต้นไม้ชนิดอื่นๆ — ทบทวนแหล่งที่มาของข้อมูลชนิดทั้งหมด และเริ่มรวบรวมเมล็ดพันธุ์ของชนิดที่ยังไม่ได้ทำการทดสอบ

การระบุชนิดเป็นสิ่งสำคัญเมื่อมีการเลือกต้นไม้ในเรือนเพาะชำ อย่างไรก็ตาม ใบของต้นกล้าและกล้าไม้ในเรือนเพาะชำมักจะแตกต่างจากใบของต้นไม้ใหญ่และคำอธิบายลักษณะในคู่มือการระบุพืชทั่วไป ดังนั้น ที่นี่เราจึงนำเสนอคู่มือจำแนกต้นกล้า เพียงคลิกที่ภาพด้านล่างเพื่อเปิดฐานข้อมูลในหน้าต่างใหม่ คุณสามารถพิมพ์ลักษณะของพืชเพื่อระบุชื่อหรือชนิด หรือพิมพ์ชื่อชนิดเพื่อดูว่าต้นกล้าของคุณตรงตามคำอธิบายและรูปภาพหรือไม่ เครื่องมือนี้ยังมีประโยชน์ในกรณีที่มีการประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว (rapid site assessments) และอยากทราบความหนาแน่นของกล้าไม้เพื่อที่จะคำนวนจำนวนและชนิดที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ฟื้นฟู ฐานข้อมูลนี้รวบรวมโดย ดร.เกริก ผักกาด ภายใต้โครงการ “Tree fruits, seeds and seedlings for forest restoration in northern Thailand: Phase 2” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2559-2561

คลิ๊กที่นี่ - เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลสัณฐานวิทยาของต้นกล้า

Sapling database

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

Publication dateOct 2023
Author(s)พนิตนาถ แชนนอน
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป...

4: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

5: การใช้คุณลักษณะการทำหน้าที่เพื่อจำแนกกลุ่มพืชในกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของไม้ยืนต้นในการฟื้นฟูป่า

Publication date23 May 2023
Author(s)Manohan, B., D.P. Shannon, P. Tiansawat, S. Chairuangsri, J. Jainuan & S. Elliott
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:  การฟื้นฟูระบบนิเวศป่ามีความสอดคล้องกับชนิดต้นไม้ที่เติบโตในแต่ละระยะของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในป่าธรรมชาติ...

6: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

7: วิธีพรรณไม้โครงสร้าง - การใช้ประโยชน์จากการฟื้นฟูตามธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Elliott, S., N.I.J. Tucker, D. Shannon & P. Tiansawat
PublisherPreprint (submitted to Phil. Trans. B.)
Format
Journal Paper

บทนำ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าโดยปลูกต้นไม้ในพื้นที่เปิดใกล้กับป่าธรรมชาติ โดยชนิดพรรณไม้เป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะเฉพาะเหมาะกับพื้นที่นั้น และเร่งการฟื้นตัวของระบบนิเวศ...

8: Bar-HRM สำหรับการยืนยันชนิดของพรรณไม้ท้องถิ่นที่ใช้ในการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date24 Jun 2022
Author(s)Osathanunkul, M.; Sawongta, N.; Madesis, P.; Pheera,W.
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การยืนยันชนิดของพืชเป็นขั้นตอนสำคัญในการใช้พรรณไม้ท้องถิ่นในการฟื้นฟูป่า งานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาวิธีการไฮบริดของ DNA barcoding และ high-resolution melting analysis (Bar-HRM)...

9: แบบจำลองภูมิอากาศเฉพาะสำหรับการทำแผนที่ศักยภาพในการกระจายตัวของพรรณไม้โครงสร้างสี่ชนิด: เพื่อการวางแผนการฟื้นฟูป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในเอเชีย

Publication date24 Jun 2022
Author(s)Tiansawat, P.; Elliott, S.D.; Wangpakapattanawong, P.
Publisher Forests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การคัดเลือกพันธุ์ไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่ามีความสำคัญแต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ การทราบถึงภูมิอากาศที่เฉพาะสำหรับพรรณไม้สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้...

10: การคัดเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าริมน้ำจังหวัดตาก

Publication date22 Jan 2022
Author(s)Waiboonya, P., B. Moungsrimuangdee & S. Elliott
PublisherBurapha Science Journal
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกในการฟื้นฟูป่าริมน้ำ ด้วยการทดลองปลูก กล้าพันธุ์ไม้พื้นเมืองจำนวน 10 ชนิด ในแปลงทดลองริมน้ำที่มีสภาพเสื่อมโทรมจำนวน...