FORRU
ห้องสมุด

การคัดเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าริมน้ำจังหวัดตาก

Language:
Selecting Native Tree Species for Restoring Riparian Ecosystem, Tak Province
Date:
2022-01-22
Author(s):
Waiboonya, P., B. Moungsrimuangdee & S. Elliott
Publisher:
Burapha Science Journal
Serial Number:
260
Suggested Citation:

Waiboonya, P., B. Moungsrimuangdee & S. Elliott, 2022. Selecting native tree species for restoring riparian ecosystem, Tak Province. Burapha Science Journal 27(3).

บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกในการฟื้นฟูป่าริมน้ำ ด้วยการทดลองปลูก กล้าพันธุ์ไม้พื้นเมืองจำนวน 10 ชนิด ในแปลงทดลองริมน้ำที่มีสภาพเสื่อมโทรมจำนวน 4 แปลง ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 30 เมตร ปลูกกล้าไม้ชนิดละ 20 ต้น ติดตามการเติบโตในช่วงเริ่มต้น (สิงหาคม 2562) หลังฤดูฝนปีที่ 1 (ธันวาคม 2562) ต้นฤดูฝน (พฤษภาคม 2563) กลางฤดูฝน (สิงหาคม 2563) และหลังฤดูฝนปีที่ 2 (มกราคม 2564) วัดการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากความสูง ความกว้างทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางคอราก และการประเมินสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่ากล้วยไม้ลูกใหญ่ (Alphonsea ventricosa) รอดชีวิตหลังจากผ่านฤดูฝนปีที่ 2 มากที่สุดถึงร้อยละ 75.1 ± 9.1 รองลงมาเป็น มะหาด (Artocarpus lacucha) และขนุนป่า (Ar. chama) มีร้อยละการรอดชีวิตเท่ากับ 61.3 ±3.1 และ 52.1± 9.3 ตามลำดับ ส่วนดีหมี (Cleidion javanicum) และมะดะหลวง (Garcinia xanthochymus) ไม่สามารถรอดชีวิตได้ มะฝ่อ (Mallotus nudiflorus) มีอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ ทั้งด้านเส้นผ่านศูนย์กลางคอราก ความสูง และความกว้างทรงพุ่มสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 75.7 ± 7.0, 68.2 ±8.5 และ 73.5±14.6 ต่อปี รองลงมาเป็นมะแฟน (Protium serratum) มีอัตราการเติบโต เท่ากับร้อยละ 54.4 ± 3.1, 48.4 ±7.2 และ 55.0±7.1 ต่อปี ตามลำดับ จากผลการวิจัยสามารถใช้ กล้วยไม้ลูกใหญ่ มะหาด ขนุนป่า มะฝ่อ และมะแฟนเป็นไม้ที่นำมาใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าริมน้ำได้