ห้องสมุด

ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Date
16 Aug 2023
Authors
Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
Publisher
Forest Ecosystems
Serial Number
278
ISBN
ISSN 2197-5620
Suggested Citation
Naruangsri, K., P. Tiansawat & S. Elliott. 2023. Differential seed removal, germination and seedling growth as determinants of species suitability for forest restoration by direct seeding – A case study from northern Thailand. Forest Ecosystems, 10, 100133. https://doi.org/10.1016/j.fecs.2023.100133
Direct seeding plot at Mon Cham

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม การสูญเสียเมล็ดเนื่องจากการถูกล่าและถูกทำให้เสียหายโดยสัตว์ผู้ล่าเมล็ด ทำให้โอกาสการตั้งตัวของต้นกล้าในพื้นที่ลดลง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลกระทบของการล่าเมล็ดต่อการตั้งตัวของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นบนป่าดิบภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน  5 ชนิด ได้แก่ หมอนหิน (Hovenia dulcis) ฝาละมี (Alangium kurzii) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) มะกอกห้ารู (Choerospondias axillaris) และเลือดม้า (Horsfieldia amygdalina) โดยทดสอบสมมุติฐานที่ว่าการกันสัตว์ออกจากชุดทดลองจะช่วยลดการล่าเมล็ด และเพิ่มทั้งการงอกและการอยู่รอดของต้นกล้าในพื้นที่ โดยมีมีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณดัชนีความเหมาะสมสัมพัทธ์ของชนิดพันธุ์ที่ศึกษาโดยวิธีการหยอดเมล็ด เมล็ดของพืชแต่ละชนิดถูกนำมาหยอดภายใต้ชุดการทดลองที่มีการป้องกันศัตรูตามธรรมชาติ ประกอบด้วย 1) กรงลวด (ป้องกันสัตว์มีกระดูกสันหลัง) 2) การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง (ป้องกันสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง) 3) กรงลวดและการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง (ป้องกันทั้งสัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง) 4) กรงเปิด และ 5) ชุดควบคุม (สัตว์ทุกชนิดสามารถเข้าถึงเมล็ดได้)

ผลการศึกษาพบว่า เลือดม้าซึ่งเป็นชนิดที่มีเมล็ดขนาดใหญ่มีการสูญเสียเมล็ดมากที่สุด ในขณะที่กรงลวดช่วยลดการสูญเสียเมล็ดได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับชุดควบคุม (P ​< ​0.001) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นผู้ล่าเมล็ดหลักในพื้นที่ศึกษานี้ ทั้งนี้ยังพบว่าการงอกของเมล็ดแตกต่างกันระหว่างชนิดพืชจาก 0-70% เมื่อคำนวณคะแนนประสิทธิภาพสัมพัทธ์จากการรดตายและการเติบโตของต้นกล้า พบว่า นางพญาเสือโคร่ง เป็นชนิดที่มความเหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดมากที่สุด ตามด้วย ฝาละมี และมะกอกห้ารู ในขณะที่ หมอนหินซึ่งมีเมล็ดขนาดเล็กและมีการงอกที่ต่ำ และเลือดม้าซึ่งมีการล่าเมล็ดสูง ทั้งสองชนิดจึงไม่เหมาะสมกับวิธีการหยอดเมล็ด การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การปกป้องเมล็ดจากผู้ล่าและการเลือกชนิดที่เหมาะสมอาจช่วยเพิ่มความสำเร็จในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด ซึ่งเป็นเทคนิคในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดิบ อย่างไรก็ตาม ควรมีการทดสอบความเหมาะสมของพรรณไม้ชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มตัวเลือกด้านชนิดพันธุ์ให้มีความหลากหลายสำหรับการฟื้นฟูป่ามากขึ้น

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ