ห้องสมุด

ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Date
2005
Authors
The Forest Restoration Research Unit
Editors
Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana
Artwork
Surat Plukam
Publisher
FORRU-CMU
Serial Number
153
Suggested Citation
Forest Restoration Research Unit, 2005. How to Plant a Forest: The Principles and Practice of Restoring Tropical Forests. Compiled by Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana. Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University, Thailand, 200 pp.  
How to Plant a Forest: The Principles and Practice of Restoring Tropical Forests

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือเล่มนี้เมื่อปีพ.ศ. 2548  ในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการทั่วไปทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในการฟื้นฟูป่า  ซึ่งสามารถใช้ทั่วไปในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน  ตลอดจนอธิบายถึงชนิดป่าที่พบ (ในเขตภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง)  นอกจากนั้นยังแนะนำชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าอีกด้วย  หากคุณกำลังทำโครงการฟื้นฟูป่าในภูมิภาคอินโดจีน - นี่คือทางเลือกสำหรับคุณ หนังสือปลูกให้เป็นป่า ภาษาเวียดนาม , ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย, ภาษาเขมร และ ภาษาจีน  รวมถึงข้อมูลของชนิดป่าและการคัดเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ  หากคุณทำงานในพื้นที่ป่าเขตร้อนภูมิภาคอื่น ทางหน่วยวิจัยฯขอแนะนำหนังสือคู่มือเล่มใหม่ "การฟื้นฟูป่าเขตร้อน" 

 "พลิกฟื้นคืนชีวิตให้ผืนป่า"

การฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลายให้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวิภาพสูงอีกครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ "ปลูกให้เป็นป่า" เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานวิจัยของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU-CMU) ที่มีการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีพรรณไม้โ๕รงสร้างสามารถนำมาประยุกต์ใช้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศในภาคเหนือของประเทศไทย ในหนังสือประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจกลไกการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่าและวิธีในการเร่งให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้เร็วขึ้น รวมไปถึงแนวทางในการคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมในการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ การปลูกและดูแลกล้าไม้ในพื้นที่ป่าถูกทำลาย นอกจากนั้นยังเสนอแนะแนวทางในการวางแผนโครงการฟื้นฟูป่าและการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ แนวคิดและเทคนิควิธีการต่างๆที่กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ปับป่าหลากหลากหลายชนิดในพื้นที่อื่นๆนอกจากภาคเหนือของประเทศไทย จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

เนื้อหา

  • บทที่ 1 – การฟื้นฟูป่า – เพียงความเพ้อฝันหรือความเป็นจริง? 
  • บทที่ 2 – ป่าภาคเหนือ
  • บทที่ 3 – การฟื้นตัวของป่า – เรียนรู้จากธรรมชาติ
  • บทที่ 4 – การเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติ 
  • บทที่ 5 – การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง
  • บทที่ 6 – เริ่มจากต้นกล้า
  • บทที่ 7 – การปลูกป่า
  • บทที่ 8 – การทำงานร่วมกับชุมชน - การวางแผนและดำเนินงานโครงการฟื้นฟูป่า
  • บทที่ 9 – พรรณไม้โครงสร้าง - สำหรับการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง
Cover shot of Dia planting a tree

 

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...