คำแนะนำ

วิธีการในเรือนเพาะชำ

เรือนเพาะชำกล้าไม้เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตต้นกล้าที่มีคุณภาพซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการการฟื้นฟูป่า

forru-0001-0000071.jpg

Mr. Phairote and Mr. Chotgun, members of Ban Mae Sa's community environmental conservation group working at the Ban Mae Sa nursery.

พี่ไพโรจน์และพี่โชติ สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านแม่สาใหม่กำลังตัดแต่งรากกล้าไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลและผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะขำแม่สาใหม่

ต้นกล้าทุกชนิดในเรือนเพาะชำควรต้องเติบโตให้ได้ขนาดที่เหมาะสม แข็งแรง แข็งแกร่งและปราศจากโรคเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งโดยปกติการฟื้นฟูป่าโดยใช้ต้นไม้ชนิดต่างๆที่ไม่เหมือนกันเป็นเรื่องยากพอสมควร เนื่องจากต้นไม้แต่ละชนิดออกผลในเวลาที่ต่างกัน อีกทั้งอัตราการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น เทคนิคการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ สำหรับการผลิตกล้าไม้และวิธีการขยายพันธุ์ไม้ที่ดีจึงมีความสำคัญเป็นอันมาก นำไปสู่การพัฒนาแผนรายละเอียดการผลิตกล้าสำหรับกล้าไม้แต่ละชนิด

การสร้างเรือนเพาะชำ

เรือนเพาะชำกล้าไม้ที่ดีควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้าและดูแลต้นกล้าให้ปราศจากสภาวะความเครียดและสภาพอากาศที่รุนแรง อีกทั้งควรเป็นสถานที่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแลเรือนเพาะชำด้วย ขนาดของเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่จะฟื้นฟู ซึ่งจะกำหนดจำนวนต้นกล้าที่ต้องผลิตในแต่ละปี เรือนเพาะชำไม่จำเป็นต้องสร้างจากวัสดุที่มีราคาแพง สามารนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้เก่า ไม้ไผ่ และใบตาล นำมาใช้สร้างเรือนเพาะชำแบบเรียบง่ายได้ นอกจากนี้ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกต้นไม้มักเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ราคาไม่แพง เช่น พลั่ว เกรียง บัวรดน้ำ กรรไกรตัดกิ่ง ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการผลิตกล้าไม้ให้มีคุณภาพที่ดีได้

forru-0001-0000130.jpg

Extracting Sapindus rarak seed.

การแกะเมล็ดมะซัก (Sapindus rarak)

การเก็บและการจัดการกับเมล็ดไม้

ในป่าเขตร้อนต้นไม้หลากหลายชนิดออกผลทุกเดือนของปี จึงควรต้องมีการเดินทางเพื่อเก็บเมล็ดอย่างน้อยเดือนละครั้ง ดังนั้น เรือนเพาะชำจำเป็นต้องทราบเวลาออกดอกและติดผลของต้นไม้แต่ละชนิด โดยที่ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการศึกษาชีพลักษณ์ (Phenology) ซึ่งเริ่มจากการค้นหาต้นไม้ในป่าและเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงหลังจากต้นไม้เริ่มออกดอก เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บผลที่สุกเต็มที่ ก่อนผลจะร่วงหล่นจากต้นแม่หรือถูกกินโดยสัตว์ ต้นไม้บางชนิดออกผลในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์และให้ผลไม่มากนัก ดังนั้น หากรอเพื่อที่จะเก็บเมล็ดอาจจะสายเกินไป นอกจากนี้ยังมีวิธีที่รวดเร็วกว่าในการผลิตกล้าไม้ด้วยการรวบรวมต้นกล้าจากป่า เป็นต้นกล้าที่ขุดขึ้นมาจากบริเวณต้นไม้แม่ แล้วนำมาเพาะเลี้ยงในเรือนเพาะชำ ทั้งนี้ การเก็บเมล็ดหรือขุดกล้าไม้ป่า ควรเลือกเก็บจากต้นแม่ที่มีคุณภาพอย่างน้อย 25-50 ต้นในพื้นที่เพื่อป้องกันการผสมระหว่างพันธุกรรมเดียวกัน ควรแยกเมล็ดออกจากผลและทำความสะอาดก่อนการเพาะ พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมล็ดมีคุณภาพ สมบูรณ์ (ไม่มีร่องรอยของการเจริญเติบโตของเชื้อรา รอยฟันจากสัตว์ หรือรูเล็กๆ ที่เกิดจากแมลงที่เจาะเมล็ด)

การเพาะเม็ด

สำหรับในเรือนเพาะชำ การพักตัวของเมล็ดเป็นการยืดระยะเวลาในการผลิตกล้าไม้ ดังนั้นจึงควรใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดระยะเวลาพักตัวทำให้ต้นกล้างอกได้ไวขึ้น ตัวอย่างเช่น เมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนาจะสามารถทำลายการพักตัวโดยเทคนิคการทำแผล (ตัดหรือขลิบเปลือกหุ้มเมล็ดให้เป็นรูเปิดเล็กๆ หรือ ใช้กระดาษทรายถูสำหรับเมล็ดขนาดเล็ก) สำหรับชนิดที่กลไกทางสรีระของเมล็ดที่มีผลต่อการงอก (Mechanical dormancy) แนะนำให้แช่กรดก่อนการเพาะ สำหรับเมล็ดที่มีกลไกการพักจากสารเคมีภายในเมล็ด (Chemical inhibited dormancy) แนะนำให้เอาเนื้อผลออกให้หมดและแช่น้ำก่อนการเพาะ นอกจากการจัดการกับเมล็ดแล้ว การเพาะเมล็ดต้องใช้ถาดเพาะพร้อมทั้งวัสดุเพาะที่เหมาะสม (ช่วยในการหมุนเวียนของอากาศ การระบายน้ำ และการรองรับต้นกล้าที่จะงอกมา) ถาดเพาะเมล็ดควรลึกเพียงพอและมีรูระบายน้ำด่านล่าง

forru-0001-0000131.jpg

Seedling potting at the Ban Mae Sa nursery.

การย้ายกล้าจากถาดเพาะลงถุงดำ เรือนเพาะชำบ้านแม่สาใหม่

การย้ายกล้า

ภาชนะปลูกควรมีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับการพัฒนาระบบรากอย่างสมบูรณ์และเพียงพอต่อการรองรับการเจริญเติบโตของต้นกล้า มีรูเพียงพอที่จะระบายน้ำได้ดี น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง ทนทาน และหาได้ง่ายตามท้องตลาด ซึ่งถุงพลาสติกมักเป็นภาชนะที่ใช้กันทั่วไป ขนาดที่เหมาะสมที่สุด คือ 9 x 2.5 นิ้ว ซึ่งช่วยให้รากพัฒนาได้ยาวพอสมควรก่อนที่จะถึงก้นถุงและเริ่มขดตัวเป็นเกลียว วัสดุที่ใช้ในการปลูกประกอบด้วย ดินที่หยาบและละเอียดซึ่งมีรูพรุนระหว่างกันเพื่อให้อากาศถ่ายเทและระบายน้ำ วัสดุปลูกควรเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงรากของต้นไม้เมื่อเจริญเติบโต สามารถรักษาความชื้น อากาศ สารอาหาร รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สัดส่วนของวัสดุปลูกที่เป็นมาตรฐานควรประกอบด้วย ดินป่า 50% ผสมกับอินทรียวัตถุละเอียด 25% และอินทรียวัตถุหยาบ 25% นอกเหนือไปจากนี้ ต้นกล้าควรมีใบแท้ 1-3 คู่แรกขยายเต็มที่แล้วจึงทำการย้ายกล้าลงในถุงดำ ไม่ควรใส่วัสดุปลูกจนแน่นเกินหรือหลวมเกินไป ถุงควรตั้งตรง สามารถวาง และรดน้ำเพื่อการดูแลในที่ร่มได้

 

การดูแลกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การรดน้ำต้นกล้าในเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในช่วงฤดูฝน ต้นกล้าจะยังสามารถมีชีวิตรอดได้โดยที่ไม่ต้องรดน้ำเป็นเวลาสองสามวันหากวางไว้บริเวณที่เปิด แต่หากเป็นช่วงฤดูแล้ง อาจจำเป็นต้องรดน้ำต้นกล้าวันละสองครั้ง อีกทั้งควรใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตเพื่อให้ต้นกล้าพร้อมสำหรับการขนย้ายในช่วงฤดูปลูก นอกจากนี้ การจัดเรียงกล้าไม้ตามลำดับความสูงยังเป็นวิธีการดูแลคุณภาพกล้าไม้ที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เป็นการจัดการกล้าไม้ที่กำลังเติบโตให้ได้ขนาด ลดความแคระแกรน ในขณะเดียวกันก็เป็นการตัดแต่งราก ตรวจหาส่วนที่เป็นโรคและการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งต้นกล้าที่โตเร็ว ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปหรือดูยุ่งยากที่จะจัดการและอาจหักได้ง่ายระหว่างการขนส่งและการปลูก อย่างไรก็ตาม ไม่ควรตัดรากและใบในช่วงหนึ่งเดือนก่อนปลูก ค่อยๆ ลดร่มเงาและความถี่ในการรดน้ำ ก่อนปลูกประมาณ 2 เดือน เพื่อเป็นการเตรียมต้นกล้าให้มีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากภายในในเรือนเพาะชำไปสู่สภาพที่ไม่เอื้ออำนวยของพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม เทคนิคนี้เรียกว่า Hardening-off


แผนการผลิตกล้าไม้

ต้นไม้แต่ละชนิดติดผลในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และมีอัตราการงอกและการเจริญเติบโตของกล้าที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ต้นกล้าทุกชนิดต้องพร้อมสำหรับการปลูกเมื่อช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดมาถึง ดังนั้น แผนการผลิตกล้าไม้จะทำให้การจัดการต่างๆ ง่ายขึ้น ตารางการผลิตกล้าไม้แต่ละชนิดซึ่งบอกถึงขั้นตอนในการผลิตต้นกล้าให้ได้ขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม ตั้งแต่เมล็ด กล้าที่ขุดมาจากป่า หรือการตัดแต่งกิ่งในช่วงที่เหมาะสมก่อนนำไปปลูก สามารถแสดงเป็นแผนภาพเส้นเวลาที่มีคำอธิบายประกอบ ซึ่งประกอบด้วย: 1) ช่วงที่ควรดำเนินการแต่ละขั้น ii) วิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการในเรื่องการงอกของเมล็ดและการเติบโตของต้นกล้าหรือกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ ทั้งนี้ ตารางการผลิตกล้าไม้เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมเพื่อให้แน่ใจว่าต้นกล้าแต่ละชนิดพร้อมสำหรับการปลูกเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ

1: ผลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและการสะสมมวลชีวภาพของต้นไม้ไม่ผลัดใบ 3 ชนิดจากป่าเขตร้อน

Publication date05 Apr 2023
Author(s)Shannon, D.P., P. Tiansawat, S. Dasoon, S. Elliott & W. Pheera
PublisherTrends in Sciences
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การปลูกต้นไม้โดยการใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองเป็นหลักเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถช่วยเยียวยาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้...

2: ผลของการใช้อากาศกำจัดรากต่อการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างสำหรับฟื้นฟูป่าในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย

Publication date2020
Author(s)Chaiklang, P.
PublisherEnvironmental Science, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การฟื้นฟูป่าด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้างถือเครื่องมือสำคัญในการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ วิธีการนี้ต้องอาศัยกล้าไม้ที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด  ซึ่งถือเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักในการฟื้นฟูป่า...

3: คุณภาพและต้นทุนการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างด้วยวิธีการตัดแต่งรากที่แตกต่างกัน

Publication date2019
Author(s)Preeyaphat Chaiklang, Sutthathorn Chairuangsri, Pimonrat Tiansawat
PublisherProceedings of the 5th EnvironmentAsia International Conference
Format
Conference Paper

บทนำ: การผลิตกล้าไม้คุณภาพดีถือเป็นหัวใจหลักในการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ทั้งนี้การผลิตกล้าไม้นั้นมีต้นทุนสูงเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการใช้พรรณไม้โครงสร้าง...

5: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...

6: Selection of native tree species for restoring forest ecosystems

Publication dateJun 2016
Author(s)Shannon, D.P. & S. Elliott
PublisherProceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นการปลูกไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดที่มี อัตราการรอดตายและเจริญเติบโตสูง มีเรือนยอดแผ่กว้าง...

7: ผลของปุ๋ยและแอสไพรินที่มีต่อการขยายพนัธุ์พืชสกุลมะเดื่อจากเมล็ด

Publication date21 Apr 2016
Author(s)Sansupa, C.
PublisherDepartment of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: พืชสกุลมะเดื่อเป็นกลุ่มพืชที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความส าคัญในระบบนิเวศป่ าเขตร้อน และเป็ นพันธุ์ไม้ที่ไดร้ับการส่งเสริมในฐานะพนัธ์ไมโ้ครงสร้างส าหรับการฟ้ืนฟูป่าในภาคเหนือ...

8: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

9: การใช้ชนิดของมะเดื่อเอเชียในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date2013
Author(s)Kuaraksa, C. and S. Elliott
PublisherRestoration Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ต้นมะเดื่อ (Ficus spp.) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก (keystone species) ดังนั้น...

10: การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่แห้งแล้ง : แนวคิดและแนวทางปฎิบัติเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคตะวันตก

Publication date2011
Author(s)A. Sapanthuphong, S. Thampituk, and A. SukIn
PublisherElephant Conservation Network, Kanchanaburi
Format
Book

รายงานการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการ "การวิจัยเพื่อการฟื้นฟูป่า" ในชุมชนหมู่บ้านแก่งปลากด ที่มีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ มีการดำงานร่วมกันระหว่าง เครือข่ายอนุรักษ์ช้าง (ECN)...