คุณภาพและต้นทุนการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างด้วยวิธีการตัดแต่งรากที่แตกต่างกัน
Chaiklang, P., S. Chairuangsri & P. Tiansawat, 2019. Quality and production cost of some framework tree species seedlings grown with different root pruning techniques. Proceedings of the 5th EnvironmentAsia International Conference. II 213- 225.
บทนำ: การผลิตกล้าไม้คุณภาพดีถือเป็นหัวใจหลักในการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ทั้งนี้การผลิตกล้าไม้นั้นมีต้นทุนสูงเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการใช้พรรณไม้โครงสร้าง การตัดแต่งรากช่วยให้กล้าไม้มีคุณภาพดีแต่ใช้เวลานานและแรงงานจำนวนมาก ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำการทดลองวิธีการตัดแต่งรากที่แตกต่างกันในเรือนเพาะชำ เพื่อให้ได้วิธีการตัดแต่งรากที่เหมาะสมและได้กล้าไม้ที่มีคุณภาพรวมถึงสามารถลดต้นทุนการผลิตกล้าไม้ได้ โดยการศึกษาได้ดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยที่เรือนเพาะชำของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยใช้พรรณไม้โครงสร้างท้องถิ่นจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ โสกน้ำ Saraca indica (Fabaceae), กระท้อนป่า Sandoricum koetjape (Meliaceae), หว้าน้ำ Cleistocalyx operculatus (Myrtaceae), กำชำ Lepisanthes rubiginosa (Sapindaceae) และ พะวา Garcinia speciosa (Clusiaceae) โดยเก็บข้อมูลชีวมวลของกล้าไม้หลังการเพาะกล้าหกเดือน และคำนวนข้อมูลต้นทุนการผลิตกล้าไม้โดยทำการเปรียบเทียบผ่านการทดลองสามวิธีการ 1) นำกล้าไม้ใส่ในลังพลาสติกวางบนพื้น 2) การตัดแต่งรากด้วยอากาศ (นำกล้าไม้ใส่ในลังพลาสติกวางบนชั้นวาง) และ 3) วิธีปกติ (นำกล้าไม้ใส่ในถุงพลาสติกวางบนพื้น) ผลการทดลองพบว่า หว้าน้ำ กำชำ และ พะวา มีการตอบสนองกับวิธีตัดแต่งรากด้วยอากาศและการนำกล้าไม้ใส่ลังพลาสติก โดยทั้งสองวิธีการมีผลต่อชีวมวล ทำให้ชีวมวลขอลพืชทั้งสามชนิดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีปกติ(กลุ่มควบคุม) แต่ไม่มีผลต่อการเพิ่มชีวมวลกับกระท้อนป่าและโสกน้ำ อีกทั้งยังพบว่าต้นทุนการผลิตกล้าไม้ในแต่ละวิธีการมีต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน โดยการนำกล้าไม้ใส่ลังพลาสติและวิธีตัดแต่งรากด้วยอากาศ สามารถลดต้นทุนการผลิตกล้าไม้ ได้มากกว่าวิธีปกติ โดยมีค่าเท่ากับ19.08 20.64 และ 20.15 บาทต่อต้นกล้า ตามลำดับ