FORRU
ห้องสมุด

การใช้ชนิดของมะเดื่อเอเชียในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Language:
The use of Asian Ficus species for restoring tropical forest ecosystems
Date:
2013
Author(s):
Kuaraksa, C. and S. Elliott
Publisher:
Restoration Ecology
Serial Number:
78
Suggested Citation:

Kuaraksa, C. and S. Elliott, 2013. The use of Asian Ficus species for restoring tropical forest ecosystems. Restoration Ecology: DOI 10.1111/j.1526-100X.2011.00853.

บทคัดย่อ: ต้นมะเดื่อ (Ficus spp.) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก (keystone species) ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอเทคนิคการขยายพันธุ์และการปลูกที่เหมาะสมสำหรับมะเดื่อ 6 ชนิด ได้แก่ มะเดื่อหว้า (Ficus auriculata) ไทรใบขน (F. fulva) มะเดื่อปล้อง (F. hispida) มะเดื่อหลวง (F. oligodon) เดื่อปล้องหิน (F. semicordata) และเดื่อผูก (F. variegate) ซึ่งจะช่วยให้สามารถปลูกในพื้นที่ฟื้นฟูป่าทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ โดยการทดลองในเรือนเพาะชำเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่ได้จากเมล็ดและจากการปักชำใบ ในขณะที่การทดลองภาคสนามมีการประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของวิธีการต่างกัน 3 แบบ ได้แก่ (1) การหยอดเมล็ด (2) การปลูกต้นกล้าซึ่งได้จาดเมล็ด และ (3) การปลูกต้นกล้าที่ได้จากการปักชำ

วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการผลิตต้นกล้ามะเดื่อคือการใช้เมล็ด การขยายพันธุ์โดยการปักชำประสบความสำเร็จน้อยกว่ามาก ต้นกล้าที่ผลิตจากเมล็ดมีอัตราการเจริญเติบโตและการรอดสูงสุดทั้งในเรือนเพาะชำและในการทดลองภาคสนาม ในการทดลองภาคสนาม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดในเรือนเพาะชำยังคุ้มค่ากว่าการนำเมล็ดไปหยอดโดยตรงหรือการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ ต้นทุนในการตั้งตัวของต้นกล้าคำนวณจากราคา "ต่อต้นที่ปลูก" คือ 1.14 ดอลลาร์สำหรับเมล็ด 6.95 ดอลลาร์สำหรับการตัดชำ และ 25.88 ดอลลาร์สำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรง