คำแนะนำ

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

Seeds

ต้นไม้บางชนิดสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่เสื่อมโทรมได้โดยเริ่มต้นจากเมล็ด เรียกว่าวิธีการนี้ว่า การหยอดเมล็ด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ:-
• การเก็บเมล็ดจากพรรณไม้ท้องถิ่นในพื้นที่ป่าที่เป็นระบบนิเวศเป้าหมาย และมีการเก็บรักษาเมล็ดในกรณีที่จำเป็น จนกว่าจะถึงช่วงเวลาที่จะนำเมล็ดนั้นไปใช้
• การหยอดเมล็ดในพื้นที่ฟื้นฟู ณ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ คือ ช่วงฤดูฝน เพื่อให้มีการงอกของเมล็ด
• การจัดการกับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มการงอกของเมล็ดให้มากที่สุด

ข้อดีของการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด: 
• การนำเมล็ดไปหยอดในพื้นที่โดยตรงสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เรือนเพาะชำและค่าดำเนินการกิจกรรมการปลูก
• การขนส่งเมล็ดไปยังพื้นที่ฟื้นฟูสามารถทำได้ง่ายและราคาถูกกว่าการขนย้ายต้นกล้าเพื่อนำไปปลูก 
• ต้นกล้าที่เกิดจากการหยอดเมล็ดมีการพัฒนาระบบรากและเติบโตได้ไวกว่าต้นกล้าที่ผลิตจากเรือนเพาะชำ ซึ่งได้ถูกจำกัดระบบรากในช่วงที่ดูแลในเรือนเพาะชำ
• สามารถนำมาใช้ร่วมกับการฟื้นฟูเพื่อเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติและใช้ร่วมกับการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการปลูก ซึ่งการหยอดเมล็ดสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและความหลากชนิดของต้นกล้าในพื้นที่

นอกจากการนำเทคนิคการหยอดเมล็ดมาใช้กับพรรณไม้โครงสร้างแล้ว การหยอดเมล็ดยังสามารถใช้กับวิธีการปลูกแบบความหลากหลายสูงสุด (maximum diversity method) หรือการปลูกไม้พี่เลี้ยงในพื้นที่อย่างไรก็ตาม การหยอดเมล็ดอาจไม่ได้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้ทุกชนิด

อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นสำหรับการหยอดเมล็ด
เมล็ดที่กระจายออกจากต้นแม่ไม้ในธรรมชาติโดยส่วนใหญ่มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่ต่ำมากและในจำนวนนั้น ก็มีเพียงต้นกล้าบางต้นเท่านั้นที่รอดตาย แล้วเติบโตไปเป็นต้นไม้ใหญ่ได้ ปัจจัยที่มีผลต่อเมล็ดที่ถูกหยอดกับต้นกล้าที่งอกจากเมล็ด ได้แก่:
1. การถูกผึ่งแห้งหรือการถูกความร้อนและลมทำให้แห้งจนไม่สามารถงอกได้  
2. การล่าเมล็ดหรือการที่เมล็ดถูกทำลายให้เสียหายโดยสัตว์ที่กินเมล็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยมดและหนู
3. การแข่งขันกับวัชพืชในพื้นที่ฟื้นฟู
การฝังเมล็ดสามารถช่วยลดโอกาสการล่าเมล็ดได้ โดยเป็นการทำให้สัตว์หาเมล็ดได้ยากขึ้น นอกจากนี้กระบวนการจัดการกับเมล็ดก่อนการหยอดเพื่อเร่งการงอก เป็นอีกวิธีที่ทำให้เวลาเสี่ยงต่อการถูกพบเจอโดยสัตว์ผู้ล่าเมล็ดลดลง เมื่อเมล็ดเริ่มกระบวนการงอก อาหารสะสมในเมล็ดจะถูกนำไปใช้จนเหลือน้อยลง ทำให้เมล็ดนั้นมีความดึงดูดสัตว์ผู้ล่าเมล็ดลดลงด้วย แต่การที่เปลือกหุ้มเมล็ดถูกทำให้เป็นรูหรือแตกเพื่อให้ต้นอ่อนสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการถูกผึ่งแห้งและทำให้เมล็ดมีความดึงดูดต่อมดมากขึ้นด้วย การศึกษาทดลองถึงความเป็นไปได้ของการใช้สารเคมีต่างๆ เพื่อป้องกันหรือขับไล่ผู้ล่าเมล็ดนับเป็นอีกด้านหนึ่งที่มีความสำคัญ 

การให้ความสำคัญกับกลุ่มสัตว์ที่เป็นผู้ล่าหรือกินหนู (เช่น นกผู้ล่า หรือแมวป่า) ในพื้นที่ที่เร่งการฟื้นตัว โดยการป้องกันการล่าสัตว์ในกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นช่วยควบคุมจำนวนประชากรของหนูซึ่งเป็นตัวกินเมล็ดและลดการทำลายเมล็ดที่หยอดเพื่อการฟื้นฟูหรือเมล็ดในธรรมชาติที่จะงอกและเติบโตเป็นต้นไม้รุ่นใหม่ต่อไป

ต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดมีขนาดที่เล็กมากเมื่อเทียบกับต้นกล้าที่ปลูก ซึ่งได้รับการดูแลในเรือนเพาะชำ ดังนั้น การกำจัดวัชพืชรอบๆ ต้นกล้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งอาจต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ การกำจัดวัชพืชอย่างพิถีพิถันเช่นนี้ เป็นการเพิ่มต้นทุนในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดอย่างมาก

คำแนะนำสำหรับการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเพิ่มเติมได้ที่ "ปลูกให้เป็นป่า"“ปลูกให้เป็นป่า” หน้า 58 ถึง 62
หรือเนื้อหาอื่นๆของเทคนิคนี้ สามารถอ่านได้จาก  "Restoring Tropical Forests: a practical guide" หน้าที่ 130. 

Germination

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

4: วิทยาการหุ่นยนต์ทางอากาศ การจัดการป่าไม้และการหว่านเมล็ด

Publication date2020
Author(s)Amorós, L., & J. Ledesma
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ โดรนคอเรีย (Dronecoria) คือ โครงการฟื้นฟูป่าที่ใช้โดรนที่ผ่านการปรับแต่งได้ด้วยตนเอง (DIY) เพื่อแพร่กระจายเมล็ด (“dronechory”) ในลูกบอลดิน...

5: วิธีการคัดเลือกพันธุ์จากลักษณะสำหรับการเพาะเมล็ดทางอากาศ

Publication date2020
Author(s)Beckman, N.G. & P. Tiansawat
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: พวกเรารวบรวม และสรุปงานวิจัยด้านระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเชิงทำงาน (functional traits) ที่สามารถช่วยในการคัดเลือกชนิดต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูด้วยการเพาะเมล็ดทางอากาศ...

6: เมล็ด (Smart seed) สำหรับการฟื้นฟูป่าแบบอัตโนมัติ

Publication date2020
Author(s)Pedrini, S., D. Merritt & K. Dixon
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ การเพาะเมล็ดทางอากาศอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งวิธีการเพาะแบบนี้ มีการใช้ในทางการเกษตรเป็นเวลาเกือบ 80 ปี...

7: การพัฒนาเทคนิคการโปรยเมล็ดทางอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV): จากบทเรียนการหยอดเมล็ด

Publication date2020
Author(s)Shannon, D. P. & S. Elliott
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การหยอดเมล็ด หมายถึง การหว่านเมล็ดต้นไม้ป่าลงสู่พื้นที่ฟื้นฟูโดยตรง วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีราคาถูกกว่าการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการปลูก...

8: พฤติกรรมการจัดเก็บเมล็ดของพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date11 Jun 2019
Author(s)Waiboonya, P., S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherEnv. Asia.12(3):104-111. DOI 10.14456/ea.2019.50
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ : การเก็บรักษาเมล็ดพรรณไม้ท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาวิธีการฟื้นฟูป่าโดยใช้เมล็ด เช่น...

9: ระยะเวลาและความสำเร็จในการเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้พื้นเมืองโดยตรงเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในภาคเหนือ

Publication date2019
Author(s)Waiboonya, P. & S. Elliott
PublisherNew Forests:  81-99. https://doi.org/10.1007/s11056-019-09720-1
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:  การเพาะเมล็ดโดยตรง (การหว่านเมล็ดลงดินโดยตรง) อาจเป็นวิธีการฟื้นฟูป่าที่คุ้มค่า ซึ่งสามารถทดแทนหรือเสริมการปลูกต้นไม้แบบเดิมได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ...

10: การล่าเมล็ดและต้นกล้าของพรรณไม้โครงสร้าง 5 ชนิด ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ของบ้านหนองหอย อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication dateNov 2017
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherGraduate School, Chiangmai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด มีข้อจำกัดหนึ่ง คือ การล่าเมล็ดและต้นกล้าโดยศัตรูตามธรรมชาติ ที่มีทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง...