เมล็ด (Smart seed) สำหรับการฟื้นฟูป่าแบบอัตโนมัติ
Pedrini, S., D. Merritt & K. Dixon, 2020. Smart seed for automated forest restoration. Chapter 8, pp112-129 in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.
บทคัดย่อ การเพาะเมล็ดทางอากาศอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งวิธีการเพาะแบบนี้ มีการใช้ในทางการเกษตรเป็นเวลาเกือบ 80 ปี และปัจจุบันกำลังเป็นที่แพร่หลายเพื่อฟื้นฟูหลังการเกิดไฟป่าในสหรัฐอเมริกา และลดการกร่อนของดิน ข้อได้เปรียบหลักของวิธีการนี้ คือ สามารถนำส่งเมล็ดสู่พื้นที่กว้างใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัด คือ ราคาสูง, มีข้อจำกัดทางเทคนิค, เกิดการสูญเสียเมล็ด, ขาดความแม่นยำ และอัตราความสำเร็จไม่สามารถคาดเดาได้ นอกจากนี้ ไม่ค่อยมีการใช้เครื่องบินเพื่อการนำส่งเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่มีหลากหลายชนิดผสมกันเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยเฉพาะในเขตร้อน การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีล่าสุดในเรื่องของอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicles; UAVs) เช่น โดรน เกิดเป็นโอกาสใหม่ในการฟื้นฟูพื้นห่างไกลที่คุ้มทุนและใช้การได้จริง ทำให้นำเทคโนโลยีการหว่านทางอากาศที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ร่วมกับแนวทางใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการนำส่งเมล็ดด้วยโดรนได้อย่างถูกเวลา
การพัฒนาเทคโนโลยีการเปิดใช้เมล็ด หรือ seed-enablement technologies (SET) เช่น การเตรียมเมล็ด และการเคลือบเมล็ด ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการเพาะเมล็ดของพรรณไม้ท้องถิ่นทางอากาศด้วยโดรนได้ ถ้ามีการประยุกต์ใช้กับเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น เทคโนโลยี SET สามารถช่วยเอาชนะปัจจัยหลักที่จำกัดการจัดหากล้าไม้ เช่น นักล่าเมล็ด, ดินที่ไม่ได้เหมาะสมที่สุด, ภูมิอากาศเฉพาะพื้นที่, ความเครียดทางชีวภาพและที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางชีวภาพ และการแข่งขันกับพืชอื่นรอบข้าง บทความนี้จึงเน้นไปที่วิธีการแก้ไขที่มีอยู่ในปัจจุบัน และแนวทางในการทำการวิจัยที่สามารถนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค้า โดยใช้โดรนเพื่อการฟื้นฟูป่า