FORRU
ห้องสมุด

การพัฒนาเทคนิคการโปรยเมล็ดทางอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV): จากบทเรียนการหยอดเมล็ด

Language:
การพัฒนาการเพาะเมล็ดทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จากบทเรียนการหยอดเมล็ด
Date:
2020
Author(s):
Shannon, D. P. & S. Elliott
Publisher:
FORRU-CMU
Editor(s):
Elliott S., G, Gale & M. Robertson
Serial Number:
104
Suggested Citation:

Shannon, D. P. & S. Elliott, 2020. Developing aerial seeding by UAVs: lessons from direct seeding. Chapter 5, pp74-83 in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.

บทคัดย่อ: การหยอดเมล็ด หมายถึง การหว่านเมล็ดต้นไม้ป่าลงสู่พื้นที่ฟื้นฟูโดยตรง วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีราคาถูกกว่าการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการปลูก แต่มีความเสี่ยงต่อการถูกล่าเมล็ดสูงและมีอัตราการงอกของเมล็ดต่ำ อย่างไรก็ตาม การจัดการเมล็ดก่อนการปลูก รวมทั้งการจัดการพื้นที่จะช่วยลดข้อจำกัดที่ได้กล่าวมา มีตัวเลือกในด้านชนิดและการจัดการเมล็ดมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการหยอดเมล็ด ซึ่งสามารถนำเทคนิคเหล่านั้นไปใช้สำหรับการโปรยเมล็ดทางอากาศโดยใช้โดรนได้อีกด้วย ทั้งนี้ความสำเร็จของการหยอดเมล็ด ประกอบด้วย 1) การเลือกพื้นที่และชนิดพันธุ์ 2) ปริมาณและคุณภาพของเมล็ด 3) การเตรียมพื้นที่ 4) วิธีการหยอดเมล็ด 5) การจัดการหลังการหยอดเมล็ด อย่างไรก็ตาม ระบบการจับคู่ระหว่างพื้นที่และชนิดพันธุ์มักจะไม่ไปในทางเดียวกัน หรือไม่มีความแน่นอน ดังนั้น จึงแนะนำให้มีการทดสอบกับชนิดพันธุ์ที่หลากหลายและมีการติดตามตรวจสอบผลต่อไป ทั้งนี้อาจมีข้อจำกัดสำหรับการจัดหาเมล็ดเพื่อโปรยโดยใช้โดรน เว้นแต่ว่าจะสามารถออกแบบระบบการเก็บเมล็ดที่มีประสิทธิภาพได้ การเก็บเมล็ดควรมุ่งเป้าในการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมล็ดแบบ Recalcitrant ควรหยอดหรือโปรยทันทีหลังจากที่เก็บได้ แต่เมล็ดแบบ Orthodox สามารถหยอดได้ตลอดปี (หากเก็บไว้ในสภาพที่เหมาะสม) เพื่อความสำเร็จในการหยอดเมล็ดจำเป็นที่จะต้องมีการการกำจัดวัชพืช แต่ก็อาจไม่ใช่เสมอไป นอกจากนี้ เมื่อมีการขยายผลจากการหยอดเมล็ดสู่การโปรยเมล็ดโดยใช้โดรน ปัจจัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ต้องพิจารณา คือ การออกแบบวิถีการปล่อยเมล็ดให้พุ่งออกไป การทำให้เมล็ดฝังตัว ระยะที่เหมาะสมระหว่างเมล็ด และการควบคุมวัชพืชแบบอัตโนมัติซึ่งอาจเป็นความท้าทายที่สุดสำหรับการหยอดเมล็ด

คลิกที่นี่ เพื่อดูบทความอื่นในฉบับนี้