FORRU
ห้องสมุด

วิธีการคัดเลือกพันธุ์จากลักษณะสำหรับการเพาะเมล็ดทางอากาศ

Language:
วิธีการคัดเลือกพันธุ์จากลักษณะสำหรับการเพาะเมล็ดทางอากาศ
Date:
2020
Author(s):
Beckman, N.G. & P. Tiansawat
Publisher:
FORRU-CMU
Editor(s):
Elliott S., G, Gale & M. Robertson
Serial Number:
151
Suggested Citation:

Beckman, N.G. & P. Tiansawat, 2020. A trait-based approach for selecting tree species for aerial seeding. Chapter 6, pp84-101, in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ: พวกเรารวบรวม และสรุปงานวิจัยด้านระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเชิงทำงาน (functional traits) ที่สามารถช่วยในการคัดเลือกชนิดต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูด้วยการเพาะเมล็ดทางอากาศ เนื่องจากอุปสรรคสำคัญในการเลือกชนิดพันธุ์เพื่อฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (hyperdiverse) คือ การไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวนวัฒน์วิทยา และนิเวศวิทยา ลักษณะทางเชิงทำงานนี้ จะช่วยกำจัดวงแคบลงสู่ชนิดพันธุ์ที่มีศักยภาพ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ที่เกิดการตัดไม้ทำลายป่า และทำให้เกิดกลไกเพิ่มการเจริญของต้นไม้แต่ละต้นเพื่อการทำงานของระบบนิเวศได้ โดยการใช้ลักษณะเชิงทำงานที่ง่ายต่อการวัดอาจมีผลดีต่อการช่วยหาชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมต่อการเพาะเมล็ดทางอากาศเพื่อการฟื้นฟูแบบอัตโนมัติ รวมถึงการเพาะเมล็ดทางอากาศมีประโยชน์อย่างมากในการฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ห่างไกล หรือทุรกันดาร ซึ่งพื้นที่เหล่านั้น สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ช่วยแพร่กระจายเมล็ดถูกทำลายจนหมด ทำให้ลดการกระจายเมล็ดตามธรรมชาติลง ดังนั้น พวกเราจึงเน้นไปที่การคัดเลือกชนิดพันธุ์ต้นไม้ โดยยึดลักษณะของผล เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูป่าด้วยการเพาะเมล็ดทางอากาศ

คลิกที่นี่ เพื่อดูบทความอื่นในฉบับนี้