คำแนะนำ

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การปลูกต้นไม้ในทุกโครงการควรที่จะได้รับการติดตาม แต่ก็มีหลากหลายวิธีการที่แตกต่างสำหรับการติดตาม ไล่เรียงจากการติดตามอย่างง่ายด้วยภาพถ่ายและการประเมินอัตราการรอด สำหรับรูปแบบการทดลองในภาคสนามที่มีความซับซ้อน ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิด ถึงผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนแนวโน้มการติดตามในปัจจุบันที่กำลังแพร่หลาย คือ  การฟื้นฟูป่าอัตโนมัติ

Tree height

การติดตามอย่างง่ายด้วยการใช้ภาพถ่าย

วิธีการที่ง่ายที่สุดในการประเมินผลของการปลูกต้นไม้ คือ การถ่ายภาพก่อนปลูกและช่วงเวลาปกติ (ฤดูกาลละครั้ง หรือทุกปี) โดยหาจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนทั้งพื้นที่ปลูกและจุดสำคัญต่างๆ ทำเครื่องหมายตำแหน่งของจุดที่ต้องการด้วยเสาโลหะ คอนกรีต หรือทำลูกศรสีบนก้อนหินขนาดใหญ่ แล้วบันทึกวันที่ หมายเลขจุด ตำแหน่งที่ตั้ง (พิกัด จีพีเอส ถ้ามี) และอายุของแปลงปลูก ใช้เข็มทิศในการหาทิศทางไปยังจุดที่กล้องจำเป็นต้องถ่ายภาพ

การสุ่มตัวอย่างต้นไม้สำหรับการติดตาม

ความต้องการขั้นต่ำสุดเพื่อการติดตามที่เหมาะสม คือ การสุ่มตัวอย่าง 50 ตัวอย่าง หรือมากกว่าของต้นไม้แต่ละชนิดที่ปลูก ยิ่งตัวอย่างมีจำนวนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีกว่า ต้นไม้ที่สุ่มจะถูกจัดรวมเป็นกลุ่มของการทดลอง และถูกติดป้ายแท็กเครื่องหมายเป็นกลุ่มตัวอย่างภายในเรือนเพาะชำให้เรียบร้อยก่อนถูกขนส่งไปยังพื้นที่แปลงปลูก การปลูกก็จะเป็นแบบสุ่มทั่วทั้งพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้แน่ใจว่าจะสามารถหาต้นไม้ตัวอย่างการทดลองเจออีกครั้ง ด้วยการปักไม้หลักสีให้แต่ละต้นที่ต้องได้รับการติดตาม ทำการคัดลอกหมายเลขประจำตัวจากป้ายแท็กของต้นไม้ลงบนไม้หลักด้วยปากกากันน้ำ และวาดแผนผังต้นไม้สำหรับช่วยในการหาตำแหน่งต้นไม้ตัวอย่างในอนาคต

การติดป้ายแท็กเครื่องหมายกล้าไม้ที่ถูกปลูก

แถบอะลูมิเนียมอ่อนที่ใช้รัดสายไฟซึ่งง่ายต่อการทำเป็นขดวงกลมล้อมรอบโคนต้นกล้า ใช้แท่งตอกตัวเลขโลหะหรือตะปูที่มีความคมสลักรหัสหมายเลขประจำตัวต้นไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดลงบนป้ายแท็ก หลังจากนั้นดัดโค้งแท็กเป็นวงกลมรอบโคนต้นเหนือกิ่งที่อยู่ต่ำที่สุด เพื่อป้องกันแท็กถูกฝังเมื่อทำการปลูกต้นไม้ สำหรับป้ายแท็กเครื่องหมายนี้มีคุณสมบัติทนทานต่อไฟ ภายหลังหากต้นไม้เจริญเติบโตจนมีขนาดเส้นรอบวง 10 เซนติเมตร หรือมากกว่า (วัดที่ระดับ 1.3 เมตร เหนือพื้นดิน หรือเป็นเส้นรอบวงที่ระดับความสูงประมาณหน้าอก) ป้ายแท็กเครื่องหมายที่คงทนถาวรมากกว่าจะถูกตอกด้วยตะปูติดกับลำต้นแทน (แท็กถาวรอาจทำมาจากกระป๋องเครื่องดื่มที่ถูกตัดแบ่งเป็นชิ้นบาง เล็กๆ) การทำเครื่องหมายจุดวัดเส้นรอบวงจะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.3 เมตร

tree monitoringการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

ในการตรวจสอบประสิทธิภาพ ติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ ให้ทำงานเป็นคู่กัน โดยให้หนึ่งคนเป็นคนวัดข้อมูลต้นไม้ และอีกคนบันทึกข้อมูลลงบนตารางบันทึกที่ถูกเตรียมไว้แล้ว ซึ่งปกติหนึ่งคู่สามารถทำการวัดเก็บข้อมูลต้นไม้ได้มากกว่า 400 ต้นต่อหนึ่งวัน สำหรับการเตรียมตารางบันทึกข้อมูลนี้ยังรวมไปถึงการจัดลำดับรายละเอียดของรหัสหมายเลขประจำตัวของแท็กต้นไม้ทั้งหมดที่จะเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าด้วยเหมือนกัน และให้แนบรายละเอียดประกอบไปพร้อมกับแผนที่ตำแหน่งต้นไม้ที่ติดแท็กไว้ ตั้งแต่ตอนปลูกเพื่อช่วยในการค้นหาต้นไม้ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังควรทำสำเนาข้อมูลที่รวบรวมระหว่างการติดตามครั้งก่อนรวมไปด้วย วิธีนี้จะช่วยคัดกรองการระบุต้นไม้ที่มีปัญหาได้ โดยเฉพาะต้นไม้ที่แท็กอาจสูญหาย

  • ช่วงเวลาสำหรับการติดตาม

การวัดต้นไม้ 1-2 สัปดาห์หลังปลูก เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณการเจริญเติบโตและประเมินการตายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ที่อาจเป็นผลมาจากภาวะช็อกเนื่องด้วยกระบวนการขนส่งและการจัดการที่ไม่ละเอียดระหว่างกระบวนการปลูก หลังจากนั้น การติดตามต้นไม้รายปีในช่วงฤดูกาล โดยงานการติดตามควรทำหลังสิ้นสุดแต่ละฤดูฝน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการติดตามผล อย่างไรก็ตาม หากเป็นฤดูฝนที่ 2 หลังจากการปลูก (หรือช่วงระยะเวลาหลังปลูกประมาณ 18 เดือน) เป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ สามารถใช้วัดความเหมาะสมของต้นไม้แต่ละชนิดกับสภาพพื้นที่ได้

  • ควรทำการวัดอะไรบ้าง?

กำหนดคะแนนสุขภาพอย่างง่ายให้ต้นไม้แต่ละต้นและบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทั่วไปที่สังเกตเห็น ค่าระดับคะแนนพื้นฐานอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนน เป็นค่าที่ใช้กันทั่วไปเหมาะสำหรับการบันทึกข้อมูลสุขภาพต้นไม้ในภาพรวม 

0 คะแนน  ถ้าต้นไม้ดูเหมือนว่าจะตาย ส่วนชนิดต้นไม้ที่ผลัดใบ ต้องระมัดระวังความสับสนระหว่างไม่มีใบในช่วงฤดูแล้งกับต้นที่ตาย อย่าเพิ่งหยุดการติดตามเพียงเพราะต้นไม้ได้ 0 คะแนน บางครั้งต้นไม้อาจตายในส่วนที่โผล่พ้นเหนือพื้นดิน แต่รากยังคงมีชีวิต ซึ่งอาจจะสามารถแตกหน่อใหม่ได้ในภายหลัง
1 คะแนน  ถ้าต้นไม้อยู่ในสภาพไม่ค่อยดี (มีใบเพียงไม่กี่ใบ ใบส่วนใหญ่ไม่มีสี อาจถูกทำให้เสียหายโดยแมลง และอื่นๆ)
2 คะแนน  สำหรับต้นไม้ที่ปรากฏลักษณะถูกทำลายบางจุด แต่ยังคงมีใบที่ดูสุขภาพดี
3 คะแนน สำหรับต้นไม้ที่มีลักษณะสุขภาพสมบูรณ์แบบ หรือใกล้เคียงกับความสมบูรณ์แบบมากที่สุด

ถ้าไม่สามารถหาต้นไม้เจอให้บันทึกเป็นไม่พบ (อย่าตั้งสมมุติฐานว่าตายหากไม่พบซากของต้นไม้) บางครั้งเราอาจจะพบว่าต้นไม้ยังคงรอดและมีสภาพสมบูรณ์ในการสำรวจย่อยๆ ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถคำนวณร้อยละการรอดที่ถูกต้องของการสำรวจครั้งก่อนได้

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ยังรวมถึงการวัดความสูงและทรงพุ่ม

วัดความสูงจากคอรากของลำต้นถึงยอดอ่อนเจริญ ส่วนการวัดต้นไม้ที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป สามารถใช้เสาวัดความสูง สำหรับการวัดอัตราการการเติบโตของเส้นรอบวงระดับอกทำได้ง่ายกว่ามาก

การวัดคอราก (RCD) หรือเส้นรอบวงระดับอก (GBH)ให้ค่าการประเมินที่มีความคงที่มากกว่าสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้

สำหรับต้นไม้ขนาดเล็กจะใช้ เวอร์เนียร์คาร์ลิเปอร์ วัดคอรากในจุดที่มีความกว้างมากที่สุด หากต้นไม้เจริญเติบโตสูงมากพอที่จะพัฒนาเส้นรอบวงระดับอกขนาด 10 เซนติเมตร การวัดทั้งคอรากและเส้นรอบวงระดับอกจำเป็นสำหรับการวัดครั้งแรก และการวัดครั้งต่อไปจะวัดเฉพาะเส้นรอบวงระดับอก

การจำกัดการเจริญเติบโตของวัชพืชสามารถวัดปริมาณได้เช่นเดียวกัน การวัดทรงพุ่มและรูปแบบการให้คะแนนสำหรับวัชพืชปกคลุม จะใช้เทปวัดระยะวัดความกว้างของทรงพุ่มต้นไม้ ณ จุดที่กว้างที่สุดและประมาณการสร้างเป็นวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางรอบฐานต้นไม้แต่ละต้น

3 คะแนน  ถ้าวัชพืชปกคลุมอย่างหนาแน่นทั่วทั้งวงกลม
2 คะแนน  วัชพืชและใบที่ปกคลุมอยู่ระดับปานกลางทั้งคู่​​​​​​​
1 คะแนน  มีวัชพืชเพียงเล็กน้อยเจริญเติบโตภายในวงกลม​​​​​​​
0 คะแนน  ไม่ปรากฏวัชพืชเลย

สำหรับรายละเอียด วิธีการติดตามการรอดของต้นไม้ การเจริญเติบโต และการวิเคราะห์ข้อมูลทำอย่างไร
สามารถดูได้จากบทที่ 7 และภาคผนวก 2 ของหนังสือ  "Restoring Tropical Forests" รายละเอียดเนื้อหาเดียวกันฉบับบภาษาไทยสามารถดาวน์โหลด  ที่นี่

https://youtu.be/outo4r0r__s

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

4: เส้นทางสู่การฟื้นคืน: การสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการฟื้นฟูระบบนิเวศในป่าเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Banin Lindsay F., Raine Elizabeth H., Rowland Lucy M., Chazdon Robin L., et al. including Elliott, S and Manohan, B.
Editors(s)Andrew R. Marshall, Lindsay F. Banin, Marion Pfeifer, Catherine E. Waite, Sarobidy Rakotonarivo, Susan Chomba and Robin L. Chazdon
PublisherPhil. Trans. R. Soc. B3782021009020210090
Format
Journal Paper

  ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร. สตีเฟ่น เอลเลียต หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา และ น.ส. เบญจพรรณ มโนหาญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยา...

5: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

6: การเปรียบเทียบการตรวจจับต้นกล้าและการวัดความสูงโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ จากซอฟต์แวร์สามชุด: ประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่า

Publication dateMar 2022
Author(s)Changsalak, P. & P. Tiansawat
PublisherEnvironmentAsia Journal, 15, 100-105. DOI 10.14456/ea.2022.26
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ความท้าทายหนึ่งสำหรับการฟื้นฟูป่าคือการเฝ้าติดตามผลลัพธ์จากการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามการรอดตายของกล้าไม้ แบบจำลอง 3...

7: ความหลากหลายเพื่อการฟื้นฟู (D4R): เป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ไม้และแหล่งเมล็ดพันธุ์เพื่อการฟื้นฟูให้ทนทานต่อสภาพอาการของภูมิประเทศป่าเขตร้อน

Publication date19 Oct 2021
Author(s)Fremout, T., Thomas, E., Taedoumg, H., Briers, S., Gutiérrez-Miranda, C.E., Alcázar-Caicedo, C., Lindau, A.; Kpoumie, H.M., Vinceti, B., Kettle, C., Ekué, M., Atkinson, R., Jalonen, R. Gaisberger, H., Elliott, S., Brechbühler, E., Ceccarelli, V., Krishnan
PublisherJournal of Applied Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: 1. ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564–2573) มีการให้ความสำคัญระดับโลกกับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมมากขึ้นกว่าที่เคย...

8: การติดตามตรวจสอบพืชแบบอัตโนมัติสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Chisholm, R & T. Swinfield
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Book Chapter

บทนำ: การติดตามพรรณพืชโดยอัตโนมัติในการฟื้นฟูป่ามุ่งเน้นเกี่ยวกับการประเมินชีวมวลของป่าและความหลากหลายของพรรณพืชที่เกี่ยวข้องกับการบริการนิเวศวิทยาและการประเมินด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ...

9: อิทธิพลของวัชพืชต่อการรอดชีวิตและการเติบโตของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นในระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date24 Aug 2018
Author(s)Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: วัชพืชมักเป็นอุปสรรคต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยลดการตั้งตัวของต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่...

10: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...