เส้นทางสู่การฟื้นคืน: การสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการฟื้นฟูระบบนิเวศในป่าเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
Banin Lindsay F., Raine Elizabeth H., Rowland Lucy M., Chazdon Robin L., Smith Stuart W., Rahman Nur Estya Binte, Butler Adam, Philipson Christopher, Applegate Grahame G., Axelsson E. Petter, Budiharta Sugeng, Chua Siew Chin, Cutler Mark E. J., Elliott Stephen, Gemita Elva, Godoong Elia, Graham Laura L. B., Hayward Robin M., Hector Andy, Ilstedt Ulrik, Jensen Joel, Kasinathan Srinivasan, Kettle Christopher J., Lussetti Daniel, Manohan Benjapan, Maycock Colin, Ngo Kang Min, O'Brien Michael J., Osuri Anand M., Reynolds Glen, Sauwai Yap, Scheu Stefan, Silalahi Mangarah, Slade Eleanor M., Swinfield Tom, Wardle David A., Wheeler Charlotte, Yeong Kok Loong and Burslem David F. R. P, 2022. The road to recovery: a synthesis of outcomes from ecosystem restoration in tropical and sub-tropical Asian forests. Phil. Trans. R. Soc. B3782021009020210090
ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร. สตีเฟ่น เอลเลียต หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา และ น.ส. เบญจพรรณ มโนหาญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยา ร่วมกันศึกษาวิจัยในหัวข้อ "The road to recovery: a synthesis of outcomes from ecosystem restoration in tropical and sub-tropical Asian forests"
โดยงานวิจัยนี้ เป็นการประเมินผลของการปลูกต้นไม้ที่มีต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในทวีปเอเชีย ด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลการตาย และการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ 176 แปลง รวมทั้งแปลงสาธิตของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU-CMU) และเปรียบเทียบการฟื้นตัวทางโครงสร้างและความหลายทางชีวภาพของแปลงฟื้นฟูและแปลงป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ
งานวิจัยอธิบายผลจากความพยายามปลูกป่าในพื้นที่ป่าถูกทำลายโดยสิ้นเชิงว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกป่าในพื้นที่ที่มีต้นไม้บางส่วนหลงเหลืออยู่ ต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่ที่มีต้นไม้เหลืออยู่มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าประมาณร้อยละ 20 ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นของมาตรการป้องกัน และดูแลต้นกล้าที่ปลูกอย่างเข้มข้นในพื้นที่ที่ถูกรบกวนอย่างรุนแรง
การศึกษานี้พบว่า การฟื้นฟูที่มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ (เช่น วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง Framework Species Method, FSM) ช่วยเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ป่า เมื่อเทียบกับการปล่อยให้ป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ การศึกษาด้านการฟื้นฟูส่วนมากติดตามต้นไม้ที่ปลูกมากกว่าการฟื้นตัวเชิงโครงสร้างในระดับชุมชีพ
ปัจจุบันมีคนนับล้านที่กำลังปลูกต้นไม้พันล้านต้นทั่วโลก เพื่อช่วยฟื้นความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยการลดระดับของแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ในชั้นบรรยากาศ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง จุดหมาย Bonn Challenge มุ่งฟื้นฟูป่ารวม 300 ล้านเฮกตาร์ภายในปี พ.ศ. 2573
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่ท้าทายดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุได้ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดระบบนิเวศป่าที่สามารถฟื้นตัวได้อีกครั้ง
ระบบนิเวศป่าที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติสามารถดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าพื้นที่วนเกษตร ถึง 6 เท่า และมากกว่าพื้นที่เพาะปลูกถึง 40 เท่า งานวิจัยนี้ได้นำเสนอหลักฐานว่าเทคนิคการฟื้นฟูป่าใดที่ประสบความสำเร็จและเทคนิคใดที่ล้มเหลว
หลักฐานดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อความพยายามที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อเป้าหมายในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การเป็นแหล่งบริการด้านต้นน้ำ บริการด้านผลิตภัณฑ์จากป่า และการมีส่วนช่วยลดความยากจนของผู้คนในท้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 2 6 13 และ 15
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสาร Philosophical Transactions of the Royal Society B
IF (2022) = 6.671 (Q1, ISI/Scopus) Published:14 November 2022
ผู้สนใจสามารถอ่านบทความวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.1098/rstb.2021.0090