การติดตามตรวจสอบพืชแบบอัตโนมัติสำหรับการฟื้นฟูป่า
Chisholm, R & T. Swinfield, 2020. Automated vegetation monitoring for forest restoration. Chapter 12, pp168-193 in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.
บทนำ: การติดตามพรรณพืชโดยอัตโนมัติในการฟื้นฟูป่ามุ่งเน้นเกี่ยวกับการประเมินชีวมวลของป่าและความหลากหลายของพรรณพืชที่เกี่ยวข้องกับการบริการนิเวศวิทยาและการประเมินด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ กล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลทางพื้นที่และลักษณะภูมิทัศน์ วิธีการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) เซ็นเซอร์ Lidar มัลติสเปกตรัมและไฮเปอร์สเปกตรัม กล้องภาพถ่าย และซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล กล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของการสำรวจภาคพื้นดินกับบนอากาศ อุปสรรคทางเทคโนโลยีในการติดตามแบบอัตโนมัติ รวมถึงการจำแนกพรรณไม้ในป่าแต่ละประเภท และการประเมินโครงสร้างป่าไม้ในป่าที่มีความหนาแน่นสูง อุปสรรคเหล่านี้เกี่ยวข้องกับป่าเขตร้อนโดยเฉพาะที่มีความหนาแน่นและหลากหลายของชนิดพันธุ์ กล่าวถึงอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่เป็นข้อจำกัดในการสำรวจในพื้นที่ขนาดใหญ่ แม้จะมีข้อจำกัดหลายประการแต่ก็เพียงพอสำหรับการประเมินพื้นที่ขนาดเล็กในงานฟื้นฟูป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตอบอุ่นและป่าทางเหนือที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า มีความหลากหลายน้อยกว่า แนวทางที่ได้ผลอีกประการคือการใช้สำรวจระดับพื้นดินเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม