คำแนะนำ

ไฟป่า

ไฟป่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการฟื้นฟูป่า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในป่าเขตร้อนทุกประเภท แม้แต่ในป่าที่ชื้นแฉะ การเกิดไฟป่าที่ไม่รุนแรงมากอาจทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ช้าลงและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและโครงสร้างของพืชที่งอกมาใหม่ได้

Fire
การกระจายตัวของไฟในพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร

ในเขตร้อนที่มีฤดูแล้ง ไฟป่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการฟื้นฟูป่า ในช่วงปลายฤดูฝน วัชพืชต่างๆที่เจริญเติบโตมาตลอดฤดูกาลมักจะหนาแน่นและสูงเกิน 2 เมตรจนแทบจะเข้าถึงพื้นที่ไม่ได้ พอถึงช่วงฤดูร้อน วัชพืชเหล่านั้นจะเหี่ยวแห้งและกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีสำหรับไฟป่า ทุกครั้งที่เกิดไฟป่า กล้าไม้ที่ขึ้นอยู่ระหว่างวัชพืชเหล่านั้นมักถูกเผาไหม้และตายไป ในขณะที่พวกวัชพืชโดยเฉพาะหญ้า สามารถที่จะฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับฝนในครั้งต่อไป โดยอาจเจริญมาจากราก หน่อ หรือเมล็ดซึ่งฝังอยู่ใต้ดินทำให้ปลอดภัยจากความร้อนของไฟ วัฏจักรการเจริญของวัชพืชนี้ทำให้พื้นที่เกิดไฟได้ง่ายและในขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นไม้ใหญ่หมดโอกาสที่จะขึ้นในพื้นที่ได้ การยับยั้งวัฏจักรดังกล่าวจึงเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูป่าชนิดนี้

สาเหตุการเกิดไฟป่า

ไฟป่าในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ จากฟ้าผ่า แต่การเกิดไฟป่าในลักษณะดังกล่าวมีโอกาสน้อยมาก การเกิดไฟป่าแบบนี้อาจจะห่างกันหลายปีหรืออาจเป็นสิบๆ ปี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเพียงพอที่กล้าไม้ต่าง ๆ เจริญเติบโตพอที่จะทนต่อการทำลายจากไฟป่าได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของไฟป่าในปัจจุบันมักมาจากมนุษย์ เช่น ไฟที่ใช้เตรียมพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งอาจลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่ารอบ ๆ และเผาทำลายต้นไม้ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การฟื้นตัวของป่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ไฟกับการฟื้นตัวของป่า

บ่อยครั้งที่ไฟป่าทำให้จำนวนและความหลากชนิดของต้นกล้าและชุมชีพของกล้าไม้ลดลง อีกทั้งยังลดปริมาณของเมล็ดพันธุ์ที่กระจายเข้าสู่พื้นที่ (ทำให้ต้นไม้ที่ผลิตเมล็ดตาย) และเมล็ดที่มีการสะสมอยู่ในดินถูกทำลาย ไฟยังทำลายสารอินทรีย์ในดินทำให้ดินอุ้มน้ำได้ลดลง พื้นดินที่มีความชื้นต่ำไม่เหมาะกับการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม้และยังทำให้ธาตุอาหารในดินลดลงอีกด้วย

การป้องกันไฟ

วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันไฟคือต้องแน่ใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทุกคนในบริเวณใกล้เคียงให้ความร่วมมือและยินดีกับโครงการฟื้นฟูป่าและเข้าใจว่าไม่ควรจุดไฟในพื้นที่ใกล้แปลงปลูกป่า อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามมากเท่าใดในการสร้างความตระหนักกับประชาชนในพื้นที่ ไฟก็ยังมักเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ป่าฟื้นฟูเสมอ ถึงแม้หน่วยป้องกันไฟป่าของกรมป่าไม้อาจช่วยป้องกันไฟได้บ้าง แต่บางครั้งเจ้าหน้าที่เหล่านั้นไม่อาจที่จะเข้าไปในทุกพื้นที่ได้ทันท่วงที ดังนั้น การจัดตั้งทีมป้องกันไฟป่าขึ้นภายในชุมชนเองจึงมักมีประสิทธิภาพดีกว่า การป้องกันแปลงปลูกป่าจากไฟป่าประกอบด้วยการทำแนวกันไฟและจัดทีมเฝ้าระวังไม่ให้ไฟเกิดขึ้นพร้อมทั้งควบคุมไฟไม่ให้เกิดการลุกลามไปในพื้นที่

 

Prevention of fire
ใช้ไฟสู้กับไฟ (A) ตัดถางพืชออกเป็นสองแนวโดยให้ห่างกันประมาณ 10-15 เมตร (B) เศษพืชที่ตัดแล้วมารวมไว้ตรงกลางระหว่างแนวทั้งสอง (C) ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2-3 วัน จากนั้นจึงเผาทิ้ง ระวังอย่าให้ไฟลามออกนอกแนวกันไฟ (D)

เมื่อแปลงปลูกป่าถูกไฟไหม้

ความสูญเสียอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับต้นไม้ทั้งหมด ถ้าต้นไม้ที่ใช้ปลูกถูกเลือกมาเนื่องจากลักษณะที่ทนทานต่อไฟ ถึงแม้ว่าต้นไม้ทุกชนิดจะไหม้ไฟ แต่หลายชนิดสามารถแตกยอดใหม่ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนมากจะแตกยอดจากตาบริเวณคอราก เรียกกระบวนการนี้ว่า คอพพีซซิ่ง (coppicing) อย่างไรก็ตาม รอยแผลจากไฟไหม้อาจเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ง่าย จึงควรตัดกิ่งที่ไฟไหม้ออกเพื่อเร่งการฟื้นตัว หลังไฟไหม้เถ้าถ่านสีดำจะดูดซับความร้อนทำให้อุณหภูมิในพื้นที่สูงขึ้นและการระเหยของน้ำมากขึ้นซึ่งอาจทำให้กล้าไม้ที่เหลืออยู่แห้งตายได้ จึงควรใช้วัสดุคลุมโคนต้นกล้าไม้เพื่อทำให้กล้าไม้รอดได้มากขึ้น

1: ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้ท้องถิ่นในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Publication date2018
Author(s)Phutthida Nippanon
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: ระบบนิเวศป่าดิบเขาทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นน้ำและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ถูกเปลี่ยนไปเนื่องจากความต้องการใช้ประโยชน์พื้นที่ในหลายวัตถุประสงค์...

2: ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Publication dateJun 2016
Author(s)Nippanon, P. & D. P. Shannon
Publisher3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวและการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพ...

3: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

4: อัตราการฟื้นตัวจากไฟป่าของพรรณไม้โครงสร้างบางชนิด

Publication date2006
Author(s)Sumamart Chaiwong
PublisherForest Restoration Research Unit, CMU
Format
BSc Project

บทนำ:...

5: พืชพันธุ์และท่อลำเลียงของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุยภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2001
Author(s)Maxwell, J. F. & S. Elliott
PublisherBiodiversity Research and Training Program (BRT)
Format
Book

การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับดอยสุเทพของแมกซ์ส่งผลให้อาจได้คำอธิบายพรรณไม้และพืชพรรณที่สมบูรณ์ที่สุดของพื้นที่คุ้มครองใด ๆ ในประเทศไทย...

6: ผลของกิจกรรมต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพป่าต่อความหลากหลายของไม้พื้นล่างและกล้าไม้

Publication date2000
Author(s)Khopai, O.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นและการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยใน การฟื้นฟูสภาพป่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของไม้พื้นล่างและกล้าไม้หรือไม...

7: วาระการวิจัยเชียงใหม่เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S.
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

ย้อนกลับไปในปี 2000 การวิจัยฟื้นฟูป่ายังห่างไกลจากทางหลัก...

8: การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า (2543)

Publication date2000
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

เอกสารการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ จัดโดย ITTO และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารการประชุม การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ซึ่งจัดในช่วงเดือน มกราคม -...

9: ผลของการป้องกันไฟป่าต่อการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ การสะสมเมล็ดพันธุ์และการปลูกต้นกล้าในป่าเต็งรัง-ไม้สน ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย

Publication date1997
Author(s)Monyrak, M
PublisherThe Graduate, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

มีการตั้งสมมติฐานในการปกป้องป่าเต็งรัง –ไม้สนจากไฟป่านั้นจะมีการแพร่กระจายเมล็ด สะสมเมล็ด...

10:   ผลของการป้องกันไฟป่าต่อความหลากหลายของพืช, ลักษณะของต้นไม้และธาตุอาหารในดินป่าเต็งรังของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย

Publication date1997
Author(s)Kafle, S.K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

พื้นที่ป่าเต็งรัง – โอ๊ค ขนาด 2 เฮกตาร์ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุยที่ได้รับการปกป้องจากไฟป่าเป็นเวลา 28 ปี ถูกเปรียบเทียบกับป่าที่ใกล้เคียงกัน...