FORRU
ห้องสมุด

ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Language:
Fire resilience of framework tree species in hill evergreen forest ecosystem
Date:
2016-06
Author(s):
Nippanon, P. & D. P. Shannon
Publisher:
3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Serial Number:
219
Suggested Citation:

Nippanon, P. & D. P. Shannon, 2016. Fire resilience of framework tree species in hill evergreen forest. Pages 57-64 in Proceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand, The Impress Nan Hotel, Nan Province, Thailand. June 15-17, 2016.

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวและการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศป่าภาคเหนือมักพบการรบกวนจากไฟในช่วงฤดูแล้ง ความสามารถฟื้นตัวได้หลัง ถูกไฟไหม้จึงเป็นคุณลักษณะส าคัญอย่างหนึ่งของกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติตตามสภาพของ พรรณไม้โครงสร้าง รวมทั้งพลวัตรและองค์ประกอบของสังคมพืชหลังถูกไฟไหม้ มีการบันทึกการเจริญเติบโต (เส้นผ่านศูนย์กลางคอราก ความสูง และความกว้างทรงพุ่ม) ความรุนแรงของไฟ และสังคมพืชพื้นล่างในแปลงฟื้นฟูอายุต่างกัน (อายุ 1 2 14 และ 17 ปี) จ านวน 3 ครั้ง คือ หลังแปลงถูกไฟไหม้เป็นเวลา 2 18 และ 30 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของไฟและขนาดของความกว้างคอราก ส่งผลต่อความสามารถในการรอดชีวิตของพรรณไม้โครงสร้าง ร้อยละการรอดชีวิตของแปลงอายุ 14 และ 17 ปี หลังโดนไฟไหม้ไม่มี ความแตกต่างกัน (ร้อยละ 87 และ 94 ตามล าดับ) ในขณะที่แปลงอายุ 1 และ 2 มีร้อยละการรอดชีวิตแตกต่างกันทางสถิติ(ร้อยละ 62 และ 22 ตามล าดับ) ในระดับชนิดพบว่ากล้าไม้ 7 ชนิด มีร้อยละการรอดชีวิตสูงจัดอยู่ในเกณฑ์ดี (>70) ได้แก่ เติม (Bischofia javanica) มะเดื่อใบใหญ่ (Ficus auriculata) ตาเสือทุ่ง (Heynea trijuca) มณฑาแดง (Manglietia garrettii) มะแฟน (Protium serratum) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และมะกอกห้ารู (Spondias axillaris) เมื่อพิจารณาความสามารถในการแตกกอ ใหม่หลังโดนไฟไหม้ พบว่ากล้าไม้ 8 ชนิด มีความสามารถดังกล่าวสูงกว่าชนิดอื่น ได้แก่ เติม (B. javanica) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) กล้วยฤๅษี (Diospyros glandulosa) มะเดื่อใบใหญ่ (F. auriculata) มณฑาแดง (M. garrettii) ตองหอม (Phoebe lanceolata) นางพญาเสือโคร่ง (P. cerasoides) และ มะยาง (Sarcosperma arboreum)