ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้ท้องถิ่นในระบบนิเวศป่าดิบเขา
Nippapon, P., 2018. Fire Resilience of Native Tree Species in a Montane Forest Ecosystem. MSc. Thesis, The Graduate School, Chiang Mai University
บทนำ: ระบบนิเวศป่าดิบเขาทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นน้ำและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ถูกเปลี่ยนไปเนื่องจากความต้องการใช้ประโยชน์พื้นที่ในหลายวัตถุประสงค์ การฟื้นฟูระบบนิเวศดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนระดับประเทศ เนื่องจากอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือคือการรุกรานของไฟในฤดูแล้ง การเลือกปลูกกล้าไม้ที่สามารถฟื้นตัวได้หลังไฟไหม้ จะช่วยเพิ่มความสำเร็จของการฟื้นฟู การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดลำต้นต่อความสามารถในการรอดชีวิตและการแตกหน่อใหม่หลังถูกไฟรบกวน และเพื่อค้นหากล้าไม้ชนิดที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดิบเขาที่เสี่ยงต่อการรุกรานของไฟ
ภายหลังเหตุการณ์ไฟไหม้แปลงฟื้นฟูป่าอายุ 1 2 14 และ 17 ปี (ปลูกเมื่อ พ.ศ. 2557 2556 2544 และ 2541 ตามลำดับ) ในช่วงฤดูแล้ง (เมษายน-พฤษภาคม) ของปี พ.ศ. 2558 มีการบันทึกข้อมูลจำนวน
ทั้งหมด 3 ครั้ง ที่ 2 18 และ 30 สัปดาห์ หลังจากเกิดไฟไหม้ บันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความสูง และจำนวนหน่อแตกใหม่ของต้นไม้ทุกต้นที่รอดชีวิตในแปลงตัวอย่างขนาด 40 x 40 เมตร ต่อแปลง ต้นไม้ในแปลงฟื้นฟูอายุมากมีร้อยละการรอดชีวิตหลังถูกไหม้สูง (ร้อยละ 95.3 และ 98.6 ในแปลงอายุ 14 และ 17 ปี ตามลำดับ) ขณะที่การรอดชีวิตของต้นไม้ในแปลงอายุน้อยมีค่าน้อยกว่ามาก (ร้อยละ 42.9 และ 39.8 ในแปลงอายุ 1 และ 2 ปี ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละการรอดชีวิตระหว่างการเก็บข้อมูลหลังไฟไหม้ทั้ง 3 ครั้ง ในแปลงอายุน้อยลดลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดลำต้นและการรอดชีวิตหลังถูกเผาโดยใช้ไค-สแควร์ การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และตัวแบบผสมเชิงเส้นวางในทั่วไป พบว่าขนาดของต้นมีผลต่อการรอดชีวิตอย่างมีนัยสาคัญ ต้นไม้ขนาดใหญ่จะมีโอกาสในการรอดชีวิตมากกว่าต้นไม้ขนาดเล็ก อาจเป็นเพราะมีเปลือกหนาปกป้องเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างส่วนวาสคิวลาร์แคมเบียมจากไฟ ซึ่งอาจทำให้ต้นไม้ตายจากการตายหรือการเสียรูปของเนื้อเยื่อส่วนลำต้น จากการทดลองนี้พบว่าต้นไม้ในแปลงฟื้นฟูที่มีขนาดลำต้นมากกว่า 40 มิลลิเมตร มีโอกาสในการรอดชีวิตเกือบร้อยละ 100
โดยภาพรวมขนาดลำต้นส่งผลทางลบต่อจำนวนหน่อที่แตกใหม่หลังถูกไฟไหม้ ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะสร้างหน่อใหม่จำนวนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เปลือกที่หนากว่าสามารถป้องกันตาพืชจากการรบกวนของไฟแต่ก็ยับยั้งการแตกหน่อใหม่ด้วยเช่นกัน หรืออาจเป็นเพราะตาของต้นไม้ขนาดใหญ่ที่อายุมากได้เสื่อมสภาพไปแล้ว เมื่อพิจารณาเฉพาะต้นไม้ขนาดเล็ก (ลำต้น <60 มิลลิเมตร) พบว่าจำนวนของหน่อแตกใหม่หลังถูกไฟไหม้เพิ่มขึ้นตามขนาดของลำต้น น่าจะสัมพันธ์กับความสามารถในการเก็บอาหารที่จำเป็นสำหรับกระบวนการสร้างหน่อใหม่ ความสามารถในการแตกหน่อใหม่หลังไฟไหม้จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของลำต้น จนกระทั่งต้นไม้โตถึงขนาดหนึ่งจะสูญเสียความสามารถดังกล่าวไป
จากดัชนีความเหมาะสม (คำนวณจากร้อยละการรอดชีวิต จำนวนหน่อที่แตกใหม่ต่อต้นและอัตราการเติบโตสัมพัทธ์) การศึกษานี้แนะนำพืชท้องถิ่น 12 ชนิด สำหรับการฟื้นฟูป่าดิบเขาในพื้นที่เสี่ยงต่อไฟพืช 3 ชนิดได้คะแนนในช่วงดีมาก (> ร้อยละ 75) ได้แก่ มณฑาแดง (Magnolia garrettii) เติม (Bischofia javanica) มะเดื่อใบใหญ่ (Ficus auriculata) พืช 7 ชนิดได้คะแนนอยู่ในช่วงยอมรับได้ (ร้อยละ 60 - 74) ได้แก่ มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida) ตาเสือทุ่ง (Heynea trijuga) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) ก่อใบเลื่อม (Castanopsis tribuloides) มะแฟน (Protium serratum) มะยาง (Sarcosperma arboreum) และหมอนหิน (Hovenia dulcis) และพืชจำนวน 2 ชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสำรอง (<ร้อยละ 60) ได้แก่ มะเดื่อกวาง (Ficus callosa) และพืชตระกูลอบเชย (Cinnamomum longipetiolatum)
จากดัชนีความเหมาะสม (คำนวณจากร้อยละการรอดชีวิต จำนวนหน่อที่แตกใหม่ต่อต้นและอัตราการเติบโตสัมพัทธ์) การศึกษานี้แนะนำพืชท้องถิ่น 12 ชนิด สำหรับการฟื้นฟูป่าดิบเขาในพื้นที่เสี่ยงต่อไฟ พืช 3 ชนิดได้คะแนนในช่วงดีมาก (> ร้อยละ 75) ได้แก่ มณฑาแดง (Magnolia garrettii) เติม (Bischofia javanica) มะเดื่อใบใหญ่ (Ficus auriculata) พืช 7 ชนิดได้คะแนนอยู่ในช่วงยอมรับได้ (ร้อยละ 60 - 74) ได้แก่ มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida) ตาเสือทุ่ง (Heynea trijuga) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) ก่อใบเลื่อม (Castanopsis tribuloides) มะแฟน (Protium serratum) มะยาง (Sarcosperma arboreum) และหมอนหิน (Hovenia dulcis) และพืชจา นวน 2 ชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสำรอง (<ร้อยละ 60) ได้แก่ มะเดื่อกวาง (Ficus callosa) และพืชตระกูลอบเชย (Cinnamomum longipetiolatum)