FORRU
ห้องสมุด

การพัฒนาดัชนีความเสื่อมโทรมของป่าเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้โดยใช้ภาพถ่ายอาร์จีบีจากอากาศยานไร้คนขับ

Language:
Developing a Forest-Degradation Index for Forest Ecosystem Restoration Using UAV-based RGB Photography
Date:
2021
Author(s):
Kyuho Lee
Publisher:
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number:
235
Suggested Citation:

Lee, K., 2021. Developing a Forest-Degradation Index for Forest Ecosystem Restoration Using UAV-based RGB Photography. MSc thesis, the Graduate School, Chiang Mai University 

บทนำ: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่ามีความสำคัญต่อการวางแผนการฟื้นฟู การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่สร้างดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า (forest-degradation index: FDI) โดยอาศัยข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับ (UAV) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่จะทดแทนการสารวจภาคพื้นดินแบบเดิมที่ใช้กาลังคนมากในการเก็บข้อมูลที่ซับซ้อน การศึกษาประกอบด้วยการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้จาก UAV และข้อมูลภาคพื้นดิน และการสร้าง FDI วิธีศึกษาเริ่มจากการถ่ายภาพพื้นที่โดยใช้ UAV คู่ไปกับการเก็บข้อมูลภาคพื้นดินในแปลงฟื้นฟูป่า 5 แปลง ซึ่งมีระดับความเสื่อมโทรมแตกต่างกัน ภาพถ่ายถูกประมวลผลเพื่อสร้างโมเดลความสูงของเรือนยอดและสร้างภาพถ่ายออร์โธที่ใช้ในการวัดตัวแปร 6 ตัวของการวัดระดับความเสื่อมโทรม การศึกษาพบว่าตัวแปร 4 ตัวที่แสดงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญระหว่างข้อมูลจาก UAV และภาคพื้นดิน คือ ความหนาแน่นของต้นไม้ (r = 0.84) ร้อยละการปกคลุมของเรือนยอด (r = 0.91) ร้อยละการปกคลุมของพืชพื้นล่าง (r = 0.84) และร้อยละของพื้นดินที่เปิดโล่ง (r = 0.75) ในการสร้าง FDI ค่าร้อยละการปกคลุมของเรือนยอดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับตัวแปรอื่นจึงถูกตัดออกเพื่อป้องกันการถ่วงน้าหนักที่มากเกินไป ตัวแปร 3 ตัวที่เหลือถูกถ่วงน้าหนักโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับค่าตัวแปรให้เป็นปกติ (นอร์มัลไลเซชัน) ค่า FDI ที่คานวณได้สามารถประเมินความเสื่อมโทรมและจัดอันดับพื้นที่ตามสภาพความเสื่อมโทรมได้ แต่ FDI มีข้อจากัด คือ 1) ไม่สามารถแสดงถึงจุดเปลี่ยนระหว่างระดับความเสื่อมโทรมได้ชัดเจนเหมือนเกณฑ์จากข้อมูลภาคพื้นดิน 2) FDI เป็นค่าต่อเนื่อง การแบ่งค่าระดับไม่จาเพาะเจาะจง และ 3) FDI ขาดองค์ประกอบด้านภูมิทัศน์ของพื้นที่ ด้วยข้อจากัดดังกล่าว การใช้ FDI ร่วมกับการพิจารณาข้อมูลภาคพื้นดินอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดสาหรับการวางแผนการฟื้นฟูป่า