การจำลองสถานการณ์ต่างๆของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในอนาคตที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม: กรณีศึกษาในลุ่มน้ำเชียงใหม่-ลำพูน
Arunsurat, R., Wangpakapattanawong, P., Sharp, A., & Khokthong, W. Multi-Scenario Simulations of Future Forest Cover Changes Influenced by Socio-Economic Development: A Case Study in the Chiang Mai-Lamphun Basin.EnvironmentAsia. 16(1),1-15.DOI: 10.14456/ea.2023.1
Contributors
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค Markov-cellular automata และ Multi-layer perceptron (Markov-CA-MLP) เพื่อจำลองแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตในปี 2573 และ 2593 และยังอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากสถานการณ์ทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปี 2564 นอกจากนี้ ข้อมูลแสดงความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจากปี 2564 ได้ถูกนำมาสร้างแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม นั่นคือ Business-as-usual (BaU), Ecological protection scenario (EPS) และ Baseline development scenario (BDS) ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวได้ถูกตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของแบบจำลองจากการสำรวจภาคพื้นดิน 534 จุด ในปี 2564 แสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง BaU ในปี 2564 มีความถูกต้องแม่นยำโดยรวมสูงสุด (82.77%) ซึ่งมีค่า Kappa เท่ากับ 0.7846 รวมถึงแสดงค่า Quantity disagreement สูงสุด คือ 0.0693 อีกทั้ง BaU ในปี 2050 ยังเผยให้เห็นการลดลงของพื้นที่ป่า (6.70%) ขณะที่พื้นที่เมืองและพื้นที่เกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้น 5.57% และ 0.88% ตามลำดับ หากวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี 2021 ถึง 2050 ของ BaU พบพื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม (6.04%) พื้นที่เกษตรกรรมถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เมือง (4.62%) และพื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เมือง (1.59%) โดย BDS แสดงระดับความถูกต้องแม่นยำต่ำสุดเมื่อเทียบกับ BaU และ EPS การศึกษานี้จึงสามารถใช้ประโยชน์ในการจัดการด้านพื้นที่ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้