คำแนะนำ

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

  

เมล็ดเปรียบเสมือนภาชนะที่อัดแน่นไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์จากพ่อแม่ที่จะส่งผ่านไปให้กับชีวิตใหม่ ซึ่งจะเติบโตไปเป็นต้นไม้ใหญ่ซึ่งจะมีชีวิตยืนยาวนับร้อยปี ดังนั้น เมล็ด จึงเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการฟื้นฟูป่าและการอนุรักษ์ เพื่อรักษาความมีชีวิตของเมล็ดไว้ จึงควรมีการเก็บและการจัดการกับเมล็ดโดยวิธีการที่ถูกต้อง

Indian gooseberry

การเก็บเมล็ด (seed collection)

seed

ในเขตป่าภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยพรรณไม้นานาชนิดที่ผลัดกันออกผลในทุกเดือนของปี ดังนั้น การเก็บเมล็ดจึงสามารถทำได้ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละครั้ง ผลหรือเมล็ดจะถูกเก็บในช่วงที่พร้อมหรือแก่เต็มที่ สามารถสังเกตจากสีที่เปลี่ยนแปลงไป การเข้ามาของสัตว์ที่กินผล และการเริ่มมีผลกระจายร่วงหล่นลงจากต้นแม่ไม้ ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดตามข้อมูลชีพลักษณ์ของต้นไม้แต่ละชนิด โดยปกติการเก็บผลหรือเมล็ดโดยตรงจากต้นแม่ไม้เป็นวิธีการเก็บที่ดีกว่ารอให้ร่วงหล่นลงแล้วเก็บจากพื้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเข้าทำลายโดยสัตว์ แมลงและเชื้อรามากขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเก็บเมล็ดคือการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ด ดังนั้น การเก็บผลหรือเมล็ดชนิดหนึ่งๆ ควรเก็บจากต้นแม่ไม้หลาย ๆ ต้น หรืออย่างน้อย 10 ต้น ทุกครั้งที่มีการเก็บเมล็ดจากต้นใหม่ ควรมีการบันทึกเลขที่ต้นที่เฉพาะและข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับต้นไม้นั้น ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับชนิด ถิ่นที่อยู่ วันเวลาที่เก็บ เป็นต้น

หลังจากการเก็บเมล็ด เมล็ดของต้นไม้ส่วนใหญ่จะต้องมีการเอาเนื้อผลออกและทำความสะอาดก่อนการเพาะหรือการจัดเก็บ เพื่อให้ได้เมล็ดที่มีความสมบูรณ์ และลดการเกิดของรา กระบวนการจัดการกับเมล็ดอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดนั้น ๆ

ธนาคารเมล็ด (Seed banking )

seed

ธนาคารเมล็ดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเก็บรักษาความหลากหลายของชนิดของพืชหรือต้นไม้โดยใช้เมล็ด และเป็นการเก็บรักษาแหล่งเมล็ดพันธุ์สำหรับโครงการการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า ภารกิจของธนาคารเมล็ดประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย เช่น การเก็บเมล็ดพร้อมจำแนกชนิด การทำความสะอาดเมล็ดและขั้นตอนการจัดการก่อนเข้าสู่กระบวนการเก็บรักษา และวิธีการจัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับเมล็ดแต่ละชนิด

เป้าหมายสำหรับโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์คือการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นและจัดเก็บข้อมูลของพรรณไม้เหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสามารถใช้เป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าและการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

การจัดเก็บสำหรับธนาคารเมล็ด (Seed storage for seed bank)

seedภายหลังจากขั้นตอนการเก็บเมล็ดและการจัดการคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ วิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะมีผลต่ความสมบูรณ์และความมีชีวิตของเมล็ด ซึ่งกระบวนการสำหรับการจัดเก็บเมล็ดเพื่อ; 1) ต้องการเก็บรักษาเมล็ดให้นานที่สุดเพื่อเป็นแหล่งชนิดพันธุ์ในปีต่อไปหรือในอนาคต 2) ในบางกรณีเมล็ดที่เก็บมาอาจไม่ได้ถูกนำมาเพาะทันที จึงต้องมีการเก็บรักษาเมล็ดไว้เพื่อรอฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต และ 3) เมล็ดพันธุ์อาจจำเป็นต้องถูกเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นที่ชนิดพันธุ์นั้นหาได้ยาก ไม่สามารถหาต้นไม้แม่หรือเมล็ดได้ (หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า, 2549)

ความท้าทายในการเก็บรักษาเมล็ดสำหรับธนาคารเมล็ด คือ การออกแบบวิธีการหรือระบบการเก็บรักษาให้เหมาะสมกับลักษณะของเมล็ดแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับลักษณะเมล็ดและพฤติกรรมการตอบสนองต่อสภาพการจัดเก็บที่แตกต่างกันของเมล็ดแต่ละชนิด การจัดเก็บเมล็ดโดยทั่วไปมักจะสร้างสภาวะการจัดเก็บที่แห้งและเย็น เพื่อป้องกันการเกิดของเชื้อราซึ่งชอบความชื้น เมล็ดบางชนิดสามารถเก็บรักษาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ไปจนถึงยาวนานนับร้อยปี ในขณะที่บางชนิดไม่สามารถทนทานต่อสภาพแห้งของสภาวะการจัดเก็บได้ จึงไม่สามารถเก็บรักษาได้โดยวิธีการเก็บแบบปกติ ดังนั้น ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพฤติกรรมการตอบสนองต่อสภาพแห้งของเมล็ดจึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการจัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด

การจัดจำแนกพฤติกรรมของเมล็ด (Identify seed storage behavior)

เมล็ดพันธุ์พืชสามารถจำแนกตามการตอบสนองต่อสภาพแห้งของการเก็บรักษา ได้เป็น 3 ชนิดหลัก ดังต่อไปนี้

  • เมล็ดแบบ orthrodox เป็นเมล็ดที่สามารถทนต่อสภาพแห้งได้ดี และสามารถลดปริมณน้ำในเมล็ดให้ต่ำสุดได้ถึง 5% โดยที่เมล็ดไม่เสียหายหรือสูญเสียความมีชีวิต เมล็ดยังสามารถงอกได้เมื่อนำไปเพาะโดยวิธีการเพาะปกติ เมล็ดจะมีอายุยืนยาวขึ้นหากเก็บรักษาในสภาวะที่มีความชื้นและอุณหภูมิต่ำ (Bonner 1990)
  • เมล็ดแบบ recalcitrant เป็นเมล็ดที่ไม่สามารถทนต่อสภาพแห้งหลังจากการเก็บเกี่ยวได้ เมล็ดชนิดนี้สูญเสียความมีชีวิต หากปริมาณน้ำในเมล็ดลดลงต่ำกว่าปริมาณความชื้นในเมล็ดปกติ หรือลดลงเหลือที่ประมาณ 20 – 30% (Pritchards et al. 2004) หากนำเมล็ดในกลุ่มนี้ไปจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำโดยที่ไม่ได้ลดปริมาณน้ำในเมล็ด จะทำให้เมล็ดได้รับความเสียหายจากผลึกน้ำแข็งในเซลล์ระหว่างการจัดเก็บได้
  • เมล็ดแบบ intermediate เป็นเมล็ดที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสองชนิดหลัก orthrodox และ recalcitrant เมล็ดในกลุ่มนี้อาจสามารถทนทานต่อสภาพที่แห้งของสภาวะการจัดเก็บเมล็ดได้ บางครั้งอาจลดปริมาณน้ำในเมล็ดให้ต่ำได้ถึง 7-10% อย่างไรก็ตามเมล็ดในกลุ่มนี้จะสูญเสียความมีชีวิตหากถูกจัดเก็บในสภาวะที่มีอุณหภูมิต่ำ

seedข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเก็บรักษาเมล็ดได้ถูกเก็บรวบรวมและนำเสนอในฐานข้อมูลธนาคารเมล็ด แต่นั้นเป็นเพียงบางส่วนของชนิดพันธุ์ทั้งหมดที่พบในประเทศไทย การจัดจำแนกเมล็ดตามพฤติกรรมการตอบสนองต่อสภาพแห้งทั้ง 3 แบบ โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มีต้นไม้อีกมากมายที่ยังขาดข้อมูลการจัดเก็บและต้องการการศึกษาเพื่อระบุพฤติกรรมการจัดเก็บที่เหมาะสม หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มช (FORRU-CMU) เป็นหนึ่งในหน่วยวิจัยที่พยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ด พันธกิจหนึ่งของหน่วยวิจัยฯ คือการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ของต้นไม้ที่มีความสอดคล้องกับโครงการการอนุรักษ์และการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า ซึ่งโครงการเหล่านั้นอยู่ภายใต้การจัดการของทีมงานซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ทางหน่วยวิจัยฯ ได้เริ่มสำรวจชนิดของพรรณไม้ ประชากร ตำแหน่งของต้นไม้ และเก็บรวบรวมเมล็ดจากพรรณไม้เหล่านั้น เมล็ดส่วนใหญ่ที่เก็บจะถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตกล้าในเรือนเพาะชำกล้าไม้ และเมล็ดบางส่วนได้ถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพฤติกรรมการเก็บรักษาเมล็ด

ในปัจจุบันนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และประชากรของต้นไม้หลายชนิด และยังส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์พืชในถิ่นที่อยู่เดิมของพืชเหล่านั้น การเก็บรักษาเมล็ดจึงเป็นความหวังหนึ่ง สำหรับการผลิตกล้าและนำต้นกล้านั้นกลับเข้าไปสู่ถิ่นที่อยู่เดิม หรือสามารถใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อื่นๆได้ 

โครงการการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์และธนาคารเมล็ดของหน่วยวิจัยฯ มีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ทำโครงการร่วมกัน เช่น Millennium Seed Bank KEW garden, ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ คณะวิทยาศาสตร์ มช. และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

 

Duration:  - 
โครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์ไม้ยืนต้นโลก ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิการ์ฟิลด์เวสตัน (Garfield Weston) โดยผ่าน สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (The Royal Botanic Gardens, Kew) มีเป้าหมายเพื่อรักษาพันธุ์ต้นไม้ที่ถูกคุกคาม หายากและนำมาใช้ประโยชน์ได้จำนวน 5,000 ชนิด หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าร่วมมือกับ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีส่วนร่วมในโครงการนี้โดยทำการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ต้นและไม้พุ่ม จำนวน 300 ชนิด และจัดทำแบบประเมินเพื่อการอนุรักษ์และแผนที่กระจายพันธุ์ไม้ของประเทศไทยจำนวน 225 ชนิด

1: แนวทาง 10 ประการสำหรับโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน การฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ และประโยชน์ในการดำรงชีวิต

Publication date2021
Author(s)Di Sacco, A., K. Hardwick, D. Blakesley, P.H.S. Brancalion, E. Breman, L.C. Rebola, S. Chomba, K. Dixon, S. Elliott, G. Ruyonga, K. Shaw, P. Smith, R.J. Smith & A. Antonelli
PublisherWiley: Glob. Change Biol. 27:1328-1348
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างเร่งด่วนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีความคิดริเริ่มในการปลูกต้นไม้ที่มีมากขึ้น หลายโครงการกำลังดำเนินการอยู่...

2: การหาตำแหน่งและจำแนกชนิดต้นแม่ไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ  

Publication date2021
Author(s)Rai, K. R. & S. Elliott
PublisherPreprint
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การระบุตำแหน่งที่รวดเร็วและแม่นยำของต้นไม้ที่ต้องการภายในป่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ หากจะบรรลุเป้าหมายการฟื้นฟูป่าทั่วโลก เช่น Bonn Challenge (มีการฟื้นฟูป่า 350 ล้านเฮคเตอร์ภายในปี ค.ศ....

3: พฤติกรรมการจัดเก็บเมล็ดของพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date11 Jun 2019
Author(s)Waiboonya, P., S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherEnv. Asia.12(3):104-111. DOI 10.14456/ea.2019.50
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ : การเก็บรักษาเมล็ดพรรณไม้ท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาวิธีการฟื้นฟูป่าโดยใช้เมล็ด เช่น...

4: การระบุชนิดและตำแหน่งของต้นไม้ของพรรณไม้โครงสร้างโดยการใช้การถ่ายภาพจากอากาศยานไร้คนขับ

Publication date2019
Author(s)Rai, K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ           ความจำเป็นในการระบุตำแหน่งและชนิดของกล้าไม้ให้มีศักยภาพนั้น ได้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อช่วยในการบรรลุเป้าหมายตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยป่าไม้ ณ เมืองนิวยอร์กปี 2557...

5: ระยะเวลาและความสำเร็จในการเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้พื้นเมืองโดยตรงเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในภาคเหนือ

Publication date2019
Author(s)Waiboonya, P. & S. Elliott
PublisherNew Forests:  81-99. https://doi.org/10.1007/s11056-019-09720-1
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:  การเพาะเมล็ดโดยตรง (การหว่านเมล็ดลงดินโดยตรง) อาจเป็นวิธีการฟื้นฟูป่าที่คุ้มค่า ซึ่งสามารถทดแทนหรือเสริมการปลูกต้นไม้แบบเดิมได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ...

6: ผู้ล่าเมล็ดก่อนการแพร่กระจายและเชื้อราที่ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาแคปซูล การงอก และการพักตัวของเมล็ด Luehea seemannii ในป่าปานามาสองแห่ง  

Publication date2017
Author(s)Tiansawat, P., N.G. Beckman & J.W. Dalling
PublisherBiotropica 49(6):871-880
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายสามารถลดขนาดพืชที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดหาได้อย่างมาก นอกจากนี้ความเสียหายที่ไม่ร้ายแรงโดยนักล่าเมล็ดพันธุ์...

7: การพัฒนาเทคนิคใหม่ของการเก็บรักษาเมล็ดและการหยอดเมล็ด สปีชีส์ต้นไม้พื้นเมืองเพื่อการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2017
Author(s)Waiboonya, P.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การหยอดเมล็ด หรือการนำเมล็ดปลูกลงพื้นที่ปลูกโดยตรง เป็นวิธีการที่ประหยัดในการนำมาใช้ฟื้นฟูป่า...

8: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

9: บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติในการฟื้นฟูระบบนิเวศ

Publication date2011
Author(s)Hardwick K. A., P. Fiedler, L. C Lee, B. Pavlik, R. J Hobbs, J. Aronson, M. Bidartondo, E. Black, D. Coates, M. I Daws, K. Dixon, S. Elliott, et. al.
PublisherWiley, Conservation Biology 25(2):265-275
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ทักษะและทรัพยากรหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ รวมถึงอนุกรมวิธานพืช พืชสวน และการจัดการธนาคารเมล็ด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความพยายามในการฟื้นฟูระบบนิเวศ...

10: งานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน คู่มือดำเนินการ

Publication date2008
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & S. Chairuangsri
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

          คู่มือทางเทคนิคนี้มุ่งเป้าไปที่นักวิจัยและหัวหน้างาน คู่มือทางเทคนิคนี้อธิบายถึงวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าอธิบายวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าไม้(FORRU)...