FORRU
ห้องสมุด

บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติในการฟื้นฟูระบบนิเวศ

Language:
The role of botanic gardens in the science and practice of ecological restoration
Date:
2011
Author(s):
Hardwick K. A., P. Fiedler, L. C Lee, B. Pavlik, R. J Hobbs, J. Aronson, M. Bidartondo, E. Black, D. Coates, M. I Daws, K. Dixon, S. Elliott, et. al.
Publisher:
Wiley, Conservation Biology 25(2):265-275
Serial Number:
86
Suggested Citation:

Hardwick, K, P. Fiedler, L. Lee, B. Pavlik, R. Hobbs, S. Hopper, J. Aronson, M. Bidartondo, E. Black, D. Coates, M. Daws, K. Dixon, S. Elliott, K. Ewing, G. Gann, D. Gibbons, J. Gratzfeld, M. Hamilton, D. Hardman, J. Harris, P. Holmes, D. Mabberley, A. Mackenzie, C. Magdelena, R. Marrs, M. Ramsay, P. Smith, N. Taylor, C. Trivedi, M. Way, O. Whaley, 2011. Defining the role of botanic gardens in the science and practice of ecological restoration. Conservation Biology, 25(2):265-275.

บทคัดย่อ: ทักษะและทรัพยากรหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ รวมถึงอนุกรมวิธานพืช พืชสวน และการจัดการธนาคารเมล็ด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความพยายามในการฟื้นฟูระบบนิเวศ แต่มีสวนพฤกษศาสตร์เพียงไม่กี่แห่งในโลกที่มีพันธกิจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือแนวปฏิบัติในการฟื้นฟู ดังนั้นเราจึงได้ทำการศึกษาบทบาทที่เป็นไปได้ของสวนพฤกษศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวนี้ เราเชื่อว่าการปรับทิศทางของจุดแข็งบางอย่างที่สถาบันมีอยู่แล้ว เช่น การวิจัยด้านพืชและการถ่ายทอดความรู้ จะช่วยให้สวนพฤกษศาสตร์หลายแห่งทั่วโลกสามารถให้การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพในด้านการฟื้นฟู เราแนะนำให้สวนพฤกษศาสตร์ขยายขอบเขตของการวิจัย รวมถึงระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ เพิ่มการมีส่วนร่วมในโครงการฟื้นฟูและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานจริง และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลสำหรับการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล