การหาตำแหน่งและจำแนกชนิดต้นแม่ไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ
Rai, K.B. & S. Elliott, 2021. Locating and identifying seed tree species for forest restoration in northern Thailand using an unmanned aerial vehicle. Preprint.
Contributors
บทคัดย่อ: การระบุตำแหน่งที่รวดเร็วและแม่นยำของต้นไม้ที่ต้องการภายในป่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ หากจะบรรลุเป้าหมายการฟื้นฟูป่าทั่วโลก เช่น Bonn Challenge (มีการฟื้นฟูป่า 350 ล้านเฮคเตอร์ภายในปี ค.ศ. 2030) ในป่าทึบ การหาเมล็ดพันธุ์จากพื้นดินเป็นเรื่องยากและไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทัศนวิสัยและการเข้าถึงพื้นที่ ในทางตรงกันข้าม การใช้เฮลิคอปเตอร์ที่มีสี่ใบพัด (quadcopter) กับกล้องความละเอียดสูงเพื่อสำรวจเรือนยอดของต้นไม้จากอากาศเป็นวิธีการที่ราคาถูกและเป็นมิตรกับผู้ใช้ ในการศึกษานี้ ได้รวมภาพถ่ายโดรน วิธีการทางอนุกรมวิธาน (โดยใช้ลักษณะใบและเรือนยอด) และการกรองภาพ (image filtering) เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาคีย์เพื่อจำแนกความแตกต่างของพันธุ์ไม้ 9 ชนิด จากการบินสำรวจแบบอัตโนมัติทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ถึงมกราคม 2562 ในพื้นที่ฟื้นฟูป่าดิบในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย มีการใช้อาสาสมัครผู้สังเกตการณ์ในการทดสอบความน่าเชื่อถือของคีย์ โดยใช้รูปภาพหนึ่งจากพื้นที่สำรวจที่อายุเท่ากัน โดยรวมสำหรับต้นไม้เป้าหมายทั้ง 7 ชนิด มีความแม่นยำในการระบุชนิดมากกว่า 50% และเกินกว่า 70% สำหรับ 4 ชนิด อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการระบุชนิดนั้นแปรผันตามฤดูกาล โดยมีความน่าเชื่อถือสูงสุด (มักจะอยู่ที่ 100%) สำหรับชนิดส่วนใหญ่ ในช่วงที่ชีพลักษณ์โดดเด่นที่สุด ดังนั้น การพัฒนาและการใช้ระบบระบุชนิดต้นไม้ทางอากาศจะขึ้นอยู่กับการสร้างฐานข้อมูลของลักษณะพันธุ์ไม้ ที่มองเห็นได้จากโดรน และความแปรปรวนตามฤดูกาลของพวกมัน