FORRU
ห้องสมุด

แนวทาง 10 ประการสำหรับโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน การฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ และประโยชน์ในการดำรงชีวิต

Language:
แนวทาง 10 ประการสำหรับโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน การฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ และประโยชน์ในการดำรงชีวิต
Date:
2021
Author(s):
Di Sacco, A., K. Hardwick, D. Blakesley, P.H.S. Brancalion, E. Breman, L.C. Rebola, S. Chomba, K. Dixon, S. Elliott, G. Ruyonga, K. Shaw, P. Smith, R.J. Smith & A. Antonelli
Publisher:
Wiley: Glob. Change Biol. 27:1328-1348
Serial Number:
207
Suggested Citation:

Di Sacco, A., K. Hardwick, D. Blakesley, P.H.S. Brancalion, E. Breman, L.C. Rebola, S. Chomba, K. Dixon, S. Elliott, G. Ruyonga, K. Shaw, P. Smith, R.J. Smith & A. Antonelli, 2021. Ten golden rules for reforestation to optimize carbon sequestration, biodiversity recovery and livelihood benefits. Global Change Biology 27:1328-1348. (doi.org/10.1111/gcb.15498)

บทคัดย่อ: การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างเร่งด่วนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีความคิดริเริ่มในการปลูกต้นไม้ที่มีมากขึ้น หลายโครงการกำลังดำเนินการอยู่ มีเป้าหมายที่จะกักเก็บคาร์บอนจำนวนมหาศาลเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การปลูกต้นไม้ที่ขาดการวางแผนและดำเนินการที่ดี จะเพิ่มการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และส่งผลเสียในระยะยาวต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิประเทศ และการดำรงชีวิต ในที่นี้ เราได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของการปลูกต้นไม้ในสเกลขนาดใหญ่และเสนอกฎทอง 10 ข้อ ซึ่งอ้างอิงจากการวิจัยทางนิเวศวิทยา เพื่อดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ให้มีอัตราการกักเก็บคาร์บอนและการฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการดำรงชีวิต ดังต่อไปนี้ (1) ปกป้องป่าที่มีอยู่เดิม (2) การทำงานร่วมกัน (ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด) (3) มุ่งหวังที่จะฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพให้สูงสุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลายประการ (4) เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการฟื้นฟู (5) ทำให้เกิดการฟื้นตัวตามธรรมชาติหากสามารถทำได้ (6) คัดเลือกชนิดพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด (7) ใช้ต้นไม้ที่มีความยืดหยุ่น (โดยมีความแตกต่างและแหล่งที่มาทางพันธุกรรมที่เหมาะสม) (8) วางแผนล่วงหน้าสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน กำลังการผลิต และการจัดหาเมล็ดพันธุ์ (9) เรียนรู้โดยการทำ (โดยใช้แนวทางการจัดการแบบปรับตัว) และ (10) จัดสรรค์การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ (การประกันความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของโครงการ) เรามุ่งเน้นที่การออกแบบกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ และสนับสนุนความต้องการในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังเน้นย้ำบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในฐานะแหล่งความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน และประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับจากความสำเร็จของการฟื้นฟูป่า ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบนิเวศและให้ผลิตภัณฑ์และบริการด้านป่าไม้ที่หลากหลาย แม้ว่าจะไม่มีสูตรสำเร็จที่เป็นสากลสำหรับการฟื้นฟูป่า แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องสร้างความสนใจจากภาครัฐและเอกชนที่กำลังเติบโตในประเด็นนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าการเข้าไปฟื้นฟูจะทำให้เกิดการกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว และให้ประโยชน์สูงสุดสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพและผู้คน