คำแนะนำ

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

การวางแผนโครงการฟื้นฟูป่าเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและซับซ้อน เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก ซึ่งมักมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันว่าจะดำเนินการโครงการนี้ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร หากเริ่มจากศูนย์ การเตรียมการเหล่านี้อาจใช้เวลา 1-2 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเริ่มกระบวนการวางแผนล่วงหน้าให้ดี

การกำหนดวัตถุประสงค์

Site survey
เลือกระบบนิเวศป่าไม้เป้าหมายที่อยู่ใกล้เคียงเป็นพื้นที่อ้างอิงและสำรวจพืชและสัตว์ป่าที่อยู่ภายในพื้นที่เพื่อช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ

การสำรวจตัวอย่างของระบบนิเวศป่าไม้เป้าหมายเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการโดยใช้แผนที่ภูมิประเทศ, Google Earth หรือโดยการเข้าไปในจุดที่เห็นมุมมองพื้นที่ สำหรับลักษณะของป่าอ้างอิง ควรจะเป็นดังต่อไปนี้:

  • เป็นพื้นที่ที่มีป่าเสถียร (climax forest) แบบเดียวกับที่ที่จะฟื้นฟู
  • เป็นหนึ่งในป่าที่ถูกรบกวนน้อยที่สุดที่เหลืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง
  • อยู่ใกล้กับพื้นที่ฟื้นฟูให้มากที่สุด
  • มีสภาวะที่คล้ายกันกับพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟู (เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล ความชัน ทิศด้านลาด ฯลฯ)
  • สามารถเข้าถึงได้สำหรับการสำรวจและ/หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเข้าร่วมการสำรวจป่าอ้างอิง และใช้โอกาสในการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้น: ประวัติของป่าที่เหลืออยู่และสาเหตุที่ทำให้ป่านั้นไม่ถูกทำลาย การใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ที่ได้บันทึกไว้ คุณค่าของป่าเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เนื้อไม้ การปกป้องพื้นที่ต้นน้ำ ฯลฯ รวมไปถึงสัตว์ป่าที่เคยเห็นในพื้นที่

ปรับป่าให้เข้ากับภูมิทัศน์

การพิจารณาภูมิทัศน์ทั้งหมดในการวางแผนการฟื้นฟูได้รับการกำหนดรูปแบบให้เป็นทางการภายใต้กรอบของการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ (FLR) คือ “กระบวนการตามแผนซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในภูมิประเทศที่ถูกทำลายหรือเสื่อมโทรม” มีขั้นตอนที่การตัดสินใจฟื้นฟูระดับพื้นที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระดับภูมิทัศน์ เป้าหมายของ FLR คือ การประนีประนอมระหว่างการตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสัตว์ป่า โดยการฟื้นฟูการทำงานของป่า ในระดับภูมิทัศน์

การเลือกพื้นที่สำหรับการฟื้นฟู

การฟื้นฟูป่าในระยะสั้นอาจมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง (แม้ว่าจะคุ้มค่ากว่าการปล่อยให้ความเสื่อมโทรมดำเนินต่อไป) ดังนั้นจึงควรดำเนินการเป็นอันดับแรกในพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศ เช่น การปกป้องแหล่งน้ำ การป้องกันการพังทลายของดิน และ การเชื่อมป่าที่ตัดขาดจากกัน

Degradation stages
การจับคู่วิธีการฟื้นฟูกับระดับความเสื่อมโทรมของป่าไม่เพียงแต่มีความสำคัญทางด้านระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดงบประมาณในการฟื้นฟูได้อีกด้วย สามารถใช้แผนภูมินี้เพื่อระบุ " tipping points" ที่พื้นที่ของคุณและเลือกกลยุทธ์การฟื้นฟูที่เหมาะสมที่สุด

การดำเนินการประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว (RSA) เพื่อประเมินศักยภาพสำหรับการฟื้นฟูตามธรรมชาติและระบุปัจจัยจำกัดที่ขัดขวางการฟื้นตัวของป่า เป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการฟื้นฟู ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การฟื้นฟูโดยรวม และหากจำเป็นต้องปลูกต้นไม้ สามารถใช้คำนวณจำนวนต้นไม้และชนิดที่จะปลูกได้ คลิกที่ภาพด้านล่างเพื่อดูวิธีการดำเนินการ

Rapid site assessment
คลิกที่รูปภาพเพื่อดูคำแนะนำในการประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

การร่างแผนโครงการ

เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดมีส่วนร่วมในกิจกรรมก่อนการวางแผน ก็ถึงเวลาสำหรับการประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อร่างแผนโครง ซึ่งประกอบด้วย:

  • จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • คำชี้แจงที่ชัดเจนของผลประโยชน์ที่คาดหวังจากโครงการและข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด;
  • คำอธิบายเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะทำการฟื้นฟู;
  • วิธีการที่จะใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการติดตาม (และการวิจัย)
  • ตารางงาน ระบุรายละเอียดว่าใครจะต้องรับผิดชอบงานส่วนใด และการคำนวณแรงงานที่จำเป็นในการดำเนินการแต่ละงานให้เสร็จสิ้น
  • งบประมาณ

การระดมทุน

เงินทุนสำหรับโครงการฟื้นฟูป่าอาจมาจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ การรณรงค์หาทุนอย่างจริงจังควรกำหนดเป้าหมายแหล่งเงินทุนที่เป็นไปได้หลายแห่ง

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

Publication dateOct 2023
Author(s)พนิตนาถ แชนนอน
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป...

4: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

5: เกาะต้นไม้ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบในภูมิทัศน์ปาล์มน้ำมัน

Publication date24 May 2023
Author(s)Zemp, D.C., N. Guerrero-Ramirez, F. Brambach, K. Darras, I. Grass, A. Potapov, A. Röll, I. Arimond, J. Ballauff, H. Behling, D. Berkelmann, S. Biagioni, D. Buchori, D. Craven, R. Daniel, O. Gailing, F. Ellsäßer, R. Fardiansah, N. Hennings et al.
PublisherNature
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:...

6: การใช้ภาพถ่าย RGB จากอากาศยานไร้คนขับเพื่อหาตัวแปรบ่งชี้เชิงปริมาณของความเสื่อมโทรมและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน  

Publication date16 Mar 2023
Author(s)Lee, K.; Elliott, S.; Tiansawat, P.
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การจำแนกระดับของความเสื่อมโทรมของป่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน...

7: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

8: วิธีพรรณไม้โครงสร้าง - การใช้ประโยชน์จากการฟื้นฟูตามธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Elliott, S., N.I.J. Tucker, D. Shannon & P. Tiansawat
PublisherPreprint (submitted to Phil. Trans. B.)
Format
Journal Paper

บทนำ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าโดยปลูกต้นไม้ในพื้นที่เปิดใกล้กับป่าธรรมชาติ โดยชนิดพรรณไม้เป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะเฉพาะเหมาะกับพื้นที่นั้น และเร่งการฟื้นตัวของระบบนิเวศ...

9: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

10: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการวางแผนและติดตามการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า: ในส่วนดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า

Publication dateNov 2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherCGIAR Research Program on Forests, Trees and Agroforestry and Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: โครงการริเริ่มระดับโลก เช่น Bonn Challenge และ New York Declaration on Forests ก่อให้เกิดโครงการฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ...