คำแนะนำ

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

เตรียมปลูก

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกป่า -  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกต้นไม้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในดิน ณ ช่วงเวลานั้น ในพื้นที่ที่มีฤดูกาลชัดเจน ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นไม้มากที่สุด คือ ต้นฤดูฝน เมื่อฝนตกอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ การปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูฝนเปิดโอกาสให้กล้าไม้มีเวลาในการพัฒนาระบบรากที่ลึกพอสำหรับนำน้ำมาใช้ในช่วงฤดูแล้งแรกหลังปลูก และไม่แห้งตายเมื่อฤดูแล้งมาถึง ในภาคเหนือของประเทศไทยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูก คือ กลางเดือนมิถุนายนจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม

การเตรียมพื้นที่ปลูก สำหรับต้นไม้ ลูกไม้ กล้าไม้ และตอไม้ที่ยังไม่ตาย สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ป้องกันไม่ให้ไม้เหล่านั้นเสียหายจากกิจกรรมปลูกป่า โดยสำรวจและทำเครื่องหมายต้นไม้ทั้งหมดในพื้นที่ โดยใช้ไม้ไผ่ทาสีสด ๆ ปักข้าง ๆ ต้นไม้ที่พบอย่ามองข้ามต้นกล้าขนาดเล็ก ๆ ที่อาจถูกวัชพืชขึ้นคลุมอยู่ถางวัชพืชรอบๆ โคนต้นออกเป็นวงกว้างประมาณ 1.5 เมตร วิธีการนี้จะช่วยให้เห็นต้นกล้าได้ง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงที่ต้นกล้าเหล่านั้นจะถูกทำลายในช่วงกำจัดวัชพืช หรือการปลูกป่า และยังเป็นการลดการแข่งขันกับวัชพืช ทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดีเท่าๆ กับกล้าไม้ที่นำไปปลูก วัชพืชในพื้นที่ต้องถูกกำจัดก่อนการปลูกป่า ถ้าวิธีกำจัดที่เลือกต้องใช้เวลา เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้าพวกไกลโฟเสต อาจต้องเริ่มเตรียมพื้นที่ประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนปลูก ในภาคเหนือของไทยควรเริ่มต้นเดือนพฤษภาคม แต่ถ้ากำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องมืออื่น ๆ อาจเตรียมพื้นที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนการปลูก

จำนวนต้นกล้าที่ต้องนำไปที่แปลง หลังปลูกป่า จำนวนกล้าไม้ทั้งที่เป็นต้นปลูกและกล้าธรรมชาติในแต่ละไร่ควรมีประมาณ 500 ต้นต่อไร่ หรือ 3100 ต้นต่อเฮกตาร์ ดังนั้น จำนวนกล้าไม้ที่ต้องใช้ต่อไร่จะเท่ากับ 500 ลบด้วยจำนวนกล้าไม้ธรรมชาติหรือตอไม้เดิมที่มีชีวิตในพื้นที่ จำนวนกล้าไม้ที่ใช้นี้จะใช้ระยะห่างระหว่างกล้าไม้ทั้งที่ปลูกใหม่และต้นไม้เดิมประมาณ 1.8 เมตร โดยวัตถุประสงค์หลักของการปลูกให้หนาแน่นมากขึ้นนี้ก็เพื่อให้เรือนยอดของต้นไม้ปกคลุมพื้นที่ให้เร็วที่สุดร่มเงาของต้นไม้ที่โตขึ้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมวัชพืชในพื้นที่และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหญ้า

ต้องปลูกต้นไม้กี่ชนิด? สำหรับแปลงที่จัดอยู่ในความเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 3 ต้องมีการสำรวจจำนวนชนิดต้นไม้ธรรมชาติที่สามารถเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์หรือต้นไม้ในรุ่นต่อไปได้ โดยที่จำนวนชนิดของพรรณไม้โครงสร้างที่ปลูกควรอยู่ระหว่าง 20-30 ชนิดหรือประมาณ 10% ของจำนวนชนิดในป่าอ้างอิง (ถ้าทราบ) สำหรับแปลงที่จัดอยู่ในความเสื่อมโทรมของพื้นที่ระดับที่ 4 ให้ปลูกต้นไม้ที่เจอในป่าอ้างอิงมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

truck
อย่าทำลายผลงานที่มาจากการทำงานตลอดทั้งปีในเรือนเพาะชำระหว่างการขนย้ายกล้าไม้ไปยังพื้นที่ปลูกในการขนย้ายควรทำอย่างระมัดระวัง บรรทุกกล้าไม้ขึ้นรถ คลุมด้วยตาข่ายเพื่อไม่ให้ถูกแดดหรือลมมากเกินไป อย่าวางต้นกล้าซ้อนทับกัน

การลำเลียงกล้าไม้ไปยังแปลงปลูก - กล้าไม้มีความเสี่ยงที่จะเสียหายได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโดนลมและแสงแดด จึงควรคัดเลือกกล้าไม้ที่แข็งแรงที่สุดจากเรือนเพาะชำหลังจากคัดขนาดและทำให้แกร่งแล้ว ทำเครื่องหมายกล้าไม้ที่จะติดตามการเจริญเติบโต จากนั้น เรียงกล้าไม้ลงในตะกร้าที่แข็งแรงเพื่อขนย้ายไปยังแปลงปลูกก่อนปลูก 1 วัน

planting materials

เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการปลูกต้นไม้ - นำของที่จำเป็นสำหรับการปลูก ไปยังพื้นที่ในวันก่อนปลูก อุปกรณ์ประกอบด้วยหลักไม้ไผ่ กระดาษแข็งสำหรับคลุมโคนต้นกล้าไม้แต่ละต้น ปุ๋ย 1/2 กระสอบ (ประมาณ 25 กิโลกรัม) ต่อไร่ คลุมของที่เตรียมไว้ด้วยผ้าใบกันฝน

1. มีด

2. ถุงมือ

3. ปุ๋ย ถัง และถ้วยสำหรับตวงปุ๋ย

4. ตะกร้าสำหรับการขนย้ายกล้าไม้

5. จอบขุด

6. กระดาษแข็งสำหรับคลุมโคนต้น

7. ชุดปฐมพยาบาล

8. หลักไม้ไผ่

วันปลูกป่า

stake a treeระยะห่างระหว่างต้น

ขั้นแรกของการปลูกต้นไม้ คือ ทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะปลูกต้นไม้แต่ละต้น โดยใช้หลักที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร วางหลักให้มีระยะห่างประมาณ 1.8 เมตร และใช้ระยะเดียวกันจากไม้เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ พยายามอย่าวางหลักเป็นแนวเส้นตรง การปักหลักแบบไม่เป็นแถวทำให้ป่าที่ฟื้นฟูมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมากกว่า การกำหนดจุดปลูกนี้สามารถทำได้ทั้งในวันปลูกหรือก่อนปลูก 2-3 วัน

วิธีการปลูกกล้าไม้

  1. ใช้ตะกร้าขนกล้าไม้ไปวางตามหลักไม้ไผ่แต่ละหลักในแต่ละตะกร้าควรมีกล้าไม้หลาย ๆ ชนิดผสมกันเพื่อไม่ให้กล้าไม้ชนิดเดียวกันปลูกอยู่ติดกัน
  2. ใช้จอบขุดหลุมประมาณ 2 เท่าของภาชนะปลูกข้าง ๆ หลักไม้ไผ่แต่ละหลัก ถางหญ้ารอบ ๆ ปากหลุมออกไปประมาณ 50 เซนติเมตร
  3. ถ้ากล้าไม้อยู่ในถุงพลาสติกให้ใช้มีดพับกรีดถุงด้านข้างให้เปิดออก ระวังอย่าให้ถูกรากข้างใน แกะถุงออก พยายามอย่าให้วัสดุปลูกหลุดออกจากราก
  4. วางกล้าไม้ลงในหลุมตั้งต้นกล้าให้ตรง กลบดินให้ถึงระดับคอรากของกล้าไม้ ถ้ากล้าไม้ติดเครื่องหมายสำหรับติดตามการเจริญเติบโตระวังอย่าให้ป้ายถูกกลบไปด้วย ใช้ฝ่ามือกดดินรอบ ๆ โคนต้นกล้าให้แน่น เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัสดุปลูกกับดินในแปลง เพื่อให้รากกล้าไม้รับน้ำและออกซิเจนจากดินรอบ ๆ ได้เร็วขึ้น
  5. ใส่ปุ๋ยเป็นวงรอบ ๆ โคนต้น โดยให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 20 เซนติเมตร ระวังอย่าให้ปุ๋ยถูกกล้าไม้โดยตรง เพราะอาจเกิดอาการไหม้ ใช้ปุ๋ย 50-100 กรัม (1/2-1 ขีด) ต่อกล้าไม้ 1 ต้น โดยใช้ถ้วยพลาสติกที่วัดปริมาตรไว้ล่วงหน้าตวงปุ๋ยใส่กล้าไม้แต่ละต้น
  6. คลุมโคนต้นกล้าแต่ละต้นด้วยกระดาษแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร ตรึงกระดาษกล่องไว้ด้วยหลักไม้ไผ่ ใช้เศษวัชพืชที่ตัดแล้วคลุมบนกระดาษอีกชั้นหนึ่ง
  7. สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำก่อนออกจากแปลงปลูกป่า คือ การเก็บถุงพลาสติก หลักไม้ที่เหลือ กระดาษกล่องและขยะอื่น ๆ ออกจากพื้นที่

tree plating

การดูแลกล้าไม้หลังปลูก

ในพื้นที่ป่าถูกทำลาย กล้าไม้ต้องผจญกับสภาพแวดล้อมที่ร้อนแห้งแล้งภายใต้แสงแดดจัด และการแข่งขันกับวัชพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นในฤดูแล้งกล้าไม้ยังเสี่ยงกับการถูกไฟเข้าทำลายหรืออาจเสี่ยงต่อการถูกวัว ควายในพื้นที่กัดกิน การดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูกอย่างใกล้ชิดในระยะ 18-24 เดือนแรกหลังปลูกจึงมีความสำคัญมากในการช่วยให้กล้าไม้อยู่รอดได้ หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องมีการดูแลหลังปลูกเมื่อต้นไม้เจริญเติบโตและเรือนยอดของต้นไม้ชิดติดกันพอดี

การกำจัดวัชพืช

- การใช้มือหรือจอบกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบ ๆ โคนต้นกล้า โดยเว้นระยะเป็นวงกลมรัศมี 50 เซนติเมตร  รอบฐานของต้นกล้าและกล้าไม้ธรรมชาติทั้งหมดจากโคนต้น

- การขจัดวัชพืชโดยใช้แผ่นไม้ (ขนาด 130 × 15 เซนติเมตร) กดทับวัชพืชที่ขึ้นอยู่ระหว่างกล้าไม้ให้ล่มลงจนราบเรียบ เพื่อให้วัชพืชจำกัดร่มเงาของวัชพืชเอง

การกดทับวัชพืชเหมาะกับบริเวณที่มีวัชพืชสูงประมาณ 1 เมตรหรือสูงกว่านั้น วัชพืชที่เตี้ยลงกว่านั้นมีโอกาสที่จะฟื้นตัวคืนมาได้ใหม่หลังจากที่กดลงไม่นาน โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกดทับหญ้ามักจะประมาณสองเดือนหลังจากที่ฝนเริ่มตก ซึ่งเป็นช่วงที่ก้านหญ้าพับได้ง่าย

weeding

การใส่ปุ๋ย

การให้ปุ๋ยแก่กล้าไม้ในสองฤดูฝนแรกหลังการปลูกจะทำให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้นทั้งในดินเลวและในดินที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ปุ๋ยทำให้กล้าไม้สามารถเจริญเติบโตพ้นระดับของวัชพืชได้เร็วขึ้น และบังแสงทำให้วัชพืชตายไปในที่สุดซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้

การใส่ปุ๋ยประมาณ 50 -100 กรัมต่อต้นทุก ๆ 4-6 สัปดาห์ พร้อม ๆ กับการตัดหญ้าโดยโรยปุ๋ยเป็นวงรอบ ๆ ต้นกล้าห่างจากโคนต้นประมาณ 20 เซนติเมตร หรือถ้าใช้กระดาษกล่องคลุมโคนต้นอยู่ให้ใส่ปุ๋ยรอบ ๆ แผ่นกระดาษ ปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 ใช้ได้ผลดีในพื้นที่สูง แต่สำหรับพื้นที่ต่ำ ๆ ที่เป็นดินลูกรังปุ๋ยอินทรีย์ จะให้ได้ผลดีกว่า อย่าใส่ปุ๋ยใกล้โคนต้นเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นกล้าเสียหายหรือตายได้ก่อนใส่ปุ๋ยควรตัดหญ้าก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าต้นกล้าจะได้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยเต็มที่ ไม่ใช่วัชพืชที่อยู่โดยรอบ

Applying fertiliser

1: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

2: ผลจากอัลลีโลพาธีของใบ Prunus cerasoides Buch.-Ham ex. D. Don ต่อวัชพืชที่พบได้บ่อยภายในแปลงฟื้นฟู  

Publication date31 Mar 2020
Author(s)Punnat Changsalak
PublisherDepartment of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกำจัดวัชพืชโดยการตัดด้วยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญในโครงการฟื้นฟูสารกำจัดวัชพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ...

3: นวัตกรรมและวิทยาการหุ่นยนต์ในการการจัดการวัชพืชในป่า

Publication date2020
Author(s)Auld, B. A.
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ วิธีการจัดการวัชพืชแบบดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับ เริ่มตั้งแต่การถอนด้วยมือ, การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช และการควบคุมด้วยวิธีทางชีวภาพ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีการตรวจจับและควบคุมใหม่ล่าสุด...

4: Allelopathy สำหรับการจัดการวัชพืชในการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Intanon, S. & H. Sangsupan
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: ในการฟื้นฟูป่า พบว่าวัชพืชจะมีการแข่งขันกับต้นกล้าเพื่อหาน้ำสารอาหารแสงแดดและพื้นที่ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและโรค Allelopathy...

5: ผู้ล่าเมล็ดก่อนการแพร่กระจายและเชื้อราที่ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาแคปซูล การงอก และการพักตัวของเมล็ด Luehea seemannii ในป่าปานามาสองแห่ง  

Publication date2017
Author(s)Tiansawat, P., N.G. Beckman & J.W. Dalling
PublisherBiotropica 49(6):871-880
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายสามารถลดขนาดพืชที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดหาได้อย่างมาก นอกจากนี้ความเสียหายที่ไม่ร้ายแรงโดยนักล่าเมล็ดพันธุ์...

6: การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในเหมืองหินปูน

Publication date2013
Author(s)Elliott,S., S. Chairuangsri & K. Sinhaseni
PublisherThe Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

คู่มือเล่มนี้อธิบายเทคนิคพื้นฐานและการเลือกชนิดพันธุ์สำหรับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย โดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง...

7: การงอกของ Ficus microcarpa L. บนหินปูนเพื่อการฟื้นฟูเหมืองแร่

Publication date2013
Author(s)Yabueng, N.,
PublisherDepartment of biology, faculty of science Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมีข้อกำหนดให้มีการฟื้นฟูพื้นที่หลังจากการทำเหมืองให้กลับสู่สภาพเดิมโดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่เหมืองปูนซึ่งสัมปทานโดยบริษัทเครือซิเมนต์ไทย จำกัด จ.ลำปาง...

8: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

9: นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ไม้ยืนต้นในสกุล มะเดื่อ ไทร (Ficus spp.) เพื่อเป็นพรรณไม้ โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication dateFeb 2012
Author(s)Kuaraksa, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

     ไม้ในกลุ่มมะเดื่อ ไทร ได้รับการส่งเสริมเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในเขตร้อน เนื่องด้วยมีความสำคัญในระบบนิเวศโดยเฉพาะในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ป่า...

10: การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่แห้งแล้ง : แนวคิดและแนวทางปฎิบัติเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคตะวันตก

Publication date2011
Author(s)A. Sapanthuphong, S. Thampituk, and A. SukIn
PublisherElephant Conservation Network, Kanchanaburi
Format
Book

รายงานการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการ "การวิจัยเพื่อการฟื้นฟูป่า" ในชุมชนหมู่บ้านแก่งปลากด ที่มีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ มีการดำงานร่วมกันระหว่าง เครือข่ายอนุรักษ์ช้าง (ECN)...