ผลจากอัลลีโลพาธีของใบ Prunus cerasoides Buch.-Ham ex. D. Don ต่อวัชพืชที่พบได้บ่อยภายในแปลงฟื้นฟู
Changsalak, P., 2020. Allelopathic Effects of Prunus cerasoides Buch.-Ham ex. D. Don Leaves
on Common Weeds in Forest Restoration Sites. BSc Special Project Thesis, Department of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
บทคัดย่อ: การกำจัดวัชพืชโดยการตัดด้วยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญในโครงการฟื้นฟูสารกำจัดวัชพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่งานวิจัยพบว่าสารกำจัดวัชพืชอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ Prunus cerasoides Buch.-Ham. Ex D.Don มีกลไกอัลลีโลพาธีในการต่อสู้กับวัชพืชพื้นล่างที่มีอยู่ในตามธรรมชาติ หากนำความสามารถนี้ของ P. cerasoides มาใช้พัฒนาเป็นสารกำจัดวัชพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจเป็นประโยชน์แก่โครงการการฟื้นฟูป่าในลำดับต่อไป ปัญหาพิเศษนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อทดสอบความสามารถของสารสกัดหยาบจากใบ (ALE) ของ P. cerasoides ต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าวัชพืชที่พบได้บ่อยในแปลงฟื้นฟู ได้แก่ C. odorata และ B. pilosa โดยใช้ ALE ระดับความเข้มข้นตั้งแต่0.75-5.00 wt% ในการทดสอบการยับยั้งการงอกเมล็ดวัชพืช ทำให้ทราบถึงระดับความเข้มข้นที่มีความสามารถยับยั้งเมล็ด C. odorata และ B. pilosa ได้ดีที่สุด คือ 0.75 และ 1.25 wt% ตามลำดับ และผลจาก ALE ยังสามารถชะลอการงอกของเมล็ดทั้ง 2 ชนิดได้ (ประมาณ 1-4 วัน) จากนั้นใช้ระดับความเข้มข้นที่ได้ทดสอบกับต้นกล้าอายุ 2 เดือนของวัชพืช ทำให้ทราบว่า ALE ไม่มีผลต่ออัตราการตาย และน้ำหนักแห้งของต้นกล้าทั้ง 2 ชนิด จึงมีการเพิ่มระดับความเข้มขึ้นเป็น 4 เท่าจากเดิม (ซึ่งระดับความเข้มข้นที่ใช้กับต้นกล้า C. odorata และ B. pilosa คือ 3.00 และ 5.00 wt% ตามลำดับ) เพื่อทดสอบกับต้นกล้าวัชพืชที่มีระยะการพัฒนาแตกต่างกัน ซึ่งที่ความเข้มข้นดังกล่าว มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราการตายและน้ำหนักแห้งในต้นกล้าบางระยะของ C. odorata เท่านั้น ในขณะที่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในต้นกล้า B. pilosa ทุกๆระยะ จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ALE มีความสามารถในการยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืชแต่ไม่มีผลต่อต้นกล้าวัชพืชจึงยังไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมวัชพืชในแปลงฟื้นฟู
Click here for more on allelopathy and bioherbicides for forest restoration.